สังคม

heading-สังคม

ไทย หวั่น เกิดลูกผสม "เดลตา+โอไมครอน" แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม

13 ธ.ค. 2564 | 13:47 น.
ไทย หวั่น เกิดลูกผสม "เดลตา+โอไมครอน" แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม

ไทย หวั่นโควิดลูกผสมเดลตา-โอไมครอน แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรมของเชื้อ 2 ตัวในร่างกายคนๆ เดียว หลังเคยตรวจพบสายพันธุ์ทั้งเดลตาและอัลฟาในคนเดียว


    จากกรณี ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กังวลสถานการณ์โควิดที่มีการระบาดในปัจจุบัน ของ เดลตา ครองพื้นที่เเละมี โอไมครอน หวั่นลูกผสมเดลตา-โอไมครอน แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม หาก1คน ติด2สายพันธุ์จะเกิดอะไรขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง


โดย ดร.วสันต์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  กล่าวว่า ศูนย์จีโนมฯ มีการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อก่อโรคโควิด-19 โดยสุ่มตรวจเชื้อจากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ รวมทั้งมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ส่งสิ่งส่งตรวจมาให้ถอดรหัสพันธุกรรม ยังไม่พบสายพันธุ์โอมิครอน มีเพียงรายแรกที่กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ส่งมาให้ศูนย์จีโนมฯ ถอดรหัสยืนยันผล ในรายอื่นๆ กรมวิทย์ฯ ดำเนินการเอง ซึ่งก็มีเครือข่ายรพ.ในสังกัดกระจายอยู่ในแต่ละพื้นที่

ไทย หวั่น เกิดลูกผสม \"เดลตา+โอไมครอน\" แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม

ขณะนี้ กรมวิทย์ฯ ได้ประสานโรงเรียนแพทย์ที่เป็นภาคี ร่วมกันสุ่มตรวจสายพันธุ์ให้ได้ประมาณ 1% จากผู้ติดเชื้อรายใหม่ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 3,000-4,000 รายต่อวัน ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการประเมินว่าการตรวจเชื้อด้วย PCR ยังใช้ได้ดีหรือไม่ ยา ชุดตรวจต่างๆ ยังใช้ตรวจได้ผลดีหรือไม่ รวมถึงวัคซีนใช้ได้หรือไม่ อย่างเช่นที่แอฟริกาใต้ที่มีการสุ่มตรวจไม่ถึง 1% ยังพบสายพันธุ์โอมิครอนและแจ้งไปทั่วโลกทราบ ขณะนี้ทั่วโลกก็พยายามกระตุ้นให้แต่ละประเทศช่วยกันตรวจหาสายพันธุ์
 

ไทย หวั่น เกิดลูกผสม \"เดลตา+โอไมครอน\" แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม

 

ไทย หวั่น เกิดลูกผสม \"เดลตา+โอไมครอน\" แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม

  ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันที่กังวลคือ ขณะนี้มีการระบาดของเชื้อเดลตาที่ครองพื้นที่ และมีโอมิครอนเข้ามา หากคน ๆ หนึ่งติดเชื้อ2 สายพันธุ์อะไรจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะหากมีการแลกเปลี่ยนสายพันธุกรรมจนเกิดลูกผสมหรือไฮบริด อาจจะก่อให้เกิดลักษณะเด่นพิเศษที่ไม่เหมือนโอมิครอน ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่า หากมีการแลกเปลี่ยนสายพันธุกรรมของเชื้อ 2 ตัวในร่างกายคนๆ เดียว จะส่งผลต่อการแพร่กระจายรวมถึงจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้นหรือน้อยลง จึงต้องสุ่มตรวจเพื่อติดตามเฝ้าระวัง

ไทย หวั่น เกิดลูกผสม \"เดลตา+โอไมครอน\" แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม

ที่ผ่านมาเคยพบเพียงการติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ทั้งเดลตาและอัลฟาในคนเดียวกันที่คสัสเตอร์แคมป์คนงานที่กรมวิทย์ฯ เคยรายงาน แต่ไฮบริด 2 สายพันธุ์ในคนเดียวกันที่มีการแลกเปลี่ยนสายพันธุกรรมจนเกิดลูกผสมขึ้นมายังไม่เคยเกิดขึ้น และจากข้อมูลที่ผ่านมาในต่างประเทศเคยมีการผสมแลกเปลี่ยนสายพันธุ์ในคนๆเดียวระหว่างเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ผสมกับไข้หวัดธรรมดา แต่ไม่พบอาการรุนแรง

ไทย หวั่น เกิดลูกผสม \"เดลตา+โอไมครอน\" แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม

 ดังนั้นการสุ่มตรวจสายพันธุ์ในจำนวนมากๆ เป็นสิ่งจำเป็น เมื่อพบความผิดปกติจะได้ควบคุม หากพบในคลัสเตอร์ใด กรมควบคุมโรคก็ต้องรีบเข้าไปบริหารตัดตอนไม่ให้เกิดการแพร่กระจายออกไป ดังนั้นการฉีดวัคซีนจึงมีบทบาทเช่นกัน เมื่อมีโควิดโอมิครอนเข้ามา ก็วางแผนกันว่าระยะเวลาเข็ม 3 กับเข็ม 2 อาจร่นเวลาเหลือ 3 เดือน เข็ม 4 ก็อาจจะลดลงมา 6 เดือนก็ได้ รวมถึงอาจจะต้องเปลี่ยนหัวเชื้อใหม่ที่ทันต่อการระบาดในปัจจุบัน ระยะห่างระหว่างเข็มควรเป็นเท่าไหร่ 

ไทย หวั่น เกิดลูกผสม \"เดลตา+โอไมครอน\" แลกเปลี่ยนสายพันธุกรรม

cr.
bangkokbiznews.com

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง