ข่าว

heading-ข่าว

นักดาราศาสตร์พบหลักฐานของไอน้ำบนดวงจันทร์แกนิมีด เป็นครั้งแรก

09 ส.ค. 2564 | 15:49 น.
นักดาราศาสตร์พบหลักฐานของไอน้ำบนดวงจันทร์แกนิมีด เป็นครั้งแรก

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ พบหลักฐานของไอน้ำบนดวงจันทร์แกนิมีด เป็นครั้งแรก ได้มีการโพสต์ข้อความระบุว่า

วันนี้ ( 9 สิงหาคม 2564 ) ที่เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้มีการโพสต์ข้อความระบุว่า 

นักดาราศาสตร์พบหลักฐานของไอน้ำบน ดวงจันทร์แกนิมีดเป็นครั้งแรก

ข้อมูลจากการสังเกตการณ์ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ช่วยให้นักดาราศาสตร์พบหลักฐานของไอน้ำในชั้นบรรยากาศดวงจันทร์แกนิมีดของดาวพฤหัสบดี การค้นพบนี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature Astronomy

ดวงจันทร์แกนิมีด (Ganymede) เป็นดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดีและเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ งานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าแกนิมีดมีน้ำมากกว่าปริมาณน้ำในมหาสมุทรโลก แต่ด้วยอุณหภูมิที่เย็นจัดทำให้น้ำบริเวณพื้นผิวกลายเป็นน้ำแข็ง และน่าจะมีมหาสมุทรที่อยู่ลึกลงไปใต้พื้นผิวประมาณ 160 กิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2541 กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ถ่ายภาพดวงจันทร์แกนิมีดในช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลตได้เป็นครั้งแรก แสดงให้เห็นแถบแสงออโรราที่เป็นหลักฐานว่า บนดวงจันทร์แกนิมีดมีสนามแม่เหล็กเบาบางอยู่ ซึ่งนักดาราศาสตร์ให้ข้อสรุปว่า แสงออโรราดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับปริมาณความเข้มข้นของอะตอมออกซิเจน (O) ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งบ่งชี้ว่าอาจมีแก๊สออกซิเจนบริสุทธิ์ (O2) อยู่มาก
 

นักดาราศาสตร์พบหลักฐานของไอน้ำบนดวงจันทร์แกนิมีด
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ต่อมา Lorenz Roth จากสถาบัน KTH Royal Institute of Technology นำทีมนักวิจัยศึกษาปริมาณอะตอมออกซิเจนในชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์แกนิมีด โดยใช้ข้อมูลจากกล้อง Cosmic Origins Spectrograph (COS) และกล้อง Space Telescope Imaging Spectrograph (STIS) ที่รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541-2553 ผลจากการวิเคราะห์พบว่า แทบไม่มีอะตอมของออกซิเจนในชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์แกนิมีดอยู่เลย ซึ่งเป็นผลการวิเคราะห์ตรงกันข้ามกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

จากนั้นทีมวิจัยวิเคราะห์การกระจายตัวของแสงออโรราในช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลตอย่างละเอียด พบว่าอุณหภูมิพื้นผิวของดวงจันทร์แกนิมีดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากตลอดทั้งวัน โดยในช่วงเวลาที่ได้รับแสงอาทิตย์มากที่สุด ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรจะมีอุณหภูมิสูงพอที่ทำให้น้ำแข็งระเหิดกลายเป็นไอน้ำออกมาได้เล็กน้อย และยังพบว่าตำแหน่งที่เกิดคลื่นอัลตราไวโอเลตบนดวงจันทร์แกนิมีดนั้นมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งที่คาดว่าจะมีไอน้ำโดยตรง ทีมวิจัยจึงให้ข้อสรุปว่าออกซิเจนที่ตรวจพบเป็นโมเลกุลออกซิเจน ซึ่งเป็นผลผลิตจากโมเลกุลไอน้ำที่ระเหิดจากพื้นผิวน้ำแข็งของดวงจันทร์แกนิมีด

อย่างไรก็ตาม การค้นพบครั้งนี้สามารถต่อยอดไปเป็นเป้าหมายสำคัญของยานสำรวจดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีลำใหม่ ชื่อว่า "JUICE (JUpiter ICy moons Explorer)” ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) ที่มีแผนจะส่งขึ้นสู่อวกาศในปี พ.ศ. 2565 และคาดว่าจะเดินทางถึงดาวพฤหัสบดีในปี พ.ศ. 2572 ภารกิจนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี สำหรับการสำรวจดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์บริวารสามดวงอย่างละเอียด โดยมุ่งเน้นไปยังดวงจันทร์แกนิมีดที่มีโครงสร้างที่อาจเหมาะเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิต

นักดาราศาสตร์พบหลักฐานของไอน้ำบนดวงจันทร์แกนิมีด

ดวงจันทร์แกนิมีดจะเป็นแหล่งสำรวจที่น่าสนใจในอนาคต เปรียบเสมือนห้องทดลองในอวกาศที่นักดาราศาสตร์จะศึกษาลักษณะทางกายภาพของดาวที่มีสภาพเป็นน้ำแข็ง ซึ่งปัจจุบันยานอวกาศจูโนกำลังศึกษาสภาพแวดล้อมโดยรวมของดาวพฤหัสบดีอย่างใกล้ชิด การทำความเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมเหล่านี้จะช่วยให้นักดาราศาสตร์ศึกษาความเป็นมาและวิวัฒนาการของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับดาวพฤหัสบดีได้อีกด้วย

เรียบเรียง : กฤษดา รุจิรานุกูล - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร

นักดาราศาสตร์พบหลักฐานของไอน้ำบนดวงจันทร์แกนิมีด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ราชกิจจาฯ ประกาศ แต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำนวน 14 ราย

ราชกิจจาฯ ประกาศ แต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำนวน 14 ราย

"หมอดัง" เตือน ยาคู่ยอดฮิตหายปวดแต่ไตพัง กินผิดชีวิตเปลี่ยน

"หมอดัง" เตือน ยาคู่ยอดฮิตหายปวดแต่ไตพัง กินผิดชีวิตเปลี่ยน

"ทนายดัง" เคลียร์ชัด ใครถูกผิด ปมเดือดกระบะ vs บีเอ็มป้ายแดง

"ทนายดัง" เคลียร์ชัด ใครถูกผิด ปมเดือดกระบะ vs บีเอ็มป้ายแดง

แม่ดีใจ เจอแล้ว "น้องแบม" สาวน้อย 15  เปิดใจถึงสาเหตุ หนีออกจากบ้าน

แม่ดีใจ เจอแล้ว "น้องแบม" สาวน้อย 15 เปิดใจถึงสาเหตุ หนีออกจากบ้าน

หนุ่ม กรรชัย ตอบกลับเพจดัง หลังเผยจุดอ่อน เรื่องที่ไม่กล้านำเสนอ

หนุ่ม กรรชัย ตอบกลับเพจดัง หลังเผยจุดอ่อน เรื่องที่ไม่กล้านำเสนอ