สมัครประกันสังคม ม.40 รับเงินเยียวยา 5 พัน อย่าลืมจ่ายเงินสมทบภายใน 10 ส.ค นี้
ประกันสังคม ย้ำผู้ที่สมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 อย่าลืมจ่ายเงินสมทบ โดยขยายเวลาให้จ่ายได้ถึงวันที่ 10 ส.ค. นี้
ความคืบหน้าการจ่ายเงินเยียวยา ของ ประกันสังคม ผู้ประกันตน มาตรา 40 ที่เปิดให้แรงงานนอกระบบ หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ใน 9 กลุ่มอาชีพ 13 จังหวัด สมัครเพื่อรับเงินเยียวยา
ก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาว่า ส่วนของผู้ประกันตน มาตรา 40 จะมีการเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมครม. ในวันอังคารที่ 10 ส.ค 2564 เมื่อผ่านการอนุมัติจากที่ประชุม ครม. ก็จะทำเรื่องส่งกรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ และโอนมาให้กระทรวงแรงงาน ก่อนจะทำการจ่ายเงินผ่าน “พร้อมเพย์” ที่ผูกกับบัตรประชาชน ซึ่งคาดว่าจะจ่ายได้ประมาณวันที่ 24 ส.ค 2564 เป็นต้นไป
สำหรับแรงงานนอกระบบ หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ใน 9 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ 1.ก่อสร้าง 2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 3.ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ 4.กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ 5.ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์ 6.ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ 8.กิจกรรมทางวิชาการ 9.ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร และพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด ได้แก่ 1.กรุงเทพมหานคร 2.นครปฐม 3.นนทบุรี 4.ปทุมธานี 5.สมุทรปราการ 6.สมุทรสาคร 7.นราธิวาส 8.ปัตตานี 9.ยะลา 10.สงขลา 11.อยุธยา 12.ชลบุรี 13.ฉะเชิงเทรา
สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือตามช่องทางที่ประกันสังคมกำหนด และรีบจ่ายเงินสมทบ โดยล่าสุดขยายเวลาชำระเงินถึง 10 สิงหาคม 2564
คุณสมบัติของผู้สมัคร
- สัญชาติไทย
- อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
- ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (ม.33)
- ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39)
- ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ผู้ถือบัตรประชาชนคนไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้น 00)
- ผู้พิการที่สามารถรับรู้สิทธิสมัครได้
ทางเลือกที่ 1 : จ่าย 70 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 42 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท
2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท
4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = ไม่คุ้มครอง
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ไม่คุ้มครอง
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครอง
ทางเลือกที่ 2 : จ่าย 100 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 30 วัน / ปี
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ครั้งละ 50 บาท
2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = เป็นเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 25,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 8,000 บาท
4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 50 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = ไม่คุ้มครอง
ทางเลือกที่ 3 : จ่าย 300 บาท / เดือน (จ่ายอัตราใหม่เป็น 180 บาท/เดือน)
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป = วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป = วันละ 200 บาท
- เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน = ไม่เกิน 90 วัน / ปี
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) = ไม่คุ้มครอง
2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) = 500 - 1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา = ตลอดชีวิต
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท
3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ = 50,000 บาท
- จ่ายเงินสบทบครบ 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม = ไม่คุ้มครอง
4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมเงินบำเหนัจชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) = 150 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม = รับเพิ่ม 10,000 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ = ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6ปีบริบูรณ์ (จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) = คนละ 200 บาท (คราวละไม่เกิน 2 คน)
เงินเยียวยาที่จะได้รับ
- 5,000 บาท
หลักฐานการสมัคร
- ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเท่านั้น
ช่องทางการรับเงินเยียวยาประกันสังคม
- ผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน
ส่วนผู้ประกันตน มาตรา 40 ที่ชำระเงินสมทบเรียบร้อยแล้ว สามารคเช็กสถานะตนเอง ผ่านทาง www.sso.go.th โดยอย่าลืมชำระเงินภายใน 10 สิงหาคม 2564
- เข้าหน้าเว็บไซต์ ประกันสังคม www.sso.go.th กดสมัครสมาชิก
- อ่านข้อตกลงต่าง เมื่ออ่านเสร็จให้ กด ฉันยอมรับข้อตกลงในการบริการ และกดถัดไป
- กรอกข้อมูลส่วนตัว และกดถัดไป
- ยืนยันตัวตน
เมื่อยืนยังตัวตนแล้วก็จะมาที่หน้า ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน ซึ่งด้านล่างจะมี สถานะบอกว่าคุณได้เป็นผู้ประกันตนแล้วหรือไม่
ส่วนที่ ศบค. ประกาศขยายล็อกดาวน์ และได้ปรับเพิ่มพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือพื้นที่สีแดงเข้ม เพิ่มขึ้นอีก 16 จังหวัดนั้น ทางกระทรวงแรงงานชี้แจงว่ามาตรการจ่ายเงินเยียวยาและชดเชยจะต้องทยอยพิจารณาจ่ายเป็นรอบ ๆ ไป โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปยอดตัวเลขผู้ประกันตนเพิ่มเติม