เศรษฐกิจ

heading-เศรษฐกิจ

วันสุดท้าย ลงทะเบียน "ประกันสังคม" ม.40 www.sso.go.th รับเงินเยียวยา 5,000

30 ก.ค. 2564 | 07:39 น.
วันสุดท้าย ลงทะเบียน "ประกันสังคม" ม.40 www.sso.go.th รับเงินเยียวยา 5,000

ประกันสังคม แจกเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตน มาตรา 333 39 40 ที่อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด 9 กลุ่มอาชีพ โดยแรงนอกระบบ หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ได้

หลังจากที่มีการประกาศสั่งล็อกดาวน์ ก็ได้มีมาตรการแจกเงินเยียวยา ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ในระบบประกันสังคมผู้ประกันตน มาตรา 33 39 40 โดยมีเงื่อนไขการเยียวยาผู้คือ 13 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม 9 กลุ่มอาชีพ โดยประกันสังคมให้ผู้ที่เป็นแรงงานนอกระบบและผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ สมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 โดยรีบสมัครภายในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้ และจ่ายเงินสมทบถายในวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ 

โดยสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ได้ทางเว็บไซต์ www.sso.go.th หรือช่องทางที่ประกันสังคมกำหนด เช่น บิ๊กซี , 7-11 , ธนาคารธ.ก.ส. เป็นต้น

สมัคร ม.40

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัดมีดังนี้
1.กรุงเทพมหานคร
2.นครปฐม
3.นนทบุรี
4.ปทุมธานี
5.สมุทรปราการ
6.สมุทรสาคร
7.นราธิวาส
8.ปัตตานี
9.ยะลา
10.สงขลา
11.อยุธยา
12.ชลบุรี
13.ฉะเชิงเทรา

9 กลุ่มอาชีพมีดังนี้
1.ก่อสร้าง
2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
3.ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
4.กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ
5.ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์
6.ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์
8.กิจกรรมทางวิชาการ
9.ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร

 

มาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

เงินสมทบ
- 5% ของเงินเดือนสูงสุไม่เกิน 750 บาท/เดือน
 
เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 2500 บาท ในกรณีที่บริษัทได้รับผลกระทบจากคำสั่งรัฐบาล รับเพิ่ม 50% ของค่าจ้าง (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) ไม่เกิน 90 วัน
 
วิธีการสมัคร
- นายจ้างดำเนินการให้

มาตรา 39 คือ คือ เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบ แล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน

เงินสมทบ
- 432 บาท/เดือน

เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 5,000 บาท

มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ทำงานไม่มีนายจ้าง
- จ่ายเงินสมทบ

ทางเลือกที่ 1 : จ่าย 70 บาท / เดือน
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = ไม่คุ้มครง
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครง 
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ไม่คุ้มครง
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครง 

ทางเลือกที่ 2 : จ่าย 100 บาท / เดือน
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 50 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครง 
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครง 

ทางเลือกที่ 3 : จ่าย 300 บาท / เดือน
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 90 วัน / ปี 
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ไม่คุ้มครอง

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = ตลอดชีวิต
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 150 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 10,000 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = คนละ 200 บาท (คราวละไม่เกิน 2 คน)
 
เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 5,000 บาท

สมัคร ม.40

สมัคร ม.40

สมัคร ม.40

ส่วนวันที่จะได้รับเงินของผู้กระกันตน มาตรา 33 นั้น สามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่ www.sso.go.th
- ผู้ประกันตน มาตรา 33 ใน 9 กลุ่มอาชีพ 10 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มที่ถูกล็อกดาวน์ช่วงแรก ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร  นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา ได้รับเงิน วันที่ 6 สิงหาคม 2564 สามารถตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33 ได้ที่ www.sso.go.th 
- ผู้ประกันตน มาตรา 33 ใน 3 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม ที่ประกาศล็อกดาวน์เพิ่มเติม คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ได้รับเงินเยียวยาภายในเดือน สิงหาคม 2564

ช่องทางการรับเงินเยียวยาประกันสังคม
- ผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน

ตรวจสอบสิทธิ ม.33

อ่านข่าวเพิ่มเติม :

- แนะวิธี ผูกพร้อมเพย์ รับเงินเยียวยา ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 www.sso.go.th
- คลายข้อสงสัย ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ต่างกันอย่างไร

 

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เปิดดวง 3 ราศีดวงดีฟ้าประทาน เงินทองไหลมาเทมา รักหวานฉ่ำ!

เปิดดวง 3 ราศีดวงดีฟ้าประทาน เงินทองไหลมาเทมา รักหวานฉ่ำ!

อย่ามองข้าม "คะน้า" ราชินีผักใบเขียว กินง่าย ได้สุขภาพเต็มๆ

อย่ามองข้าม "คะน้า" ราชินีผักใบเขียว กินง่าย ได้สุขภาพเต็มๆ

"ณิชา" สะดุ้ง "เจมมี่เจมส์" อวยพรวันเกิดสุดแซ่บ ขอให้คน...ออกไปจากชีวิต

"ณิชา" สะดุ้ง "เจมมี่เจมส์" อวยพรวันเกิดสุดแซ่บ ขอให้คน...ออกไปจากชีวิต

เปิดสีเสื้อมงคลวันจันทร์ 21 เมษายน 2568 สายมูห้ามพลาดมีสีเดียว

เปิดสีเสื้อมงคลวันจันทร์ 21 เมษายน 2568 สายมูห้ามพลาดมีสีเดียว

เงินเดือนข้าราชการ 2568 เริ่มปรับฐานใหม่วันไหน ขึ้นกี่บาท

เงินเดือนข้าราชการ 2568 เริ่มปรับฐานใหม่วันไหน ขึ้นกี่บาท