เปิดข้อมูล "หมอธีระวัฒน์" วัคซีนเชื้อตาย ในเด็ก จากบริษัท sinopharm
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา "วัคซีนเชื้อตาย" ในเด็กอายุสามขวบถึง 17 ปี จากบริษัท sinopharm ถึง อย ประเทศไทย วันที่ 30/9/64
จากกรณี "หมอธีระวัฒน์" ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า
"วัคซีนเชื้อตาย"ในเด็กอายุสามถึง 17 ปี
1/10/64
ข้อชี้แจงของการใช้วัคซีนเชื้อตายในเด็กตั้งแต่อายุสามขวบ ถึง 17 จากบริษัท sinopharm ถึง อย. ประเทศไทย วันที่ 30/9/64
(ได้รับข้อมูลจาก ศ นพ นิธิ มหานนท์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์)
การติดตามความปลอดภัยของวัคซีนที่มณฑล Hebei ใน
เด็กอายุสามถึงห้าขวบ จำนวน 14,064 ราย
เด็กอายุหกถึง 11 ปีจำนวน42,285 ราย
เด็กอายุ 12 ถึง 17 ปี
จำนวน26,313 ราย
ผลข้างเคียงน้อยเช่นไข้และผื่นซึ่งหายเองคิดเป็น 0.1%
จนกระทั่งถึงปัจจุบันมีการฉีดไปแล้ว 100 ล้านโดส ในเด็กอายุสามถึง 17 ปีในประเทศจีน
ความเห็นเพิ่มเติม
วัคซีนเชื้อตายในเด็กมีความปลอดภัย
อย่างไรก็ตามวัคซีนเชื้อตายยังมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถครอบคลุมสายพันธุ์ปัจจุบันเช่นเดลต้าได้
ดังนั้นอาจมีความจำเป็นที่ต้องมีเข็มที่สาม ด้วยเทคโนโลยีอื่นไม่ว่าจะเป็นแบบแอสตร้า หรือ โมเดนา ไฟเซอร์ แต่ควรจะต้องใช้ปริมาณที่น้อยที่สุดและได้ผลนั่นก็คือใช้การฉีดเข้าชั้นผิวหนังโดยใช้ปริมาณสัดส่วนหนึ่งในห้าหรือหนึ่งใน 10 ของขนาดที่ใช้ในการฉีดเข้ากล้าม
ปริมาณน้อยและการฉีดเข้าชั้นผิวหนังควรจะสร้างความปลอดภัยให้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
มีคนถามมาว่าทำไมไม่ฉีด mRNA ให้เด็กไปเลยเพราะครอบคลุมไวรัสได้มากกว่า
- สั่งผู้ว่าฯ 5 จังหวัด แจ้งเตือนปชช."เขื่อนป่าสักฯ"น้ำเกินปริมาณกักเก็บ
- รวบแล้ว อดีตพระเอก MV หลอกขายปลาสลิด ย้อนประวัติคดีติดตัวเพียบ
- ผู้การนนท์ สั่งรวมหลักฐานเอาผิด "ม็อบ" ไล่บิ๊กตู่ที่ท่าน้ำนนท์
ตอบ
1- ปฏิกิริยาการอักเสบเรื้อรังที่อาจจะเกิดขึ้นได้และจะเป็นปัญหาระยะยาวในอนาคต
2- กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่แม้รายงานว่าเกิดไม่มากหนึ่งต่อ 10,000 แต่เป็นสิ่งที่น่าจะหลีกเลี่ยงได้
และถ้าจะให้ตอบว่าต้องการอะไรมากที่สุดนั่นคือการฉีดเข้าชั้นผิวหนังไม่ว่าจะด้วยวัคซีนยี่ห้อใดก็ตามเพื่อความปลอดภัยสูงสุด เพราะใช้ปริมาณน้อยถ้าจะเกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ก็จะได้ลดทอนลงไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews