สังคม

heading-สังคม

สธ.ยันชัด ไทยฉีดแอสตราเซนเนกา พบภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมเกล็ดเลือดต่ำ 5 ราย

09 ก.ย. 2564 | 08:18 น.
สธ.ยันชัด ไทยฉีดแอสตราเซนเนกา พบภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมเกล็ดเลือดต่ำ 5 ราย

ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ยันชัด ไทยฉีดแอสตราเซนเนกา 15 ล้านโดส พบภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมเกล็ดเลือดต่ำ 5 ราย

วานนี้ (8 ก.ย.2564) ที่ศูนย์แถลงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แถลงข่าวประเด็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนโควิด 19 ว่า ขณะนี้ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปแล้ว 37,461,284 รวมโดส เข็มที่ 1 จำนวน 25,954,106 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 10,900,001 ราย เข็มที่ 3 จำนวน 607,177 ราย

อาการไม่พึงประสงค์น้อยมาก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายแพทย์จักรรัฐกล่าวต่อว่า ข้อกังวลของประชาชนเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนนั้น กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคมีระบบเฝ้าระวัง และติดตามอาการหลังฉีดผ่าน “หมอพร้อม” หากมีอาการหนักที่เข้ารักษาที่โรงพยาบาลจะส่งข้อมูลเข้าระบบฐานข้อมูลของกองระบาดวิทยา เพื่อวิเคราะห์อาการและสอบสวนเพิ่มเติม หากเป็นกรณีรุนแรง คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาผลว่าเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนหรือไม่ หรือเกิดร่วมกันหลังฉีดวัคซีน ข้อมูล ณ วันที่ 5 กันยายน 2564 พบผู้ที่ฉีดซิโนแวคมีอาการแพ้รุนแรง 24 ราย จากที่ฉีด 15.3 ล้านโดส ทั้งหมดหายเป็นปกติ

อาการไม่พึงประสงค์น้อยมาก

นายแพทย์จักรรัฐกล่าวต่อว่า สำหรับแอสตราเซนเนกาฉีด 15.4 ล้านโดส พบมีอาการแพ้รุนแรง 6 ราย ทั้งหมดหายเป็นปกติ และผู้ป่วยสงสัยมีภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ (VITT) ในผู้ที่ได้รับเข็มแรก 5 ราย รักษาหาย 2 ราย เสียชีวิต 3 ราย คิดเป็น 0.03 ต่อ 100,000 ซึ่งภาวะนี้มีรายงานพบในต่างประเทศแถบยุโรป แคนาดา และออสเตรเลีย อุบัติการณ์ 0.73 ต่อ 100,000 ในผู้ที่ได้รับเข็มแรก และอังกฤษพบ 2 ต่อแสนในคนอายุน้อยกว่า 50 ปี และ 1 ต่อแสนในผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี

อาการไม่พึงประสงค์น้อยมาก

อย่างไรก็ตาม ภาวะ VITT ถือเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้แต่น้อยมาก และสามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการวินิจฉัยรวดเร็ว อาการมักพบหลังได้รับวัคซีน 4 – 30 วัน ได้แก่ ปวดศีรษะรุนแรง แขนขาอ่อนแรง ปากหรือหน้าเบี้ยว เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด ขาบวมเจ็บ ปวดท้องรุนแรง แน่นหน้าอก หรือมีจุดเลือดออก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติและหลักฐานการฉีดวัคซีน ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยแยกโรคและรักษาได้เร็วด้วยยาสำหรับอาการนี้โดยเฉพาะ จะลดความรุนแรงและเสียชีวิตได้

ส่วนไฟเซอร์ฉีด 8.7 แสนราย พบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 1 ราย เป็นเด็กชายอายุ 13 ปี หลังฉีดได้ 2 วัน มีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง ขณะนี้หายเป็นปกติ ซึ่งสหรัฐอเมริกามีการพบกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นอาการที่พบได้หลังฉีดวัคซีนชนิด mRNA 7 - 30 วัน พบการฉีดวัคซีนในเข็มที่ 2 มากกว่าเข็มที่ 1 ในกลุ่มเด็กชายอายุระหว่าง 12-17 ปี มากกว่าผู้ใหญ่ ไม่มีรายงานในผู้สูงอายุ

“อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นพบได้น้อยวัคซีนมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับมีมากกว่า จะช่วยป้องกันโรค ลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต วัคซีนที่อยู่ในขวดจะไม่มีประโยชน์ หากไม่ได้ฉีดเข้าไปในตัวคน จึงขอเชิญชวนผู้สูงอายุ ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฉีดวัคซีนให้เกิดความครอบคลุม” นายแพทย์จักรรัฐกล่าว

ขอบคุณข้อมูลจาก Tnews

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ราชกิจจาฯ ประกาศ แต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำนวน 14 ราย

ราชกิจจาฯ ประกาศ แต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำนวน 14 ราย

"หมอดัง" เตือน ยาคู่ยอดฮิตหายปวดแต่ไตพัง กินผิดชีวิตเปลี่ยน

"หมอดัง" เตือน ยาคู่ยอดฮิตหายปวดแต่ไตพัง กินผิดชีวิตเปลี่ยน

"ทนายดัง" เคลียร์ชัด ใครถูกผิด ปมเดือดกระบะ vs บีเอ็มป้ายแดง

"ทนายดัง" เคลียร์ชัด ใครถูกผิด ปมเดือดกระบะ vs บีเอ็มป้ายแดง

แม่ดีใจ เจอแล้ว "น้องแบม" สาวน้อย 15  เปิดใจถึงสาเหตุ หนีออกจากบ้าน

แม่ดีใจ เจอแล้ว "น้องแบม" สาวน้อย 15 เปิดใจถึงสาเหตุ หนีออกจากบ้าน

หนุ่ม กรรชัย ตอบกลับเพจดัง หลังเผยจุดอ่อน เรื่องที่ไม่กล้านำเสนอ

หนุ่ม กรรชัย ตอบกลับเพจดัง หลังเผยจุดอ่อน เรื่องที่ไม่กล้านำเสนอ