"หมอธีระวัฒน์"เผยการรักษาโควิด-19 คิดนอกกรอบ แต่ไม่ออกนอกลู่
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความระ การคิดนอกกรอบ แต่ไม่ออกนอกลู่ และไม่คิดซ้ำซาก ทำผิดซ้ำซ้อน
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า
การคิดนอกกรอบ แต่ไม่ออกนอกลู่ และไม่คิดซ้ำซาก ทำผิดซ้ำซ้อน
การรักษาในโควิด-19 ถ้าอ่านรายงานอย่างเดียว จะมีทั้งได้ผล ไม่ได้ผลบ้าง ของยาตัวนั้น ตัวนี้
หรือได้ผล ไม่ได้ผล ถ้าเอาแบบมารวมกัน
อ่านแล้วสลบ
การรักษาเหมือนกับทุกโรค ไม่ใช่แต่โควิด19 นั่นคือ รู้เขา รู้เรา รู้ระยะการดำเนินโรคเมื่อคนป่วยเข้ามา และบริหารการปฎิบัติตรงตามระยะการดำเนินโรค และความรุนแรง
ทั้งนี้ อาการตั้งต้น ขึ้นกับการที่ต้องรู้ก่อนว่า เชื้อเข้าได้ทางใด แต่จะไปตั้งตัวที่ไหน และเลื่อนเคลื่อนไปในลำไส้ ออกอาการทางท้อง ไปที่เลือด หรือไปที่สมองก่อน เป็นต้น
และขึ้นกับคนที่ถูกติดเชื้อ มีปัจจัยส่งเสริมให้อ่อนแอ หรือต่อต้าน
ขึ้นกับการวินิจฉัยเร็ว เริ่มรักษาในระยะต่างๆได่เหมาะแก่กลไกของโรคหรือไม่
เหมารวมไม่ได้ว่า ทุกคนมาต้องรักษาแบบเปิดวารสาร สรุป meta analysis แล้วว่าตามนั้นไม่ได้
ติดเชื้อ กระตุ้นการรับรู้ของร่างการ ระบบภูมิตุ้มกัน หลอกล่อให้อักเสบมากกว่าธรรมดา แทรกแซงระบบเลือดและหลอดเลือด และทุกอวัยวะ และผลตามระยะหลังแม้ตรวจเขื้อไม่เจอ
Infection inflammatory immune vascular cascade late consequence
ในทางสมอง ผลเกิดจากการที่ เชื้อเข้าตรงๆ direct effect หรือ สมองเสียหายจาก collateral damage (innocent bystander)
ติดตามแนวคิด และการรักษาจากจีน ตั้งแต่ มกราคม 2563 แล้วจะพบว่า การคิดนอกกรอบ แต่ไม่ออกนอกลู่ และไม่คิดซ้ำซาก ทำผิดซ้ำซ้อน
(ตัวอย่างอันดี ของตำราฝรั่ง และทำตามฝรั่ง เช่น ไม่ให้ใส่หน้ากาก ไม่กันการติดเชื้อจากภายนอก ใช้เวลาเกือบ 10 เดือนในต่างประเทศจนใส่ 2 ชั้น และ ในประเทศไทย 2-3 เดือน ว่าจะใส่หรือไม่ใส่ ใส่แล้วเอาแบบผ้าไม่ได้ ต้องหน้าการอนามัยอย่างเดียว ......)
คิดใหม่ ทำใหม่ได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews