เทียบข้อแตกต่าง สิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 แต่ละกลุ่มคุ้มครองอะไรบ้าง
สิทธิประกันสังคม" ม.33 ม.39 ม.40 มาตราไหน คุ้มครองอะไรบ้าง สวัสดิการแต่ละกลุ่มแตกต่างกันอย่างไร วันนี้ทีมงาน thainewsonline รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว
ไขข้อข้องใจ "สิทธิประกันสังคม" 3 มาตรา ม.33 ม.39 ม.40 แตกต่างกันอย่างไร มาตราไหน คุ้มครองอะไรบ้าง โดย สำนักงานประกันสังคม ได้แบ่งสวัสดิการให้คนทำงานใน 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
มาตรา 33
- ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี
1. ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
2. คลอดบุตร
3. ทุพพลภาพ
4. ตาย
5. สงเคราะห์บุตร
6. ชราภาพ
7. ว่างงาน
มาตรา 39
- ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนแล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม โดยได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี
1. ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
2. คลอดบุตร
3. ทุพพลภาพ
4. ตาย
5. สงเคราะห์บุตร
6. ชราภาพ
มาตรา 40
บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยได้รับความคุ้มครองมากที่สุด 5 กรณี
ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
ทุพพลภาพ
ตาย
ชราภาพ
สงเคราะห์บุตร (ตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ)
ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานประกันสังคม