สังคม

heading-สังคม

คิดให้ดีเสียก่อน "เขียนใบลาออก" คุณอาจจะพลาด 3 สิทธิ ที่ควรจะได้รับ

05 ก.พ. 2564 | 14:17 น.
คิดให้ดีเสียก่อน "เขียนใบลาออก" คุณอาจจะพลาด 3 สิทธิ ที่ควรจะได้รับ

เรียกได้ว่าโรคระบาดซ้ำเติมทุกคน ทุกภาคส่วน หลายบริษัท หลายหน่วยงานก็ดูเหมือนจะได้รับผลกะทบ จนทำให้เกิดการว่างงานกันเป็นจำนวนมาก

เรียกได้ว่าโรคระบาดซ้ำเติมทุกคน ทุกภาคส่วน หลายบริษัท หลายหน่วยงานก็ดูเหมือนจะได้รับผลกะทบ จนทำให้เกิดการว่างงานกันเป็นจำนวนมาก หลายคนก็กำลังตกอยู่ในสถานะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะทางบริษัทต้องการให้เขียนใบลาออก ทั้งๆ ที่เราก็ไม่ได้สมัครใจจะออก

แต่ถ้าเราไม่เขียนใบลาออก ทางบริษัทก็อ้างว่าเราจะไม่ได้ค่าตอบแทนชดเชย จำใจต้องเขียนใบลาออกเอง ซึ่งหลายคนก็ตกเป็นเหยื่อของบริษัทที่หลอกล่อเราแบบนี้
 

คิดให้ดีเสียก่อน \"เขียนใบลาออก\" คุณอาจจะพลาด 3 สิทธิ ที่ควรจะได้รับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หากคุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ เราขอแนะนำคุณว่าอย่าเขียนใบลาออกเด็ดขาด! เพราะไม่เช่นนั้น คุณเองนั่นแหละที่จะเป็นคนที่เสียผลประโยชน์ซะเอง หลายคนก็ยังไม่รู้ว่า หากเราถูกเลิกจ้าง เราจะได้รับสิทธิและประโยชน์อะไรบ้าง และหากเรายอมเขียนใบลาออก จะทำให้เราเสียสิทธิเหล่านี้ไป

1. สิทธิตามมาตรา 17 รับเงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
หากคุณเขียนใบลาออก คุณจะเสียสิทธิในการรับเงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน 1 รอบการจ่ายเงินเดือน โดยถ้าคุณได้รับเงินเกือนเป็นราย 15 วัน ก็จะได้รับเงินค่าจ้าง 15 วัน หากเงินเดือนออกเป็นรายเดือน 30 วัน ก็จะได้เงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน

2. สิทธิตามมาตรา 118 รับเงินค่าชดเชยตามอายุงาน
หากคุณเขียนใบลาออกคุณจะเสียสิทธิในการรับเงินค่าชดเชยตามอายุงาน จาก 30 วัน จนถึง 300 วัน แล้วแต่ใครจะมีอายุงานมากน้อย สำหรับคนที่ใช้สัญญาจ้าง ตามเงื่อนไขข้อกฎหมายแล้ว การต่อสัญญาไ ม่ว่าจะเป็นสัญญารายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน หรือสัญญารายเดือนในทางกฎหมายให้นับเป็นอายุงานต่อเนื่อง เมื่อนับแล้วครบตามเงื่อนไขข้อกฎหมายก็มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยเช่นกัน

 

คิดให้ดีเสียก่อน \"เขียนใบลาออก\" คุณอาจจะพลาด 3 สิทธิ ที่ควรจะได้รับ
 

3. เงินทดแทนการว่างงาน
หากคุณถูกเลิกจ้าง คุณจะได้ 50% ของ 180 วัน หากเขียนใบลาออกจะได้เพียง 30% ของ 90 วัน โดยคิดจากฐานเงินสมทบสูงสุดไ ม่เกิน 15,000 บาท และต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานภายใน 30 วัน นับจากวันที่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง แต่ก็มีข้อยกเว้นว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย คือลูกจ้างลาออกเอง หรือทำผิดเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

1. ทุจริตทำผิดอาญาโดยเจตนา

2. จงใจทำให้นายจ้างเสียหาย

3. ประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างเสียหายร้ายแรง

4. ฝ่าฝืนระเบียบ-ข้อบังคับ อันชอบด้วยกฏหมาย

5. หยุดงาน 3 วันติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร

6. รับโทษจำคุกตามคำสั่งศาล

ดังนั้น ก่อนที่เราจะเขียนใบลาออก หรือเซ็นรับรองเอกสารใดๆ ควรอ่านทำความเข้าใจเนื้อหาในนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน และศึกษาหาข้อมูลของสิทธิประโยชน์ที่เราพึงมี และที่ควรได้รับทั้งหมดให้เรียบร้อย เพื่อรักษาผลประโยชน์ของเราเอง ไม่ให้ใครมาเอาเปรียบเราได้

เราจะเห็นตัวอย่างจากหลายกรณีที่พบเจอบ่อยๆ ที่นายจ้างไม่อยากจะจ่ายเงินชดเชย จึงบังคับให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกเอง ทำให้เสียสิทธิที่จะได้รับไปอย่างน่าเสียดาย

ขอคุณที่มาข้อมูล : เพจแรงงานเพื่อสังคม

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

นางเอกดัง "เบลล่า ราณี"  สุดเศร้า สูญเสียคุณยายอันเป็นที่รัก

นางเอกดัง "เบลล่า ราณี" สุดเศร้า สูญเสียคุณยายอันเป็นที่รัก

"เบิร์ด เทคนิค" สูญเสียครั้งใหญ่ สุดเศร้าโลกนี้ช่างใจร้ายกับผม

"เบิร์ด เทคนิค" สูญเสียครั้งใหญ่ สุดเศร้าโลกนี้ช่างใจร้ายกับผม

ข่าวดี รัฐบาลขยายเวลา "คุณสู้ เราช่วย" ถึงสิ้นเดือนนี้

ข่าวดี รัฐบาลขยายเวลา "คุณสู้ เราช่วย" ถึงสิ้นเดือนนี้

โดนแล้ว "พีช สมิทธิพัฒน์" สารภาพ 3 ข้อหา เผยค่าปรับที่ต้องชดใช้

โดนแล้ว "พีช สมิทธิพัฒน์" สารภาพ 3 ข้อหา เผยค่าปรับที่ต้องชดใช้

รวบ 2 จิ๊กโก๋ รัวปืนกลางงานวัด บาดเจ็บ 3 ราย พบมีคดีติดตัวทั้งคู่

รวบ 2 จิ๊กโก๋ รัวปืนกลางงานวัด บาดเจ็บ 3 ราย พบมีคดีติดตัวทั้งคู่