สังคม

heading-สังคม

ทำความเข้าใจ พิษสงโควิดสายพันธุ์อินเดีย อันตรายแค่ไหน

21 พ.ค. 2564 | 19:39 น.
ทำความเข้าใจ พิษสงโควิดสายพันธุ์อินเดีย อันตรายแค่ไหน

จากสถานการณ์ ตรวจพบคลัสเตอร์แคมป์คนงานหลักสี่ ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย 15 ราย โดยวันนี้เราไปทำความรู้จักกันว่าฉีดฆ่าเชื้อโควิด-19 นั้นมันอันตรายมากน้อยแค่ไหน

- "สายพันธุ์อินเดีย" คืออะไร? 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (Yong Poovorawan) ไว้ว่า สำหรับประเทศไทยการพบ “สายพันธุ์อินเดีย” ในสถานที่กักกันผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศไม่ใช่เรื่องแปลกและเป็นเรื่องน่าวิตกกังวลแต่อย่างใด ทุกคนเข้ามาได้มีการตรวจ ถ้าตรวจพบก็จะกักกันจนปลอดภัยไม่ให้มาระบาดในประเทศไทย

“สายพันธุ์อินเดีย” เป็นเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่พบเป็นครั้งแรกในประเทศอินเดียตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2563 เชื้อไวรัสโควิด “สายพันธุ์อินเดีย” ตัวนี้มีชื่อว่า “B.1.617” จากการศึกษาทางทฤษฎีพบว่าการกลายพันธุ์ของโควิด“สายพันธุ์อินเดีย” ในครั้งนี้อาจมีแนวโน้มทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของวัคซีนลดลงได้ แต่ยังไม่มีการยืนยันทฤษฎีดังกล่าวอย่างแน่ชัด

ทั้งนี้ “สายพันธุ์อินเดีย” กลายพันธุ์ 2 จุด (Double Mutant)  คือ E484Q และ L452R ส่งผลให้มีความสามารถในการกระจายตัวที่สูงมากขึ้น รวมถึง“สายพันธุ์อินเดีย” กลายพันธุ์ 3 จุด (Triple Mutant Variant) เป็นชนิด B.1.618 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “โควิดสายพันธุ์เบงกอล” เกิดจากการหายไปของหนามตำแหน่ง H146 และ Y145 และมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง E484K และ D614G

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- การแพร่ระบาดของ "สายพันธุ์อินเดีย"

สำหรับการกลายพันธุ์ของ “สายพันธุ์อินเดีย” นั้น ดร.เจเรมี คามิลล์ นักไวรัสวิทยาจากมหาวิทยาลัยลุยเซียนาสเตตของสหรัฐ กล่าวว่า ลักษณะการกลายพันธุ์บางอย่างของไวรัสสายพันธุ์อินเดีย มีความคล้ายคลึงกับที่พบในสายพันธุ์บราซิลและสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ถึงแม้ว่าในขณะนี้ ทางผู้เชี่ยวชาญเผยว่ายังไม่มีหลักฐานสรุปได้แน่ชัดเกี่ยวกับเชื้อกลายพันธุ์ใหม่นี้ แต่ความน่ากังวลคือ มีการกลายพันธุ์ที่สำคัญในตำแหน่ง E484K ที่เป็นจุดสำคัญในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน(แอนติบอดี) ซึ่งแอนติบอดีเป็นสิ่งเดียวที่จะต่อสู้กับไวรัสได้ หลังจากคนผู้นั้นได้รับวัคซีนหรือเคยผ่านการติดเชื้อมาแล้ว

แต่หากนำ สายพันธุ์อินเดียมาเทียบกับสายพันธุ์จากอังกฤษ หรือที่เรียกว่าไวรัสสายพันธุ์เคนต์ (B.1.1.7) ซึ่งตรวจพบได้มากที่สุดภายในประเทศ ณ ขณะนี้รวมทั้งแพร่กระจายไปยังกว่า 50 ประเทศทั่วโลก

"ผมคิดว่าสายพันธุ์อินเดียไม่น่าจะร้ายแรง หรือติดต่อได้ง่ายเท่าสายพันธุ์สหราชอาณาจักร เราไม่ควรจะตื่นตระหนก" ดร.เจเรมี กล่าว

ขณะที่ทางด้าน ดร.เจฟฟรีย์ บาร์เร็ตต์ จากสถาบันเวลล์คัมแซงเกอร์ของสหราชอาณาจักร เผยว่า มีการพบเชื้อกลายพันธุ์ของอินเดียตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว หากเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการระบาดรอบสองจริง ก็เท่ากับว่ามันใช้เวลาในการแพร่กระจายนานหลายเดือนมากกว่าจะมาถึงจุดนี้ ซึ่งหมายความว่าไวรัสสายพันธุ์อินเดียติดต่อกันได้ยากกว่าสายพันธุ์เคนต์

