23 ตุลาคม วันปิยมหาราช ประวัติสมเด็จพระปิยมหาราชและความสำคัญ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) "สมเด็จพระปิยมหาราช" อันหมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน
"สมเด็จพระปิยมหาราช" อันหมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน
สมเด็จพระปิยมหาราช หรือพระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีพระนามเดิมว่า " สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ " ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2396 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
วันปิยมหาราช ( 23 ตุลาคม ) เป็นวันสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หน่วยงานราชการต่างๆ จัดพิธีประดับพระบรมฉายาลักษณ์ และเครื่องราชสักการะ สำนักพระราชวังจัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์องค์ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หล่อด้วยโลหะทองบรอนซ์ ยึดติดกับแท่นทองบรอนซ์ที่เป็นม้ายืน ประดิษฐานบนแท่นรองทำจากหินอ่อน สูง 6 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 5 เมตร
ในวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี ประชาชนจะนำดอกกุหลาบสีชมพู (สีของวันอังคารซึ่งเป็นวันพระราชสมภพ) มาวางสักการะที่หน้าพระบรมรูปเป็นประจำทุกปี และยังมีอีกความเชื่อหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่เชื่อกันคือ การนำดอกกุหลาบสีชมพูมาวางสักการะหน้าพระบรมรูปในคืนวันอังคาร เวลา 22.00 เนื่องจากมีความเชื่อว่าพระองค์ท่านจะเสด็จฯ มาประทับ ณ พระบรมรูปทรงม้า
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
ทรงครองสิริราชสมบัติ 42 ปี ได้มีพระราชกรณียกิจสำคัญแก่สยามประเทศมากมายหลายด้าน ได้แก่
- ยกเลิกระบบหมอบกราบ และกำหนดการแต่งกายของทหาร (พ.ศ.2416)
- การเลิกทาส ยกเลิกระบบไพร่ และยกเลิกระบบหมอบกราบ (ร.ศ.112)
- สร้างสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสร้างโรงเรียนแห่งแรก (พ.ศ.2417)
- ทดลองใช้โทรศัพท์ครั้งแรก (พ.ศ.2424)
- ก่อตั้งกรมไปรษณีย์ โทรเลข (พ.ศ.2426)
- ตั้งระบบปกครองส่วนกลางใหม่ และสร้างโรงพยาบาล (พ.ศ.2431)
- คนไทยได้ใช้ไฟฟ้าครั้งแรก (พ.ศ.2433)
- ตั้งกรมรถไฟ (พ.ศ.2434)
- ก่อตั้งสภากาชาดไทย (พ.ศ.2436)
- คนไทยได้มีน้ำประปาใช้ครั้งแรก (พ.ศ.2452)
นอกจากนี้ยังมีการสร้างสะพานตัดผ่านถนนสายหลักอีกหลายแห่งในพระนคร เพื่อขยายการคมนาคม และจะทรงเปลี่ยนการคมนาคมจากทางเรือมาเป็นทางบกแทน
พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง (แบบย่อ)
“พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ”
หรือแบบเต็ม
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง”