เปิดเงื่อนไข ผู้ประกันตน ม.33 ได้รับเงินเยียวยา เหนาะๆ 10,000
เปิดเงื่อนไข ผู้ประกันตน ม.33 แบบไหนมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา จากประกันสังคม + รัฐบาล รวมกันแล้วได้เหนาะๆ 10,000 บาท กับข้อแม้ 3 ข้อง่ายๆ หากได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ถ้าดำเนินการแล้วรอรับเงินเลย
จากที่ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีได้ลงมติในที่ประชุมแล้วว่าจะมีการเยียวยาให้กับผู้ที่โดนผลกระทบจากโรคโควิด 19 ในการระบาดระลอกที่ 4 นี้อย่างแน่นอน ซึ่งผู้ที่เข้าข่ายจะได้รับเงินเยียวยานั้นได้แก่ ผู้ประกันตนมาตรา 33, มาตรา 39 และมาตรา 40 ซึ่งแต่ละคนจะได้รับเงินแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข
เกี่ยวกับเรื่องนี้ แน่นอนว่าหลายๆ คนอาจจะมีคำถามมากมายผุดขึ้นมาในหัวว่า แล้วอย่างฉันจะได้รับเงินเยียวยาเท่าไหร่ ฉันอยู่ในหมวดผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้สูงสุดกี่บาท ซึ่งเพื่อเป็นการทำให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ทีมข่าวไทยนิวส์จึงขอรวบรวมข้อมูลที่แน่ชัดมาอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายไ ดังนี้
ผู้ประกันตน มาตรา 33 จะมีคนได้รับเงินสูงสุดถึง 10,000 บาท ซึ่งจะเป็นไปตามเงื่อนไข 3 ข้อ อันประกอบไปด้วย
เงื่อนไขที่ 1 คุณต้องเป็นคนที่อยู่ในกลุ่มประกันสังคม มาตรา 33
แน่นอนว่าการเยียวยานี้เป็นของผู้ประกันตนม.33 ดังนั้นคนที่จะได้รับเงินในส่วนนี้จะต้องเป็นลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่จะได้รับเงินครึ่งหนึ่งของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 7,500 บาท
ยกตัวอย่างง่ายๆ
หากคุณเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมีเงินเดือน 15,000 บาทต่อเดือน ก็มีสิทธิ์ที่จะได้เงินเต็มแม็ก แต่หากคุณเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท ก็จะได้รับเงินครึ่งหนึ่งของเงินเดือน ลดหลั่นลงมาตามลำดับ หลังจากนั้น คุณก็จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลอีก 2,500 บาท หมายความว่า ในการช่วยเหลือครั้งนี้ คุณมีสิทธิ์ได้เงินเยียวยา 7,500 + 2,500 = 10,000 บาท
เรื่องนี้มีข้อแม้ว่า หากคุณเป็นผู้ประกอบการ มีลูกน้อง จะได้รับรายละ 3,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน
เงื่อนไขที่ 2 คุณต้องอยู่ใน 10 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มที่โดนผลกระทบนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา นั่นก็คือคุณต้ออยู่ในพื้นที่จังหวัด กรุงเทพมหานคร , นนทบุรี , นครปฐม , สมุทรปราการ , ปทุมธานี , นราธิวาส , สมุทรสาคร , สงขลา , ปัตตานี และ ยะลา เท่านั้น
สุดท้าย เงื่อนไขที่ 3 คุณต้องประกอบอาชีพใน 9 อาชีพดังนี้
1. อาชีพสถานบริการ
2. อาชีพก่อสร้าง
3. ร้านอาหาร
4. อาชีพกลุ่มศิลปะ บันเทิง และสันทนาการ
5. สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
6. สาขาการขายส่งและขายปลีก
7. สาขาการซ่อมยานยนต์
8. สาขาข้อมูลข่าวสารและการศึกษา
9. สาขากิจกรรมการบริหารและสนับสนุนวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมวิชาการ
ขั้นตอนการรับเงิน
เมื่อไม่นานมานี้ ทางประกันสังคม เคยให้แนวทางในเรื่องการจ่ายเงินเยียวยา ว่า สำหรับขั้นตอนการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเหตุสุดวิสัยของประเภทกิจการก่อสร้างนั้น นายจ้างต้องบันทึกข้อมูลดังกล่าวและยื่นหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนฯ ของผู้ประกันตน ผ่านระบบ E-service
จากนั้นจึงจะรวบรวมแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส.2-01/7) ส่งให้สำนักงานประกันสังคมที่รับผิดชอบทำการวินิจฉัยจ่ายเงินสิทธิประโยชน์ สำหรับกรณีกิจการก่อสร้าง จะทำการตัดจ่ายประโยชน์ทดแทนทุกวันศุกร์ และจ่ายเงินทุกวันจันทร์ถัดไป ซึ่งนำไปจ่ายเป็นเงินสดที่หน้าแคมป์คนงานก่อสร้าง เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19
อย่างไรก็ตาม สำหรับอีก 3 ประเภทกิจการที่เหลือ จะโอนเข้าบัญชีธนาคารตามที่นายจ้างแจ้งผ่านระบบ E-service