- โควิดในอินเดียพุ่งสูง เหตุสายพันธุ์กลายพันธุ์

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกมีคำสั่งห้ามผู้เดินทางจากประเทศอินเดีย เดินทางเข้าประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์อินเดียแล้ว แต่ก็ยังคงมีบางประเทศที่ยังไม่มีมาตรการดังกล่าว

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาสาเหตุที่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในอินเดียพุ่งสูงในขณะนี้ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า สาเหตุมาจากสายพันธุ์ B.1.617 ที่พบครั้งแรกในอินเดียใช่หรือไม่ ซึ่งสายพันธุ์นี้ปัจจุบันพบในราว 17 ประเทศทั่วโลก

ซาฮิด จามีล นักไวรัสวิทยาอาวุโสของอินเดีย กล่าวว่า สายพันธุ์ B.1.617 มีการกลายพันธุ์สำคัญสองตำแหน่งที่โปรตีนหนามของไวรัสส่วนที่เกาะติดกับเซลส์มนุษย์

องค์การอนามัยโลก (WHO)กล่าวว่า B.1.617 พบครั้งแรกในอินเดียเมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา แม้สายพันธุ์ก่อนหน้านั้นจะพบตั้งแต่เดือน ต.ค. WHO จัดให้ B.1.617 เป็น “สายพันธุ์ที่ต้องติดตาม”หมายความว่า อาจกลายพันธุ์ทำให้ไวรัสติดต่อง่ายขึ้น เป็นเหตุให้เกิดโรคที่รุนแรงขึ้น หรือหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้

- ป้องกัน "สายพันธุ์อินเดีย"การ์ดอย่าตก

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของวัคซีนที่นำมาฉีดในอินเดียนั้น ได้แก่ "วัคซีน"โควาซิน คือ วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้เทคนิคเชื้อตาย (Inactivated vaccines) ซึ่งผลิตมาจากไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ที่ถูกทำให้ตายแล้วด้วยสารเคมีหรือความร้อน เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส เป็นเทคนิคที่เคยใช้กับการผลิตวัคซีนตับอักเสบเอ หรือวัคซีนโปลิโอ (ชนิดฉีด) มาแล้ว และเป็นวัคซีนที่ใช้เทคนิคเดียวกันกับวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) ของประเทศจีน

สำหรับประสิทธิภาพของวัคซีนโควาซินนั้น รายงานอย่างเป็นทางการของรัฐบาลอินเดีย ภายหลังการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา พบว่า วัคซีนโควาซินมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 ได้ประมาณ 78 เปอร์เซ็นต์

ขณะเดียวกัน ผลการศึกษาจากสถาบันไวรัสวิทยาแห่งชาติอินเดีย และสภาวิจัยทางการแพทย์แห่งประเทศอินเดีย รายงานด้วยว่า ประสิทธิภาพของวัคซีนโควาซินสามารถลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้หลากหลายสายพันธุ์ รวมทั้งยังออกฤทธิ์ต่อต้านสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์คู่ (Double Mutant) เช่น "สายพันธุ์อินเดีย" และสายพันธุ์อังกฤษ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจาก โควาซิน แล้ว อินเดียยังผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีชื่อว่า Covishield ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ผ่านสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (Serum Institute of India) หรือ SII หนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลก และสามารถผลิตวัคซีนได้มากกว่า 60 ล้านโดสต่อเดือน

โดยผลการทดสอบทางคลินิกระหว่างประเทศล่าสุด มีการรายงานว่า วัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าชนิดนี้ มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับโควิด-19 ได้ถึง 90% ในกรณีที่ฉีดเข็มแรกครึ่งโดส และฉีดเข็มที่สองเต็มโดส อย่างไรก็ดี ข้อมูลดังกล่าวยังคงต้องมีการวิจัยที่ลงลึกในรายละเอียด และมีความชัดเจนให้มากขึ้นในลำดับถัดไป

ดังนั้น สำหรับสถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวังแน่นอนว่าต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันตนเองตามมาตรการ และระวังไม่ให้การ์ดตก ควรสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ รักษาระยะห่างกับผู้อื่น ไม่ชุมนุมหรือรวมกลุ่มกัน และฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 

ทำความเข้าใจ พิษสงโควิดสายพันธุ์อินเดีย อันตรายแค่ไหน

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

 

 

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง