ผลวิจัย ชี้ชัด ไฟเซอร์ ประสิทธิภาพลดมาก หลังฉีดไปแล้ว 6 เดือน
ผลวิจัยชี้วัคซีนโควิดของไฟเซอร์ มีประสิทธิภาพลดเหลือ 47% หลังฉีด 6 เดือน และยังป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ยังคงอยู่ที่ 90% เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
จากกรณี วันนี้ (5 ต.ค.2564) นักวิจัยจาก "บริษัทไฟเซอร์" และไคเซอร์ เพอร์มาเนนเต้ เปิดเผยผลการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ ไฟเซอร์พัฒนาขึ้นร่วมกับบริษัทไบออนเทคของเยอรมนี โดยระบุว่า วัคซีนดังกล่าวมี ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อลดลงจากเดิม 88% เหลือเพียง 47% หลังฉีดโดสสองไปได้ 6 เดือน
ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในวารสารการแพทย์ Lancet หลังจากที่ได้ประกาศผลการศึกษาดังกล่าวไปก่อนหน้านี้เมื่อเดือนสิงหาคม แต่เป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการทบทวนโดยผู้วิจัยรายอื่น ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทางการสหรัฐใช้เพื่อประเมินว่าควรฉีดวัคซีนเข็มสามเพื่อกระตุ้นภูมิหรือไม่
นักวิจัยเปิดเผยว่า ตัวเลขประสิทธิภาพที่ลดลงไม่ได้มีสาเหตุจากการกลายพันธุ์ของไวรัส โดยเป็นเพียงการลดลงตามปกติทั่วไปของวัคซีน ส่วนประสิทธิภาพ ในการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตนั้นยังคงอยู่ที่ 90% เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน แม้เป็นการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา
- ราชกิจจาฯ ประกาศ หลักเกณฑ์นำ "มูลฝอยติดเชื้อโควิด" มาใช้เป็นเชื้อเพลิง
- ข่าวดี ครม. อนุมัติเยียวยาเด็กเล็ก รายละ2,000
- "บิ๊กป้อม" ตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งเร่งระบายน้ำ ควบคู่เก็บใช้หน้าแล้ง
ลูอิส โฮดาร์ รองประธานอาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ประจำแผนก วัคซีนไฟเซอร์ กล่าวว่า “ผลการวิเคราะห์เจาะจงสายพันธุ์แสดงให้เห็นชัดเจนว่า วัคซีนไฟเซอร์และไบออนเทคมีประสิทธิภาพกับสายพันธุ์ที่น่ากังวลทุกสายพันธุ์ รวมถึงเดลตา”
อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยดังกล่าวมาจากการศึกษาระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนราว 3.4 ล้านคนระหว่างเดือนธ.ค. 2563 ถึงเดือนส.ค. 2564
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews