สังคม

heading-สังคม

สธ.เผยแล้ว "โอไมครอน" รายแรกของไทย ผ่านเข้ามาได้อย่างไร

06 ธ.ค. 2564 | 12:28 น.
สธ.เผยแล้ว "โอไมครอน" รายแรกของไทย ผ่านเข้ามาได้อย่างไร

สธ.เผยแล้ว "โอไมครอนรายแรก" เข้ามาไทยได้อย่างไร โดยผู้ติดเชื้อโคไมครอนรายนี้เป็นชายชาวอเมริกัน เดินทางมาจากประเทศสเปน เข้าไทยในรูปแบบtest and go

จากกรณีอัพเดทข่าวล่าสุด "โอไมครอนเข้าไทย" โดยนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แถลงด่วนพบโอไมครอนรายแรกในไทย เป็นชายชาวอเมริกัน เดินทางมาจากประเทศสเปน ซึ่งเข้าไทยในรูปแบบ test and go โดยเข้ามาตั้งแต่วันที่  1 ธันวาคม 2564 และได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลว่าตรวจพบเชื้อโควิด-19 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าววันนี้ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ เผยว่า ผู้ป่วยโอไมครอนรายนี้  เป็นชายไทย อายุ 35 ปี สัญชาติอเมริกัน ที่ได้อาศัยอยู่ในประเทศสเปนเป็นเวลา 1 ปี ประกอบอาชีพ นักธุรกิจ เบื้องต้นไม่มีโรคประจำตัว ซึ่งป่วยแบบไม่มีอาการ 

 

สธ.เผยแล้ว "โอไมครอน"รายแรก" เข้ามาไทยได้อย่างไร

ไทม์ไลน์ผู้ป่วยโอไมครอนรายแรกของไทย วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 ตรวจ PCR ที่สเปนผลไม่พบเชื้อหลังจากนั้นไปทานข้าวกับเพื่อนซึ่งเพื่อนไม่มีอาการป่วยจนถึงปัจจุบัน กระทั่งวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 บินจากประเทศสเปนไปดูไบ โดยเที่ยวบิน EK142 และพักที่ดูไบ 9 ชั่วโมงโดยไม่ได้พูดคุยกับใครและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

จากนั้นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 บินจากดูไบมากรุงเทพฯด้วยเที่ยวบิน EK 372 หลังจากลงเครื่องเวลาประมาณเที่ยงคืนไปเก็บตัวอย่างแบบ Drive Thru ที่โรงพยาบาลคู่สัญญาและกลับเข้าโรงแรม ซึ่งผู้ป่วยเข้าโครงการ Test & go  

 

ในเดือนธันวาคมตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 และได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลว่าตรวจพบเชื้อโควิด โดยมีรายละเอียด CT : ORF1ab = 33.10 และ N gene = 30.71 กระทั่งวันที่ 3 ธันวาคมส่งตัวอย่างตัวเชื้อยืนยันที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

สธ.เผยแล้ว "โอไมครอน"รายแรก" เข้ามาไทยได้อย่างไร

 

ซึ่งโครงการ TEST & GO (Exemption from Quarantine) เป็นโครงการ สำหรับผู้เดินทางที่ได้รับวัคซีนจากประเทศที่มีสิทธิ์เดินทางเข้าไทยไม่ต้องกักตัวเริ่มเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 สำหรับนักท่องเที่ยวจากประเทศนำร่อง โดยกำหนดให้เฉพาะนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 และเดินทางเข้าประเทศไทยทางอากาศได้รับการยกเว้นจากการกักตัว

ทั้งนี้สำหรับเทคนิคการตรวจสายพันธุ์ไวรัสก่อโรคโควิด-19 จะมี 3 วิธีทดสอบ คือ

1.RT-PCR โดยใช้น้ำยาพิเศษแต่ละสายพันธุ์โดยตรง ใช้เวลา 1-2 วัน โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 15 แห่งทั่วประเทศดำเนินการได้

2.Target sequencing เป็นการดูรหัสพันธุกรรมว่าเหมือนชนิดใดใช้เวลา 3 วัน

3.Whole genome sequencing เป็นการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว ใช้เวลา 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ ขณะนี้ยังไม่มีน้ำยาเฉพาะที่จะตรวจหาสายพันธุ์ใหม่โอมิครอนด้วยวิธีRT-PCRซึ่งใช้เวลาเร็วที่สุด1-2วัน จะต้องใช้เวลาพัฒนาอีก 2 สัปดาห์

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ระทึก แผ่นดินไหว 7.4 เขย่าอาร์เจนตินา เตือนสึนามิเร่งอพยพ

ระทึก แผ่นดินไหว 7.4 เขย่าอาร์เจนตินา เตือนสึนามิเร่งอพยพ

รักเริ่มจากวงไพ่ ภรรยาผกก. เล่าจุดเริ่มต้นความรัก แปลกไม่มีใครเหมือน

รักเริ่มจากวงไพ่ ภรรยาผกก. เล่าจุดเริ่มต้นความรัก แปลกไม่มีใครเหมือน

มหกรรมธงฟ้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค จ.ราชบุรี ภายใต้โครงการ เปิดเทอม เติมพลัง

มหกรรมธงฟ้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค จ.ราชบุรี ภายใต้โครงการ เปิดเทอม เติมพลัง

รวบแล้ว มือปาหินจากสะพานลอยใส่รถสาว กลางถนนบางนา-ตราด

รวบแล้ว มือปาหินจากสะพานลอยใส่รถสาว กลางถนนบางนา-ตราด

กระทรวงการคลัง จัดงานใหญ่ "MOF JOURNEY : 150 ปี เส้นทางการคลังไทย"

กระทรวงการคลัง จัดงานใหญ่ "MOF JOURNEY : 150 ปี เส้นทางการคลังไทย"