ไม่ทุบทำลาย วิหารหลวงปู่ทวดวัดเอี่ยมวรนุช รองปลัดคมนาคม ยืนยันไม่กระทบ
รองปลัดกระทรวงคมนาคม ออกมายืนยัน พื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหม จะไม่กระทบต่วิหารหลวงปู่ทวดของวัดเอี่ยมวรนุช ที่เก่าเเก่ว่า 237ปี
จากกรณีเมื่อวันที่ 3มี.ค.64 ทางเพจวัดเอี่ยมวรนุช ได้เผยถึงข่าวเศร้าสลด..หดหู่...ปิดตำนาน วิหารหลวงปู่ทวดและโบราณสถานของวัดเอี่ยมฯ 237 ปีแลกกับสถานีรถไฟฟ้าบางขุนพรหม..เมื่อรถไฟฟ้ามาวัดวาก็ถูกทุบทำลาย " จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในโลกออนไลน์ ทวงถามถึงความเหมาะสมในการทุบทำลายโบราณสถาน เวนคืนที่ดินในวัดเอี่ยมวรนุช พร้อมกันนี้ทางวัดยังเผยอีกว่า จนท.ของรฟม.ติดต่อประสานงานมากับทางวัดเอี่ยมฯ..." ขออนุญาตแนะนำตัวครับ ผมนายฤกษ์ฤทธิ์ เป็นเจ้าหน้าที่แผนกเรื่องราวร้องทุกข์ รฟม. ครับ.รฟม. ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ดำเนินการชี้แจงข้อมูลรูปแบบการก่อสร้างให้กับผู้แทนวัดเอี่ยมฯ (จากชมรมคนรักวัดเอี่ยมฯ) รับทราบแล้ว ทั้งนี้ รฟม. จะลงพื้นที่เข้าพบท่านเจ้าอาวาส ซึ่งจะประสานวันและเวลาต่อไป "
ความคืบหน้าในวันที่ 5 มี.ค.64 นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมและประธานกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย...เข้ามาคอมเมนต์ในเพจวัดเอี่ยมวรนุช ด้วยข้อความว่า... ผมได้ตรวจสอบจาก รฟม.เเล้วว่า พื้นที่ก่อสร้างจะไม่กระทบต่วิหารหลวงปู่ทวดครับ เเละกระทรวงคมนาคมจะได้มอบหมายให้ทาง รฟม.ลดผลกระทบให้มากที่สุดครับ
ด้านการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชี้แจงว่า ในขั้นตอนการสำรวจดังกล่าว เป็นเพียงการดำเนินการสำรวจแนวเขตทาง (Right of way) ในเบื้องต้นเท่านั้น เเละขอยืนยันว่า จะไม่มีการเวนคืนส่วนที่เป็นวิหารและเจดีย์เก่าของวัดเอี่ยมวรนุชตามที่ปรากฏในข่าว โดยในการก่อสร้างสถานีดังกล่าว จะมีตำแหน่งทางขึ้น – ลง 4 ตำแหน่ง ดังนี้
ตำแหน่งทางขึ้น - ลง หมายเลข 1 ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดเอี่ยมวรนุช ใกล้สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์
ตำแหน่งทางขึ้น - ลง หมายเลข 2 ตั้งอยู่บริเวณปั๊ม ปตท. ตรงข้ามวัดสามพระยา
ตำแหน่งทางขึ้น - ลง หมายเลข 3 ตั้งอยู่บริเวณโรงพิมพ์ศรีหงส์
ตำแหน่งทางขึ้น - ลง หมายเลข 4 ตั้งอยู่บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนวิสุทธิกษัตริย์
ขอบคุณ
วัดเอี่ยมวรนุช