หมอยงเทียบโควิด 2 สายพันธุ์ เหมือนฉลาดวิวัฒนาการ ถึงขั้นหลบวัคซีนได้

โควิดเริ่มมีวิวัฒนาการที่ไม่หยุดยั้ง คล้ายกับว่าเชื้อไวรัสสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มันถึงสามารถกลายพันธุ์ได้อย่างหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงทั้งอาการได้อย่างไม่จำกัด
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงเจ้าไวรัสโควิด 19 ที่ได้กลายพันธุ์ไปเป็นสายพันธุ์ต่างๆ ที่อันตรายกว่าเดิม
โดย หมอยง ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า "โควิด-19 ไวรัสกลายพันธ์สายพันธุ์อินเดียและเบงกอล เมื่อมีการระบาดมากไวรัสก็จะแพร่ลูกหลานได้มากก็จะมีโอกาสมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นเป็นไปตามหลักวิวัฒนาการ
ถ้าดูตามสายพันธุ์อินเดียแล้วไม่เหมือนสายพันธุ์อังกฤษที่แพร่กระจายง่าย เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนบนหนามแหลมที่ตำแหน่ง 501 เป็น Tyrosine (Y) จากสายพันธุ์เดิมคือ Asparagine (E) สายพันธุ์อินเดียยังเป็นชนิด Asparagine อยู่
แต่สายพันธุ์อินเดียมีจุดที่น่าสนใจในตำแหน่งการตัดแบ่งส่วน Spike โปรตีนให้เป็น S1 และ S2 ด้วยเอนไซม์ Furin ของมนุษย์ การเปลี่ยนกรดอะมิโนเป็น Basic โดยเฉพาะ Arginine (R) ทำให้หลุดเข้าเซลล์มนุษย์ได้ง่ายขึ้นจะติดเชื้อได้ง่ายขึ้นได้เช่นกัน
ส่วนสายพันธุ์เบงกอลที่กล่าวถึงกันจะเป็นการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง 484 เป็น Lysine ที่ทำให้หลบหนีภูมิต้านทานจากวัคซีน เช่นเดียวกับสายพันธุ์แอฟริกาใต้และบราซิล จึงทำให้มีการกล่าวถึงกันมาก สายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้มีอะไรแปลกไปกว่าบราซิลและแอฟริกาใต้ ถ้าดูแล้วสายพันธุ์แอฟริกาใต้ยังน่ากลัวกว่า
จากการตรวจสายพันธุ์โดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬาฯ กว่า 500 ตัวอย่างที่มีการระบาดอยู่ ณ ขณะนี้มากกว่า 98% ของเราเป็นสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 ยังไม่พบสายพันธุ์ อินเดีย เบงกอล แอฟริกาใต้ บราซิล ในประเทศไทย

ราชกิจจาฯ ประกาศ แต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำนวน 14 ราย

"หมอดัง" เตือน ยาคู่ยอดฮิตหายปวดแต่ไตพัง กินผิดชีวิตเปลี่ยน

"ทนายดัง" เคลียร์ชัด ใครถูกผิด ปมเดือดกระบะ vs บีเอ็มป้ายแดง

แม่ดีใจ เจอแล้ว "น้องแบม" สาวน้อย 15 เปิดใจถึงสาเหตุ หนีออกจากบ้าน
