เปิดไทม์ไลน์ ผู้ป่วย "โอไมครอน" คนแรกในไทย พบป่วยไม่แสดงอาการ
สธ.ยืนยันพบผู้ป่วยโอไมครอนคนแรกในไทย ไล่ไทม์ไลน์ระทึก ป่วยไม่มีอาการ สาธารณสุขในประเทศไทยแนะด่วนถึงวิธีป้องกัน
จากกรณีที่ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ได้มีการตรวจพบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์ “โอไมครอน” ในประเทศไทยแล้ว ตามข้อมูลระบุว่า ผู้ป่วยชาวอเมริกัน แต่เดินทางจากสเปน เก็บตัวอย่างครั้งที่หนึ่ง วันที่ 30 พ.ย.64 พบว่า โอกาสเป็นสายพันธุ์โอไมครอนสูงมาก 99.92% และตรวจเชื้อซ้ำเมื่อ 3 ธ.ค. เบื้องต้นค่อนข้างแน่นอนว่า เป็นสายพันธุ์โอไมครอนรายแรกของไทย
โดยจากผลการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า ผู้ติดเชื้อโอไมครอนโควิดคนแรกของไทย เป็นชายไทย อายุ 35 ปี สัญชาติอเมริกัน ที่ได้อาศัยอยู่ในประเทศสเปนเป็นเวลา 1 ปี ประกอบอาชีพ นักธุรกิจ เบื้องต้นไม่มีโรคประจำตัว ซึ่งเขาป่วยแบบไม่มีอาการ
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 ตรวจ PCR ที่สเปนผลไม่พบเชื้อหลังจากนั้นไปทานข้าวกับเพื่อนซึ่งเพื่อนไม่มีอาการป่วยจนถึงปัจจุบัน กระทั่งวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 4 บินจากประเทศสเปนไปดูไบ โดยเที่ยวบิน EK142 และพักที่ดูไบ 9 ชั่วโมงโดยไม่ได้พูดคุยกับใครและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
จากนั้นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 4 บินจากดูไบมากรุงเทพฯด้วยเที่ยวบิน EK 372 หลังจากลงเครื่องเวลาประมาณเที่ยงคืนไปเก็บตัวอย่างแบบ Drive Thru ที่โรงพยาบาลคู่สัญญาและกลับเข้าโรงแรม ซึ่งผู้ป่วยเข้าโครงการ Test & go
ในเดือนธันวาคมตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 และได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลว่าตรวจพบเชื้อโควิด โดยมีรายละเอียด CT : ORF1ab = 33.10 และ N gene = 30.71 กระทั่งวันที่ 3 ธันวาคมส่งตัวอย่างตัวเชื้อยืนยันที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
-ด่วนที่สุด มหาดไทย ส่งหนังสือถึงผู้ว่าฯชายแดนใต้ หลังเพื่อนบ้านพบ โอไมครอน
-ศรีสุวรรณ โดนถล่มคอมเมนต์สนั่น หลังโพสต์แซะ อดีตพส. บางคน
-โฆษกกองทัพอากาศ เผยแล้ว สาเหตุเครื่องบิน F5 ตก คาดนกขนาดใหญ่บินชน
นอกจากนี้ตามข้อมูลยังระบุอีกว่า ชายชาวไทยสัญชาติอเมริกันรายนี้ได้รับวัคซีน Johnson & Johnson แล้ว 1 เข็มจากสหรัฐอเมริกาในวันที่ 28 มิถุนายน 2554 ซึ่งตามรายงานระบุว่า มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงแล้ว 19 รายโดยแบ่งเป็นที่โรงแรม 17 รายและพนักงานสนามบิน 2 ราย
อัพเดทล่าสุดเชื้อโควิดโอไมครอน
- สายพันธุ์ Omicron แพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์ที่ผ่านมา 2-5 เท่า
- ผู้ติดเชื้อ Omicron ส่วนใหญ่ ไม่มีอาการ หรืออาการน้อย คล้ายโรคไข้หวัด
(ผู้ติดเชื้อที่รายงานในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล)
- ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ Omicron เสียชีวิต
- มาตรการป้องกัน : ฉีดวัคซีนโควิดให้ครอบคลุมมากที่สุด ใช้มาตรการป้องกันส่วนบุคคลที่
เข้มงวด เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และ VUCA
- ยกระดับการเฝ้าระวัง ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ และสถานที่ท่องเที่ยง
- ทำการสุ่มตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยไข้หวัดที่เป็นกลุ่มก้อน (Cluster)
- ส่งตัวอย่างเชื้อที่พบจากผู้เดินทางหรือรายที่น่าสงสัย ไปตรวจหาสายพันธุ์ Omicron ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews