สังคม

heading-สังคม

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศแนวทาง การรับวัคซีนเข็ม 3 (กระตุ้นภูมิคุ้มกัน)

08 ต.ค. 2564 | 13:08 น.
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศแนวทาง การรับวัคซีนเข็ม 3 (กระตุ้นภูมิคุ้มกัน)

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศแนวทาง การรับวัคซีนเข็ม 3 (กระตุ้นภูมิคุ้มกัน) สำหรับวัคซีนหลัก และวัคซีนทางเลือก

ประกาศแนวทางการรับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

วัคซีนหลัก
เข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Booster Dose) สำหรับผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนหลัก (Sinovac และ AstraZeneca) เข็ม 1 และเข็ม 2 ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ช่วงเวลาในการเข้ารับวัคซีนหลักเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
1. ผู้ที่รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็มในช่วงเดือน มิ.ย.-ส.ค. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะเปิดระบบให้ท่านลงนัดหมายเข้ามารับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ตามลำดับช่วงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ดังนี้
- กลุ่มอายุ => 70 ปีขึ้นไป นัดหมายเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ระหว่างวันที่ 20-29 ต.ค. 64
- อายุ 59-69 ปี นัดหมายเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ระหว่างวันที่ 1 – 30 พ.ย. 64
- อายุต่ำกว่า 59 ปี นัดหมายเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ระหว่างวันที่ 15 พ.ย.- 24 ธ.ค. 64
กลุ่มโรคเรื้อรังทุกช่วงอายุ นัดหมายเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. 2564 เป็นต้นไป

2.ผู้ที่รับวัคซีน AstraZeneca ครบ 2 เข็ม ในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะเปิดระบบให้ท่านลงนัดหมายเข้ามารับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ตามลำดับช่วงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ดังนี้
- กลุ่มอายุ => 70 ปีขึ้นไป นัดหมายเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ระหว่างวันที่ 1-15 ก.พ. 65
- อายุ 59-69 ปี นัดหมายเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ระหว่างวันที่ 15-28 ก.พ. 65
- อายุต่ำกว่า 59 ปี นัดหมายเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ระหว่างวันที่ 1-10 มี.ค. 65
กลุ่มโรคเรื้อรังทุกช่วงอายุ นัดหมายเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2565 เป็นต้นไป

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศแนวทาง การรับวัคซีนเข็ม 3 (กระตุ้นภูมิคุ้มกัน)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนและแนวทางการเข้ารับวัคซีนหลักเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

1) ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ให้ความสำคัญกับผู้ที่ได้รับการฉีดเข็มที่สองมานานกว่าก่อนเป็นอันดับแรก โดยจะทยอยส่ง SMS ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ท่านเคยลงทะเบียนไว้ในระบบราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในการเข้ารับวัคซีนเข็มแรก เพื่อให้ท่านเข้าสู่ระบบผ่านเว็บไซต์ https://vaccinecovid19.cra.ac.th และเลือกวันนัดหมายเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ตามช่วงเวลาที่กำหนด (กรณีท่านไม่ได้รับ SMS สามารถเข้าไปเลือกวันนัดหมายผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว โดยระบบจะเปิดสิทธิ์ของท่านให้เลือกวันตามช่วงเวลาที่กำหนดในแต่ละกลุ่ม)

2) วัคซีนหลักเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน จะใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับจำนวนวัคซีนที่ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้รับการจัดสรรโควต้ามาจากกระทรวงสาธารณสุข หรือหากท่านมีประวัติแพ้วัคซีน สามารถแจ้งขอรับวัคซีนซิโนแวคเป็นเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ (จากข้อมูลทางวิชาการที่มีรายงานว่าการกระตุ้นด้วยวัคซีนเชื้อตายก็สามารถเพิ่มระดับการป้องกันได้ แม้ระดับภูมิคุ้มกันอาจจะไม่สูงเท่าการกระตุ้นด้วยวัคซีนประเภทอื่น)

3) หากเคยติดเชื้อหลังได้รับการฉีดเข็มที่สอง ให้เริ่มนับการมารับเข็มกระตุ้นภูมิเป็นระยะเวลา 60 วันหลังการติดเชื้อ

 

 

4) ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ให้ความสำคัญในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเวลาที่เหมาะสม และยังอยู่ระหว่างการให้บริการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนให้ครบ 2 เข็มกับกลุ่มประชาชนที่เป็นกลุ่มเปราะบางตกสำรวจและไม่มีทะเบียนอยู่ในประเทศ เพื่อลดโอกาสการกลายพันธุ์และการระบาดมาสู่ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว หากท่านใดวิตกและประสงค์จะได้รับการกระตุ้นภูมิก่อนเวลาที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กำหนด ท่านสามารถไปลงทะเบียนเข้ารับการฉีดกับศูนย์บริการอื่นๆ ได้

วัคซีนทางเลือก 
เข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Booster Dose) สำหรับองค์กรนิติบุคคล และโรงพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม กับทางราชวิทยาลัยฯ

สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์ม หรือผู้ที่มีความประสงค์ใช้วัคซีนทางเลือก (โดยชำระเงินและบริจาคเพื่อกลุ่มเปราะบางตามนโยบายเดิมของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์) เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะเปิดให้จองวัคซีน Sinopharm และ Moderna ในรูปแบบองค์กรนิติบุคคล และโรงพยาบาลเท่านั้น (ไม่มีการเปิดรอบบุคคลทั่วไป) โดยมีกำหนดการและแนวทางดังนี้

กำหนดการเปิดจองวัคซีนทางเลือกเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สำหรับองค์กรนิติบุคคล/โรงพยาบาล
ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2564 จนถึง 30 ธันวาคม 2564

วัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน Sinopharm
- ลงทะเบียนจองพร้อมชำระเงินเต็มจำนวน ภายใน 5 วันทำการเมื่อได้รับการแจ้งจัดสรรวัคซีน
- กำหนดเริ่มฉีดเข็มกระตุ้นภูมิได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี 2565 ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และสถานพยาบาลที่อยู่ในระบบจัดสรรวัคซีนที่รับฉีดแทนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ทั่วประเทศ

วัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน Moderna (50 ไมโครกรัม)
- ลงทะเบียนจองพร้อมชำระเงินมัดจำ 50% ของราคาวัคซีนเมื่อเข้ามาทำการจอง และชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 5 วันทำการเมื่อได้รับการแจ้งจัดสรรวัคซีน
- กำหนดเริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี 2565 ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และสถานพยาบาลที่อยู่ในระบบจัดสรรวัคซีนที่รับฉีดแทนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ทั่วประเทศ

หมายเหตุ: สำหรับรายละเอียดข้อกำหนดการจองและอัตราค่าวัคซีนทางเลือกเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันจะประกาศให้ทราบอีกครั้งทางเพจศูนย์ข้อมูลราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

สำหรับผู้ที่เคยได้รับการจัดสรรวัคซีนซิโนฟาร์มในรูปแบบบุคคลทั่วไป ขอให้ท่านติดตามการจองวัคซีนทางเลือกเข็มกระตุ้นภูมิจากโรงพยาบาลต่างๆ ที่รับการจัดสรรวัคซีนจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และให้บริการฉีดแทนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะไม่เปิดรับจองในรูปแบบบุคคลทั่วไปในการจัดสรรครั้งนี้

ข้อแนะนำแนวทางการเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
- ไม่แนะนำการกระตุ้นด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในสตรีอายุต่ำกว่า 40 ปี หรือผู้ที่ใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด หรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดมากกว่าปกติในทุกช่วงอายุ
- ไม่แนะนำการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันเร็วเกินความจำเป็นโดยเฉพาะในช่วงที่การระบาดไม่รุนแรง เพราะมีข้อมูลพบว่าหากยืดระยะห่างการฉีดเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้นานขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะได้รับการตอบสนองระดับภูมิคุ้มกันขึ้นดีกว่า
- วัคซีนชนิดเชื้อตาย ได้แก่ ซิโนฟาร์ม หรือ ซิโนแวค ควรฉีดเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันห่างจากเข็มสองอย่างน้อย 3-6 เดือน
- วัคซีนชนิดอื่นๆ ได้แก่ แอสตร้าเซนนิก้า ไฟเซอร์ โมเดอร์น่า จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน สปุตนิก ควรฉีดเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันห่างจากเข็มสองอย่างน้อย 7-8 เดือน
- กรณีติดเชื้อโควิด-19 หลังได้รับการฉีดเข็มที่สอง ให้เริ่มนับการมารับเข็มกระตุ้นภูมิระยะเวลา 60 วันหลังการติดเชื้อ
- การกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนซิโนแวคหรือซิโนฟาร์มมีการคาดการณ์ว่าอาจจะช่วยป้องกันการติดเชื้อและการเจ็บป่วยรุนแรงได้ประมาณ 4-8 เดือน และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา จะช่วยป้องกันได้ประมาณ 8-10 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นกับสายพันธุ์ของไวรัสที่ระบาด ณ ขณะนั้น โดยที่ท่านยังต้องเคร่งครัดในการป้องกันตนเองอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการสวมใส่หน้ากาก ล้างมือ รักษาระยะห่าง และเลี่ยงที่แออัดอากาศไม่ถ่ายเท

ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศแนวทาง การรับวัคซีนเข็ม 3 (กระตุ้นภูมิคุ้มกัน)

 

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง