ค้นพบกบอกหนามน่าน กบสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด ในเขตกรมอุทยานฯดอยภูคา จ.น่าน
ตกรมอุทยานฯ ค้นพบ กบชนิดใหม่ที่มีการรายงานการกระจายพันธุ์เข้า มาในเขตพื้นที่ประเทศไทยอีก 1 ชนิด ได้แก่ กบอกหนามน่านเป็นกบขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายคางคก และมีรูปร่างที่คล้ายกับเพื่อนร่วมสกุล ที่พบในแถบภาคตะวันออก คือ กบอกหนามจันทบูร แต่มีหลายอย่างที่แตกต่างกันชัดเจน
วันที่ 19 ตุลาคม 2564 นายชิดชนก สุขมงคล ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) เปิดเผยว่า อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้ร่วมทำการศึกษาวิจัยความหลากหลายของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของไทย” หรือ “Species diversity assessment of amphibians on north-west Thailand” โดย ดร.ฉัตรมงคล สุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยพะเยา ภายใต้ผู้ร่วมวิจัยโครงการ นายฉัตรชัย โยธาวุธ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
จากการศึกษาวิจัยดังกล่าว อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้ค้นพบ กบชนิดใหม่ที่มีการรายงานการกระจายพันธุ์เข้า มาในเขตพื้นที่ประเทศไทยอีก 1 ชนิด ได้แก่ กบอกหนามน่าน (Quasipaa veucospinosa) เป็นกบขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายคางคก และมีรูปร่างที่คล้ายกับเพื่อนร่วมสกุล ที่พบในแถบภาคตะวันออก คือ กบอกหนามจันทบูร (Quasipaa fasciculispina) แต่มีหลายอย่างที่แตกต่างกันชัดเจน และได้เผยแพร่ลงในวารสาร BiodiversityData Journey เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ การค้นพบดังกล่าว มีส่วนสำคัญในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกก ซึ่งถือเป็นองค์ความรู้ด้านการศึกษา ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมที่บ่งบอกถึงความอุดมศึกษาของประเทศ รวมถึงยังทำให้ได้มีศึกษาพันธุกรรมสัตว์ใหม่ๆ อีกด้วย ซึ่งการค้นพบเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อวงการศึกษาไทย งานวิจัยของไทย ที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ควบคู่กับการอนุรักษ์ต่อไป