เงินใครยังไม่เข้า เยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 เช็ค4ขั้นตอนวิธีเเก้ไข
เปิด4 ขั้นตอนพร้อมวีธีเเก้ไข เงินเยียวประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 โอนเงินไม่ได้ เงินยังไม่เข้า เกิดจากสาเหตุอะไร
ความคืบหน้า มาตรการเยียวยาประกันสังคม ในช่วงโควิด-19 กับผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 เเละ มาตรา 40 ล่าสุดนั้นทางกระทรวงการคลังได้โอนเงินเยียวยา มาตรา 33 ใน 13 จังหวัดสีแดงเข้ม จ่ายมาเเล้ว 2 รอบ
ในส่วนของ 16 จังหวัดสีแดงเข้ม ได้ทำการโอนจ่ายไปจำนนวน1 รอบ รวมจ่ายไปแล้ว 6 ล้านกว่าราย เหลืออีก 61,000 กว่าราย ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิอยู่แล้ว แต่ยังโอนเงินไม่ได้ เงินยังไม่เข้า เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1.ไม่ผูกพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชน
2.บัญชีธนาคารปิด
3.มีปัญหาด้านบัญชี ยังโอนไม่ได้ เพราะเงินไม่เข้าบัญชี
ส่วนมาตรา 40 โอนถึงวันที่ 18 ตุลาคม โอนทั้งรอบ 1 และรอบ 2 เหลือประมาณ 240,000 รายที่ยังโอนไม่เข้า มาตรา 40 จะโอนอีกรอบในวันพุธที่ 27 ตุลาคมนี้
***ทั้งนี้สามารถ ตรวจสอบสถานะตนเองในระบบเว็บไซต์ www.sso.go.th ของสำนักงานประกันสังคม***
ผู้ประกันตนมาตรา 33 39 และ 40 ที่โอนเงินไม่ได้ เงินยังไม่เข้า ให้ตรวจสอบสาเหตุและแก้ไขดังนี้
1.คนที่ยังไม่ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน ให้รีบดําเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน
2.หรือเปลี่ยนจากพร้อมเพย์ที่ผูกกับเบอร์โทรศัพท์เป็นพร้อมเพย์ผูกเลขบัตรประชาชน
3.ส่วนคนที่บัญชีปิด ให้ดําเนินการเปิดบัญชี และผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนด่วน
4.โทรสอบถามได้ที่สายด่วน 1506 ว่า มีสิทธิหรือไม่ เพราะอาจจะได้รับสิทธิ แต่ไม่ทราบ เลยไม่ได้ผูกพร้อมเพย์ หรือสอบถามที่เฟซบุ๊ค สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน อินบ็อกซ์เข้าไป แจ้งหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ และเรื่องที่สอบถาม เจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจสอบ เมื่อได้คำตอบ ก็จะติดต่อกลับ
ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่มีสิทธิตามเงื่อนไขจะได้รับเงินโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน
ผู้ประกันตนที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ ครบถ้วน
สัญชาติไทย
ประกอบอาชีพ หรือพักอาศัยอยู่ในจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มใน 29 จังหวัด
(กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี อ่างทอง นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี ระยอง สิงห์บุรี สระบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ และตาก)
29 จังหวัดสีแดงเข้ม แยกเป็น กลุ่ม 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา และกลุ่ม 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา โดย 13 จังหวัดนี้อยู่ในพื้นที่ล็อกดาวน์ 2 เดือน
กลุ่ม 16 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ระยอง ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี ตาก อ่างทอง นครนายก สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี อยู่ในพื้นที่ล็อกดาวน์ 1 เดือน
9 ประเภทกิจการ
ก่อสร้าง
ที่พักแรมบริการด้านอาหาร
ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
กิจกรรม บริการด้านอื่นๆ
การขายส่งขายปลีก ซ่อมยานยนต์
การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ
กิจกรรมทางวิชาการ สาขาข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสาร
ขอบคุณ
ฐานเศรษฐกิจ