สังคม

heading-สังคม

เช็กเงื่อนไข ธนาคาร "ปล่อยสินเชื่อเงินกู้โควิด" ช่วยเหลือผู้เดือดร้อน

17 ก.ย. 2564 | 11:58 น.
เช็กเงื่อนไข ธนาคาร "ปล่อยสินเชื่อเงินกู้โควิด" ช่วยเหลือผู้เดือดร้อน

รวมธนาคาร "ปล่อยสินเชื่อเงินกู้โควิด" ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอก เช็กเงื่อนไขรายละเอียดมีที่ไหนบ้าง

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศมาตรการเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 สนับสนุนการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้อย่างยั่งยืน เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบให้กับลูกหนี้ได้มากขึ้นในสถานการณ์ที่ยังต้องเผชิญกับภาวะการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ นอกจากนี้ธนาคารต่างๆยังได้มีการปล่อยสินเชื่อ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาด้านการเงินในช่วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งวันนี้เรารวบรวมข้อมูลธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อโควิด-19 ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้ 

 

ธนาคาร ธ.ก.ส. ออกมาตรการ "สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19"

ธนาคาร ธ.ก.ส.


คุณสมบัติผู้กู้ “สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19” ต้องเป็นไปตามที่ “ธ.ก.ส.” กำหนด ได้แก่

- เป็นเกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตร สัญชาติไทยอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน
- เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
 

เงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อ ดังนี้

- ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร โดยใช้ผลคะแนนมาพิจารณาผ่อนปรนจากสินเชื่อปกติของธนาคาร
- ต้องไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) หรือต้องมีสถานะปกติ
ทั้งนี้ ช่องทางแจ้งความประสงค์ขอสินเชื่อสู้ภัย ผ่าน Line Official BAAC Family

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธนาคารกสิกรไทย


กสิกรไทย ออกโครงการพิเศษส่งความช่วยเหลือเร่งด่วน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ร้านอาหารราย​เล็กและร้านค้ารายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ให้เข้าถึงเงินทุนได้ง่าย ภายใต้โครงการพิเศษ “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” อนุมัติง่าย ดอกเบี้ย 3% พักชำระเงินต้น 3 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 300,000 บาท ไม่ต้องมีหลักประกัน ฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท ผลักดันให้ร้านอาหารและร้านรายย่อยมีเงินทุนในการทำธุรกิจให้ไปต่อได้ คาดหวังช่วยร้านค้ารายย่อยได้ 35,000 ราย วงเงินสินเชื่อ 3,500 ล้านบาท นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน ตั้งแต่งวดกรกฎาคม 2564 เพื่อช่วยลูกค้าเอสเอ็มอีและลูกค้ารายย่อยที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการของทางการ

 

 

ธนาคารกรุงไทย    

ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยเพิ่มเติม 3 มาตรการ โดยคาดการณ์ช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อบุคคล 6 หมื่นล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และลดภาระทางการเงินให้กับลูกค้าสินเชื่อรายย่อยที่ได้รับผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งมาตรการสำหรับลูกค้าสินเชื่อบุคคลที่มีสถานการณ์ชำระหนี้เป็นปกติ หรือ ไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน ประกอบด้วย

- สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อ Home for Cash สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน (Home Easy Cash) วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) พักชำระเงินต้นและชำระดอกเบี้ยบางส่วน สูงสุด 12 เดือน หรือ ขยายระยะเวลาโดยลดอัตราผ่อนชำระ สูงสุด 12 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ย สูงสุด 3 เดือน


- สินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ลดการผ่อนชำระค่างวดลง 30% นานสูงสุด 6 เดือน


- สินเชื่อวงเงินกู้แบบหมุนเวียน (Revolving Loan) ได้แก่ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ  5 Plus ปรับเป็นวงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ได้นาน 48 งวด หรือตามความสามารถในการชำระหนี้  นอกจากนี้ ธนาคารได้ออกมาตรการฟื้นฟูธุรกิจ 2 มาตรการ ประมาณการความช่วยเหลือรวมกว่า 3 หมื่นล้านบาท ดังนี้

 

มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ต่อปี ใน 2 ปีแรก (อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี) ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ได้รับยกเว้นดอกเบี้ย 6 เดือนแรก รวมทั้งได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นานสูงสุด 10 ปี เปิดกว้างให้ลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่  ลูกค้าเดิมที่มีวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ขอกู้ได้ไม่เกิน 30% ของวงเงินเดิมที่มีอยู่กับธนาคาร สูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาท  ลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารและสถาบันการเงินอื่น ณ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ขอกู้ได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท (นับรวมวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินทุกแห่ง) 


สำหรับลูกค้าบุคคลที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการได้จนถึง 31 ธันวาคม 2564 ผ่านเว็บไซต์ https://krungthai.com/link/retail-covid19 ส่วนลูกค้าธุรกิจที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการ ศึกษารายละเอียดได้ที่ https://krungthai.com/link/business-covid19 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา สำนักงานธุรกิจทั่วประเทศ หรือ Krungthai

ธนาคารกรุงเทพ

 
ออกมาตรการ "สินเชื่อบัวหลวงสุขใจ" เงินกู้อเนกประสงค์ ที่จะมาเติมเต็มช่วยเหลือผู้ที่ต้องการเงินไปปรับสภาพคล่อง โดยหากยืมเงินที่ 15,000 บาท เลือกผ่อนชำระเงินคืน 60 เดือน ก็ผ่อนเพียงเดือนละ 500 บาท หากยืม 50,000 บาท ผ่อนคืน 60 เดือน ก็เพียงเดือนละ 1,400 บาท แต่ถ้ากู้ที่ 150,000 บาท ต่อเดือนที่ต้องจ่ายก็ 4,000 บาท เท่านั้น

