สรุปข้อมูลวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" หลังไทยจ่อนำเข้า ประสิทธิภาพ-ผลข้างเคียง

28 พฤษภาคม 2564

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียน วัคซีนซิโนฟาร์ม โดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ซึ่งได้ยื่นเอกสารพร้อมประเมินคำขอขึ้นทะเบียนครบถ้วนแล้ว และทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เตรียมนำเข้า

เรียกได้ว่าเป้นอีกหนึ่งเรื่องราวที่หลายคนให้ความสนใจอย่างมาก เมื่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียน "วัคซีนซิโนฟาร์ม" โดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ซึ่งได้ยื่นเอกสารพร้อมประเมินคำขอขึ้นทะเบียนครบถ้วนแล้ว และทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เตรียมนำเข้า นับเป็นข่าวดีและอีกความหวังของชาวไทย ในเรื่องทางเลือกวัคซีน

 

สรุปข้อมูลวัคซีน \"ซิโนฟาร์ม\" หลังไทยจ่อนำเข้า ประสิทธิภาพ-ผลข้างเคียง

 

- สรุปข้อมูลวัคซีนซิโนฟาร์ม

วัคซีนซิโนฟาร์ม (วัคซีน BBIBP-CorV) คือวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย ที่พัฒนาโดย ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) บริษัทเภสัชภัณฑ์สัญชาติจีน ซึ่งได้รับการรับรองว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ผ่านการอนุมัติจากทางการจีนเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และได้รับอนุมัติให้มีการใช้งานใน 45 ประเทศ มีผู้ได้รับวัคซีนชนิดนี้แล้วไม่ต่ำกว่า 65 ล้านคน

 

ทั้งนี้ ซิโนฟาร์ม เป็นวัคซีนจากจีนเพียงหนึ่งเดียว ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่ามีประสิทธิภาพและความปลอดภัย ร่วมกับวัคซีนค่ายอื่น ๆ อย่าง ไฟเซอร์ (Pfizer) แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) โมเดอร์นา (Moderna) และ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson)

 

สรุปข้อมูลวัคซีน \"ซิโนฟาร์ม\" หลังไทยจ่อนำเข้า ประสิทธิภาพ-ผลข้างเคียง

 

- ป้องกันไวรัสสายพันธุ์ไหนบ้าง

จากข้อมูลของ WHO มีการยืนยันว่า ไวรัสก่อโรคโควิด-19 ทุกสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นจนถึงขณะนี้ มีการตอบสนองต่อวัคซีนโควิดทุกตัวที่ได้รับการอนุมัติจาก WHO แล้ว

 

- ใครฉีดได้บ้าง

ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

 

- จำนวนโดส

2 เข็ม ห่างกัน 3-4 สัปดาห์

 

- ประสิทธิภาพ

ประสิทธิภาพป้องกันโรคโดยรวม 79%

 

- ผลข้างเคียง

ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย อาจเกิดปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด เช่น ปวด บวม แดง ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนเป็นผลข้างเคียงทั่วไปที่สามารถพบได้จากวัคซีนอื่นเช่นกัน

 

สรุปข้อมูลวัคซีน \"ซิโนฟาร์ม\" หลังไทยจ่อนำเข้า ประสิทธิภาพ-ผลข้างเคียง