สังคม

heading-สังคม

เปิดข้อกฎหมาย ขนมอาลัวพระเครื่อง นำมาขายอย่างจริงจัง มีความผิดหรือไม่

29 เม.ย. 2564 | 16:30 น.
เปิดข้อกฎหมาย ขนมอาลัวพระเครื่อง นำมาขายอย่างจริงจัง มีความผิดหรือไม่

เพจเฟซบุ๊ก ทนายคู่ใจ โพสต์ข้อความซึ่งเป็นข้อกฎหมาย จากกรณีที่มีแม่ค้าขนมอาลัวนำพิมพ์พระเครื่อง มาทำเป็นขนมนั้น จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างกว้างขวาง ซึ่งความเห็นในทางโซเชี่ยลนั้นก็แตกออกเป็น 2 ฝ่ายด้วยกัน มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ฝ่ายไม่เห็นด้วย ก็มองว่าไม่เหมาะสม เพราะพระเครื่องเป็นของสูง เป็นสิ่งที่คนเคารพบูชา ไม่ควรนำมาใช้ทำเป็นของกิน เป็นต้น

ส่วนฝ่ายที่เห็นด้วยก็มองว่าเป็นเรื่องที่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหาร และอีกอย่างพระเครื่องก็ไม่ใช่เครื่องเคารพทางศาสนา เป็นแค่ตัวแทนวัตถุที่จัดสร้างขึ้นมา โดยยกตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่น มีการนำพระพุทธรูปมาทำเป็นขนมไทยากิ ปั้นเป็นช๊อคโกแลต รวมถึงประเทศอื่นๆที่ผสมผสานศาสนาเข้ากับวัฒนธรรมการกิน เป็นต้น

เปิดข้อกฎหมาย ขนมอาลัวพระเครื่อง นำมาขายอย่างจริงจัง มีความผิดหรือไม่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งสำนักพุทธฯ ออกมาชี้แล้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ “ไม่เหมาะสม” โดยความเหมาะสม ก็ไม่ใช่บรรทัดฐานของข้อกฎหมาย

ล่าสุดก็นำกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งทหาร ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่บ้านของแม่ค้าที่ทำขนมอาลัว ก็เข้าใจแหละว่าจะไปเยี่ยมไปดู แต่รู้สึกว่าจะเอิกเริกไปหน่อยนะครับท่าน

โดยเรื่องนี้ หากจะปรับบทข้อกฎหมาย คงจะต้องไปดูในประมวลกฎหมายอาญา “มาตรา ๒๐๖  ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ในอดีตมีกรณีศึกษามีคนถูกดำเนินคดีขึ้นศาลฎีกากันอยู่บ้าง แต่เป็นลักษณะของการใช้เท้าเหยียบพระพุทธรูปและทำท่าทางล้อเลียน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2550 
          
แต่นั่นก็เป็นการกระทำแก่วัตถุก็คือพระพุทธรูป ที่คนใช้กราบไหว้สักการะบูชา และเป็นที่เคารพในทางศาสนา โดยมีเจตนาเป็นการเหยียดหยาม 

เปิดข้อกฎหมาย ขนมอาลัวพระเครื่อง นำมาขายอย่างจริงจัง มีความผิดหรือไม่

โดยส่วนตัวผมมองว่า "เรื่องนี้ไม่ผิดกฎหมายครับ" จริงอยู่ว่าพระเครื่องนั้นบางคนใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นวัตถุที่เป็นที่เคารพในทางศาสนาอย่างนึง แต่การกระทำของแม่ค้านั้น ยังไม่ถึงขั้นเหยียดหยามศาสนา หากลองคิดอีกมุม ด้วยใจที่เป็นธรรม บางคนที่ซื้อสินค้าของแม่ค้า อาจนำไปซื้อเก็บ หรือเป็นเครื่องเตือนสติบางอย่างก็ได้ 

เมื่อก่อนตอนกระแสจตุคามดังมากๆ พระพยอมท่านยังเคยทำคุกกี้จตุคามเตือนสติมาแล้วเลย เรื่องนี้จะไม่เป็นประเด็นอะไรเลย หากเราไม่ได้มองว่าพระเครื่องคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แตะต้องไม่ได้ บ้านเราก็แปลกอยู่อย่างเป็น “ประเทศที่ศักดิ์สิทธิ์ทุกอย่าง ยกเว้นกฎหมาย” #แล้วท่านล่ะมีความคิดเห็นอย่างไร

เปิดข้อกฎหมาย ขนมอาลัวพระเครื่อง นำมาขายอย่างจริงจัง มีความผิดหรือไม่

ที่มา : ทนายคู่ใจ

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ

สาวคันรอบดวงตา เจอก้อนเนื้อขยับได้ หาหมอถึงกับตกใจรู้เป็นอะไร

สาวคันรอบดวงตา เจอก้อนเนื้อขยับได้ หาหมอถึงกับตกใจรู้เป็นอะไร