 

วงเงินอนุมัติ เบิกรับเต็มจำนวน เข้าบัญชีทันใจ

- วงเงินสูงสุด 5 เท่าของรายได้ประจำต่อเดือน ตั้งแต่ 15,000 - 1 ล้านบาท อนุมัติและรับเงินก้อนเข้าบัญชีเงินเดือนของคุณทันที
- ชำระคืน สบาย ๆ สูงสุด 60 เดือน

 

ผ่อนสบายแบบลดต้นลดดอก สูงสุด 60 เดือน เลือกระยะเวลาผ่อนชำระเองได้ และชำระคืนด้วยยอดเงินเท่า ๆ กันทุกเดือน
สะดวกสบาย สมัครง่าย ไม่ยุ่งยาก คล่องตัวยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ หรือบุคคลค้ำประกัน

 

ค่าธรรมเนียม

- ฟรี ค่าธรรมเนียมดำเนินการ
- ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้
- ค่าธรรมเนียมการชำระคืนก่อนกำหนด (ปีแรก) 2% ของเงินต้นคงเหลือ
- ค่าธรรมเนียมการขอใบแจ้งยอดบัญชีสินเชื่อ (ย้อนหลังเกิน 3 เดือน) 200 บาทต่อฉบับ
 

เอกสารประกอบการขอสินเชื่อ

- บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
- สลิปเงินเดือน (ต้นฉบับ) หรือหนังสือรับรองเงินเดือนจากบริษัท (ย้อนหลังไม่เกิน 2 เดือน นับจากปัจจุบัน)
- บัญชีธนาคารที่เงินเดือนเข้าย้อนหลัง 6 เดือนต่อเนื่องกัน นับจากปัจจุบัน
- สมุดบัญชีธนาคารหน้าแรกที่เงินเดือนเข้าเพื่อโอนเงินสินเชื่อบัวหลวงสุขใจเข้าบัญชี


ช่องทางการชำระเงิน

- ชำระโดยการหักบัญชีอัตโนมัติจากเงินฝากสะสมทรัพย์ (บัญชีเงินเดือน) ที่มีกับธนาคารกรุงเทพ
- ชำระเพิ่มเติมด้วยเงินสด หรือเช็ค ณ เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงเทพ ทุกสาขาทั่วประเทศ
 

อัตราดอกเบี้ย

- วงเงิน (บาท) ไม่เกิน 30,000 อัตราดอกเบี้ยกรณีปกติ (ต่อปี) 23%
- วงเงิน (บาท) 30,001 - 100,000 อัตราดอกเบี้ยกรณีปกติ (ต่อปี) 21%
- วงเงิน (บาท) 100,001 - 200,000 อัตราดอกเบี้ยกรณีปกติ (ต่อปี) 20%
- วงเงิน (บาท) 200,001 - 300,000 อัตราดอกเบี้ยกรณีปกติ (ต่อปี) 18%
- วงเงิน (บาท) 300,001 - 1,000,000 อัตราดอกเบี้ยกรณีปกติ (ต่อปี) 16%
 

- เพดานอัตราดอกเบี้ย รวมค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องสำหรับสินเชื่อที่ทำสัญญาก่อนวันที่ 1 สิงหาคม 2563 เท่ากับ 28% ต่อปี
- เพดานอัตราดอกเบี้ย รวมค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องสำหรับสินเชื่อที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป เท่ากับ 25% ต่อปี
- อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ คิดจากอัตราดอกเบี้ยกรณีปกติสูงสุดตามสัญญาบวกเพิ่มไม่เกิน 3% ต่อปี ของยอดเงินต้นในค่างวดที่ผิดนัดชำระ ทั้งนี้ เมื่อรวมแล้วไม่เกินเพดานอัตราดอกเบี้ย รวมค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป
- ในการเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ข้างต้น มีระยะเวลาผ่อนผัน (Grace Period) 7 วัน นับจากวันครบกำหนดชำระคืน

 

ขอบคุณข้อมูล : ธนาคารกรุงไทย  , ธนาคารธ.ก.ส. , ธนาคารกสิกร , ธนาคารออมสิน , ธนาคารกรุงเทพ

 

ธนาคารออมสิน ออกมาตรการ "สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19"

 

คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อที่ “สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19” ได้แก่

- มีสัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป 
- เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือ ผู้ประกอบการรายย่อย หรือเป็นผู้มีรายได้ประจําของหน่วยงานเอกชนที่ได้รับผลกระทบกระทบจากโควิด-19
- ไม่เป็นผู้มีรายได้ประจําจากภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ
- มีแอปพลิเคชั่น  “MyMo” ก่อนวันที่ 1 พ.ค. 64 เนื่องจาก สินเชื่อสู้ภัยโควิด–19 ของธนาคารออมสินจะต้องขอสินเชื่อผ่านแอปฯ MyMo เท่านั้น
 
ทั้งนี้ ผู้ที่เคยได้รับสินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาท และสินเชื่อเสริมพลังฐานราก 50,000 บาท ก็สามารถขอสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 ได้

ธนาคารออมสิน ออกมาตรการ "สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19"

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง