สังคม

heading-สังคม

เทียบอาการกันชัดๆ "โอมิครอน และ เดลต้า" ต่างกันอย่างไร

07 ม.ค. 2565 | 20:30 น.
เทียบอาการกันชัดๆ "โอมิครอน และ เดลต้า" ต่างกันอย่างไร

เปรียบเทียบเป็นข้อๆ ความแตกต่างอาการ โควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน และ โควิด-19 สายพันธุ์ เดลต้า หลังกำลังกลับมาระบาดหนักอีกครั้ง

จากกรณีประเทศไทย ได้เข้าสู่ "การระบาดระลอก 5" เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้มีการยกระดับการควบคุมและแจ้งเตือนมาอยู่ที่ระดับ 4 เพื่อสู้กับสายพันธุ์ "โอมิครอน" วันนี้เราจะมาดูความแตกต่างของ "อาการโควิด-19" สายพันธุ์ "โอมิครอน" และ "เดลตา" เบื้องต้น ดังนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"โอมิครอน และ เดลต้า"ต่งางกันอย่างไร มาดูการเทียบอาการกันชัดๆแ

1.โอมิครอน 
"โควิด-19" สายพันธุ์ "โอมิครอน" เป็นสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดระบาดในประเทศไทย ลักษณะพิเศษคือแพร่เชื้อและติดต่อได้เร็ว แต่จะแสดงอาการน้อย หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันมนุษย์ได้ดี 

สำหรับอาการของผู้ที่ติดเชื้อโควิดโอมิครอน ที่พบในประเทศไทย ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เปิดเผยโดย ศบค. เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2564 พบว่ามีอาการ 8 อย่างเป็นหลัก ดังนี้

- ไอ 54%
- เจ็บคอ 37%
- ไข้ 29%
- ปวดกล้ามเนื้อ 15%
- มีน้ำมูก 12%
- ปวดศีรษะ 10%
- หายใจลำบาก 5%
- ได้กลิ่นลดลง 2%

โอมิครอนมีอาการที่สามารถพบได้เพิ่มเติมได้ด้วย ทั้ง เจ็บคอ, ปวดกล้ามเนื้อ, เหนื่อย, อ่อยเพลีย, ไอแห้ง และเหงื่อออกมากในเวลากลางคืน อีกด้วย

 

2.เดลตา 
โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา เป็นสายพันธุ์ที่มีการระบาดครั้งใหญ่ในไทยอยู่ก่อน ส่งผลรุนแรง อาการที่พบใกล้เคียงกับ "โรคหวัด" ธรรมดา โดยข้อมูลจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุถึงอาการที่พบบ่อยในผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาไว้ดังนี้

- ปวดหัว
- เจ็บคอ
- มีน้ำมูก
- ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
- อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา

ทั้งนี้ โอมิครอนสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจและหลอดลมได้ดีกว่าสายพันธุ์เดลตาถึง 70 เท่า แต่หากแพร่กระจายถึงขั้นลงปอด จะไม่ทำลายปอดเท่ากับเดลตา เพราะเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้มักอยู่ในทางเดินหายใจส่วนบน

ด้าน สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า องค์อนามัยโลก (WHO) ระบุว่าขณะนี้ผลวิจัยเบื้องต้นบ่งชี้ว่าโอมิครอนก่อให้เกิดอาการรุนแรงน้อยกว่า และผู้ติดเชื้อมีความเสี่ยงที่จะต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยลง แต่การแพร่กระจายได้ง่ายจะทำให้ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกจึงพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งได้สร้างแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุขเป็นอย่างมากได้เช่นกัน 

CR กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ศบค., bangkokbiznews

ข่าวเด่น

เอส แอนด์ พี ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขจัดงาน “S&P SWEET HAPPINESS 2025”

เอส แอนด์ พี ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขจัดงาน “S&P SWEET HAPPINESS 2025”

"เบ๊น อาปาเช่" ซัดชาวเน็ตแซะ "มิกซ์" ลูกชายหม่ำ ดังเพราะบารมีพ่อ

"เบ๊น อาปาเช่" ซัดชาวเน็ตแซะ "มิกซ์" ลูกชายหม่ำ ดังเพราะบารมีพ่อ

"ทนายธรรมราช" เผยคำใบ้ "ทนายคนใหม่" ของทนายตั้ม

"ทนายธรรมราช" เผยคำใบ้ "ทนายคนใหม่" ของทนายตั้ม

ศาลไม่ให้ประกันตัว ภรรยา และ ลูกสาวหมอบุญ นำตัวกลับเข้าเรือนจำตามเดิม

ศาลไม่ให้ประกันตัว ภรรยา และ ลูกสาวหมอบุญ นำตัวกลับเข้าเรือนจำตามเดิม

แม่น้ำหนึ่งให้เลขเด็ดมาแรง งวดนี้ 1/12/67 คอหวยห้ามพลาด

แม่น้ำหนึ่งให้เลขเด็ดมาแรง งวดนี้ 1/12/67 คอหวยห้ามพลาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง