สังคม

heading-สังคม

ศ.นพ.มานพ เจาะลึก วัคซีน mRNA ความหวังป้องกัน "โอไมครอน"

21 ธ.ค. 2564 | 16:49 น.
ศ.นพ.มานพ เจาะลึก วัคซีน mRNA ความหวังป้องกัน "โอไมครอน"

ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เจาะลึกวัคซีน mRNA ยังคงเป็นความหวังป้องกัน "โอไมครอน"

จากกรณีที่มีการระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน" ทางด้าน ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เจาะลึกวัคซีน mRNA ยังคงเป็นความหวังป้องกัน "โอไมครอน" ซึ่งเป็นสายพันธุ์ล่าสุดที่มีการระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก ทำให้เริ่มมีความกังวลว่าการระบาดระลอกนี้ จะมีความรุนแรงแค่ไหน แม้จะยังไม่มีผลการวิจัยรับรองแน่ชัด แต่ในหลักการแล้ววัคซีนชนิด mRNA ยังคงเป็นความหวังในการป้องกัน โอไมครอน เนื่องจากข้อดีของวัคซีนชนิด mRNA คือ สามารถปรับสูตรได้อย่างรวดเร็ว การผลิตวัคซีนชนิด mRNA จึงใช้วิธีการแนะนำให้ร่างกายรู้จักโปรตีนหนามของไวรัสโควิด-19 รายละเอียดดังนี้

 

เจาะลึกวัคซีนชนิด mRNA กับการสร้างเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์

ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนซึ่งเป็นสายพันธุ์ล่าสุดที่มีการระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก ทำให้เริ่มมีความกังวลว่าการระบาดระลอกนี้ จะมีความรุนแรงแค่ไหน แม้จะยังไม่มีผลการวิจัยรับรองแน่ชัด แต่ในหลักการแล้ววัคซีนชนิด mRNA ยังคงเป็นความหวังในการป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ข้อดีของวัคซีนmRNA คือ สามารถปรับสูตรได้อย่างรวดเร็ว  เพราะทันทีที่เราทราบรหัสพันธุกรรมของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ก็จะผลิตวัคซีนต้นแบบได้ทันที  แต่กระนั้นวัคซีนต้นแบบชนิดใหม่ๆ ยังคงต้องผ่านกระบวนการทดสอบทั้งในด้านประสิทธิผล และประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งต้องใช้เวลายืนยันความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ได้ ก่อนจะได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาให้นำมาใช้จริง 

 

เจาะลึกวัคซีน mRNA ความหวังป้องกัน "โอไมครอน"

 

การที่วัคซีนชนิด mRNA สามารถปรับสูตรวัคซีนได้อย่างรวดเร็วนั้น ศ.นพ.มานพ อธิบายง่ายๆ ว่าการให้วัคซีนคือการสอนให้ร่างกายของเรารู้จักเชื้อโรค เพื่อให้กระบวนการป้องกันตามธรรมชาติทำงานได้ดีขึ้น  การผลิตวัคซีนชนิด mRNA จึงใช้วิธีการแนะนำให้ร่างกายรู้จักโปรตีนหนามของไวรัสโควิด-19 โดยใช้ mRNA ซึ่งเป็นแม่พิมพ์ที่สามารถสั่งให้เซลล์ผลิตโปรตีนหนามตามที่ต้องการได้ เมื่อนำแม่พิมพ์ mRNA ในการสร้างโปรตีนหนามของไวรัสนี้เข้าสู่ร่างกาย เซลล์ของร่างกายเราจึงสร้างโปรตีนหนามให้ร่างกายรับรู้ เมื่อร่างกายรู้จักโปรตีนหนามของไวรัสนี้แล้ว จะกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนามขึ้น  หลังจากนี้เมื่อได้รับเชื้อจริง ร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้เองเพื่อต่อต้านการโจมตีของเชื้อ

 

ในขณะนี้ บริษัทผู้ผลิตวัคซีนต่างก็กำลังค้นคว้าอย่างเร่งด่วนเพื่อที่จะได้รู้จักและเข้าใจเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถปรับเปลี่ยนวัคซีนโควิด-19 ที่ทันต่อการกลายพันธุ์  เช่น บริษัทโมเดอร์นากำลังดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ของวัคซีนโมเดอร์น่าทั้ง 3 สูตร ได้แก่

1) วัคซีนเข็มกระตุ้นสูตร mRNA-1273 ในขนาด 100 ไมโครกรัม

2) วัคซีนสูตรผสมที่รวมสายพันธุ์เบต้าและเดลต้า ซึ่งมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งเหมือนกับไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน

และ3) จะเร่งดำเนินการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 สูตรใหม่ที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

 

เจาะลึกวัคซีน mRNA ความหวังป้องกัน "โอไมครอน"

 

ในระหว่างที่ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนยังไม่แพร่กระจายมากจนเข้ามาแทนที่สายพันธุ์อัลฟ่า เบต้า และเดลต้า ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทยขณะนี้  วัคซีนชนิด mRNA ทั้งสองยี่ห้อที่มีอยู่ในประเทศไทยยังคงมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดี  แม้จะใช้หลักการและเทคโนโลยีเดียวกันในการผลิต วัคซีนทั้งสองยี่ห้อก็มีส่วนปลีกย่อยที่ส่งผลให้มีประสิทธิผลที่แตกต่างกัน

สิ่งที่ทำให้ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 มีความแตกต่างกันนั้นศ.นพ.มานพอธิบายว่า ข้อแรก คือ ตัวห่อหุ้ม หรือ Lipid nanoparticles ที่ใช้หุ้มmRNA เพื่อป้องกันไม่ให้สลายตัวก่อนฉีดเข้าไปในร่างกาย ที่วัคซีนแต่ละยี่ห้อใช้นั้นไม่เหมือนกัน  ส่วนข้อสอง ซึ่งมีความสำคัญมาก คือ ปริมาณ mRNA ในวัคซีนที่ต่างกันซึ่งปริมาณที่เหมาะสมนี้ได้จากการศึกษาในอาสาสมัครที่พบว่ามีผลกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี และไม่มีผลข้างเคียงมากเกินไป ก่อนนำมาศึกษาทางคลินิกเพื่อทดสอบประสิทธิภาพเทียบกับยาหลอก แล้วจึงนำมาใช้จริง

จากผลการศึกษาทางคลินิกเฟสสามวัคซีนชนิด mRNA ทั้งสองยี่ห้อมีประสิทธิภาพสูงเกิน 95%  ในการป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดิมโดยผลการติดตามการใช้จริงในประเทศกาตาร์เมื่อต้นปี 2564 แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อของวัคซีนโมเดอร์น่าเข็มแรกต่อเชื้อสายพันธุ์อัลฟ่าสูงถึง 88.1% และถ้าได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มจะได้สูงถึง 100% ในขณะที่ประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อต่อเชื้อสายพันธุ์เบต้า สูงถึง 96.4% เมื่อได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม

การศึกษาเปรียบเทียบวัคซีนทั้งสองชนิดในรัฐมินเนโซตา สหรัฐอเมริกา ระหว่างเดือนธันวาคม 2563 - กรกฎาคม 2564 โดยใช้อาสาสมัครกลุ่มละกว่า 25,000 คน ซึ่งเป็นช่วงคาบเกี่ยวของการระบาดทั้งสายพันธุ์อัลฟ่าและเดลต้า พบว่าจำนวนอาสาสมัครที่ติดเชื้อภายหลังได้รับวัคซีนโมเดอร์น่ามีน้อยกว่าวัคซีนไฟเซอร์เกือบ 2 เท่า (38:72 คนตามลำดับ) โดยในเดือนสุดท้ายของการศึกษาพบว่าประสิทธิผลในการป้องกันอาการหนักต้องเข้ารพ. ยังดีมาก โดยวัคซีนโมเดอร์น่ายังคงมีประสิทธิผลที่81% (ลดลงจาก 91.6%) ขณะที่วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิผลที่ 75% (ลดลงจาก 85%)

ด้านผลข้างเคียงของวัคซีนmRNA มี 2 เรื่องหลัก เรื่องแรก คือ การแพ้รุนแรง ซึ่งวัคซีนทั้งสองยี่ห้อมีอุบัติการณ์ใกล้เคียงกัน  คือ พบในอัตราประมาณ 1 ต่อ 300,000 คน  

ส่วนเรื่องที่สอง คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รายงานจากบริษัทโมเดอร์น่าระบุว่า ชายอายุต่ำกว่า 30 ปีที่ได้รับวัคซีนโมเดอร์น่า มีโอกาสที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มากกว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ โดยอ้างอิงข้อมูลจากประเทศฝรั่งเศสในชายวัย 12-29 ปี โดยข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พบผู้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 13.3 รายจากจำนวนผู้ฉีดวัคซีนโมเดอร์น่าทั้งหมด 100,000 ราย เมื่อเทียบอุบัติการณ์2.7 ต่อ 100,000 รายในผู้ที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับผลดีในการป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว การฉีดวัคซีนถือได้ว่ามีประโยชน์มากกว่าและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการไม่ฉีดวัคซีนและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ รวมถึงองค์การอนามัยโลกยังคงเน้นย้ำว่า วัคซีนเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการรับมือกับโรคโควิด-19 และเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่
 

ข่าวเด่น

เอส แอนด์ พี ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขจัดงาน “S&P SWEET HAPPINESS 2025”

เอส แอนด์ พี ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขจัดงาน “S&P SWEET HAPPINESS 2025”

"เบ๊น อาปาเช่" ซัดชาวเน็ตแซะ "มิกซ์" ลูกชายหม่ำ ดังเพราะบารมีพ่อ

"เบ๊น อาปาเช่" ซัดชาวเน็ตแซะ "มิกซ์" ลูกชายหม่ำ ดังเพราะบารมีพ่อ

"ทนายธรรมราช" เผยคำใบ้ "ทนายคนใหม่" ของทนายตั้ม

"ทนายธรรมราช" เผยคำใบ้ "ทนายคนใหม่" ของทนายตั้ม

ศาลไม่ให้ประกันตัว ภรรยา และ ลูกสาวหมอบุญ นำตัวกลับเข้าเรือนจำตามเดิม

ศาลไม่ให้ประกันตัว ภรรยา และ ลูกสาวหมอบุญ นำตัวกลับเข้าเรือนจำตามเดิม

แม่น้ำหนึ่งให้เลขเด็ดมาแรง งวดนี้ 1/12/67 คอหวยห้ามพลาด

แม่น้ำหนึ่งให้เลขเด็ดมาแรง งวดนี้ 1/12/67 คอหวยห้ามพลาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง