การเมือง

heading-การเมือง

"พล.อ.ประยุทธ์"สั่งสตช. เดินหน้าปฏิรูปตำรวจเร่งด่วน7ด้าน

27 ส.ค. 2564 | 12:43 น.
"พล.อ.ประยุทธ์"สั่งสตช. เดินหน้าปฏิรูปตำรวจเร่งด่วน7ด้าน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ สตช. ให้ดำเนินการปฏิรูปในระยะเร่งด่วน 7 ด้าน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบข้อห่วงใยและกระแสเรียกร้องการปฏิรูปตำรวจจากภาคประชาชน ยืนยันว่ารัฐบาลเดินหน้าปฏิรูปองค์กรตำรวจ
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยยึดหลักสาระสำคัญตามที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ในหมวดปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ซึ่งขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ... อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรรมาธิการร่วมของรัฐสภาแล้ว

นายธนกร วังบุญคงชนะ

 

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำว่า กระบวนการยุติธรรมที่เข้มแข็ง คือเสาหลักในการบริหารประเทศ และได้สั่งการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สตช. ให้ดำเนินการปฏิรูปในระยะเร่งด่วน 7 ด้านคือ

พล.อ.ประยุทธ์

1.ด้านโครงสร้างของตำแหน่งข้าราชการตำรวจ

2.ด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล

3.ด้านระบบงานสอบสวนและการบังคับใช้กฎหมาย

4.ด้านการนำระบบเทคโนโลยีมาสนับสนุนการรักษาความปลอดภัย

5.ด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

6.ด้านการตรวจสอบและกำกับการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส และ 7.ด้านสวัสดิการตำรวจ 

 

 


  สำหรับการปฏิรูปโดยแก้ไขกฎหมายนั้น มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  ที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) เสนอ แล้วส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา

 

ต่อมามีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 203/2562 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2562 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. และร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. ....

พล.อ.ประยุทธ์

โดยมีนายมีชัย  ฤชุพันธุ์  เป็นประธานกรรมการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นเลขานุการ ซึ่งได้ยกร่างกฎหมายจำนวน 2 ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ....  และร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. ....

 

จากนั้นมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว และให้เสนอรัฐสภา

 

จากนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564  ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 4 ได้พิจารณาและลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.  ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... โดยได้ประชุมมาแล้วถึง 11 ครั้ง

พล.อ.ประยุทธ์

"ท่านนายกรัฐมนตรีเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงองค์กรตำรวจ ด้วยการยกร่าง พ.ร.บ. ตำรวจ ที่ขณะนี้อยู่ในกระบวนการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติ โดยรัฐสภา รัฐบาลพร้อมสนับสนุนเพื่อให้เกิดขึ้นจริง โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

 

ขอให้ความมั่นใจว่า ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายทุกฉบับที่มีอยู่ด้วยความสุจริต โปร่งใส และหากเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายเป็นผู้กระทำความผิดเองนั้น ต้องได้รับโทษขั้นสูงสุดด้วย ซึ่งกรณีของ ผกก.โจ้ รวมทั้งคดีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ตำรวจก็เช่นกันเมื่อมีการกระทำผิดต้องรับโทษขั้นสูงสุด" โฆษกรัฐบาล กล่าว

 

ร่างกฎหมายตำรวจไม่คืบ สภาฯถกได้แค่ 14 มาตราจาก 100 กว่ามาตรา 

 

นายวิรัช  รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ กล่าวย้ำถึงสาเหตุที่พิจารณากฎหมายนี้ล่าช้า  เนื่องจากอยู่ในช่วงโควิด-19  สภาใหญ่ปิดต้องปิดการประชุม กรรมาธิการก็ต้องงดประชุมไปด้วย  

 

ขณะเดียวกัน ก็ติดการพิจารณากฎหมายสำคัญหลายฉบับทั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และสัปดาห์หน้าก็จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

 

จากนั้นก็จะต่อด้วยการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระสาม  แต่ก็คาดการณ์ว่าในช่วงปิดสมัยประชุมสภาจะมีการพิจารณาได้สัปดาห์ละหลายวันและพยายามจะเร่งให้เร็วที่สุดแต่ไม่สามารถตอบได้ว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด เนื่องจากสังคมจับตา และคาดหวังว่ากฎหมายฉบับนี้จะเป็นส่วนในการปฏิรูปสถาบันตำรวจ

 

อย่างไรก็ตามหลังรัฐประหาร  ร่างกฎหมายนี้ผ่านการพิจารณามาหลายคณะแล้ว ทั้งพลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์  และนายมีชัย ฤชุพันธุ์ พิจารณาคณะละสองปี

 

 

และเมื่อมาถึงสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็มอบให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีและสำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมกันร่างเสนอต่อสภา ดังนั้นเวลาการพิจารณาต้องมีการหยิบยกร่างของพลเอกบุญสร้าง  ร่างของนายมีชัยและร่างปัจจุบันที่ครม. เสนอมาพิจารณาประกอบกันไป

 

ซึ่งหลายมาตรายังคงสามารถใช้ของเดิมได้  แต่ในส่วนที่มีการแก้ไขเช่น การครองยศ ตำแหน่งเป็นอีกเรื่องที่จะต้องใช้เวลาพิจารณากันนาน นอกจากนั้นก็เป็นไปตามร่างที่รัฐบาลเสนอมา

 

ทั้งนี้กรรมาธิการได้พิจารณาไปแล้วเพียง 14 มาตราจากทั้งหมด 172 มาตรา และปัญหาที่การพิจารณาล่าช้าส่วนหนึ่ง คือข้อถกเถียงในประเด็นโครงสร้างและจะทำอย่างไรให้ตำรวจเป็นของประชาชนมากที่สุด
 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ระทึก แผ่นดินไหว 7.4 เขย่าอาร์เจนตินา เตือนสึนามิเร่งอพยพ

ระทึก แผ่นดินไหว 7.4 เขย่าอาร์เจนตินา เตือนสึนามิเร่งอพยพ

รักเริ่มจากวงไพ่ ภรรยาผกก. เล่าจุดเริ่มต้นความรัก แปลกไม่มีใครเหมือน

รักเริ่มจากวงไพ่ ภรรยาผกก. เล่าจุดเริ่มต้นความรัก แปลกไม่มีใครเหมือน

มหกรรมธงฟ้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค จ.ราชบุรี ภายใต้โครงการ เปิดเทอม เติมพลัง

มหกรรมธงฟ้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค จ.ราชบุรี ภายใต้โครงการ เปิดเทอม เติมพลัง

รวบแล้ว มือปาหินจากสะพานลอยใส่รถสาว กลางถนนบางนา-ตราด

รวบแล้ว มือปาหินจากสะพานลอยใส่รถสาว กลางถนนบางนา-ตราด

กระทรวงการคลัง จัดงานใหญ่ "MOF JOURNEY : 150 ปี เส้นทางการคลังไทย"

กระทรวงการคลัง จัดงานใหญ่ "MOF JOURNEY : 150 ปี เส้นทางการคลังไทย"