กรมอุตุฯเเจงเเล้ว ประเทศไทยเจอพายุเข้าอีก1ลูก เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง2วัน
ชี้เเจงเเล้ว กรณีกระเเสข่าวในโลกออนไลน์เส้นทางพายุเข้าประเทศไทย 1 ลูก ทำให้ฝนตกหนักต่อเนื่อง 2 วัน หวั่นเกิดน้ำท่วมหนัก
ตามที่มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอเตือนภัย เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง พบเส้นทางพายุเคลื่อนตัวเข้าประเทศไทย 1 ลูก ทำให้ฝนตกหนักต่อเนื่อง 2 วัน ล่าสุดทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีการโพสต์คลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาเป็นการเตือน ซึ่งระบุว่าในช่วงวันนี้หรือพรุ่งนี้จะมีพายุเข้าประเทศไทย ทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง 2 วัน เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่นั้น ทางกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า
หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมภาคใต้ตอนกลางได้เคลื่อนลงทะเลอันดามันตอนบนแล้ว (14 พฤศจิกายน 2564) ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสียงภัยในภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง
ส่วนจังหวัดที่คาดว่าว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ได้แก่บริเวณจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทย และทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมอุตุนิยมวิทยา สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://www.tmd.go.th, Facebook: กรมอุตุนิยมวิทยา, Application: Thai weather หรือติดต่อสายด่วน 1182 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ฝนที่ตกในภาคใต้เกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมภาคใต้ตอนกลางได้เคลื่อนลงทะเลอันดามันตอนบนแล้ว ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง ไม่เกี่ยวข้องกับพายุแต่อย่างใด
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ขอบคุณ
nationphoto
Anti-Fake News Center Thailand