สังคม

heading-สังคม

ศูนย์จีโนมฯ รพ.รามาธิบดี เผย ต้นกำเนิดของ "โอมิครอน"

09 ม.ค. 2565 | 11:13 น.
ศูนย์จีโนมฯ รพ.รามาธิบดี เผย ต้นกำเนิดของ "โอมิครอน"

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เผย ต้นกำเนิดของ "โอมิครอน" ที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

เฟซบุ๊ก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เผยว่า ต้นกำเนิดของ “โอมิครอน” เราจำเป็นต้องรู้ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ (root cause)

การที่จะหาทางป้องกันมิให้ "ไวรัสโคโรนา 2019" เกิดการกลายพันธุ์จนระบาดติดต่อกันทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ซ้ำแล้วซ้ำอีกมากว่า 3 ปี เช่น กรณีประเทศไทยตั้งแต่ อู่ฮั่น A.6 (คลัสเตอร์ สนามมวย) B.1.36.16 (คลัสเตอร์ ตลาด-โรงงาน ปทุมธานี สมุทรสาคร) อัลฟา (คลัสเตอร์ทองหล่อ) เบตา แกมมา เดลตา (คลัสเตอร์แคมป์คนงาน) โอมิครอน และอาจมีสายพันธุ์ใหม่ที่จะอุบัติตามออกมาอีกในอนาคต การระดมฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้นทั่วโลกเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ตัววัคซีนเองประสิทธิภาพก็ลดลงตามลำดับเพราะสร้างจากไวรัสต้นแบบดั้งเดิม เราจึงจำเป็นต้องสืบค้นให้ได้ว่า “โอมิครอน” อันเป็นสาเหตุแห่งปัญหา (root cause) เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพื่อหาทางตัดไฟแต่ต้นลมอันเป็นการแก้ปัญหาที่ต้น "เหตุ" เพื่อมิให้ไวรัสสามารถกลายพันธุ์ลักษณะเดียวกับโอมิครอนเกิดขึ้นมาอีก

ศูนย์จีโนมฯ รพ.รามาธิบดี เผย ต้นกำเนิดของ โอมิครอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โอมิครอนปรากฏตัวครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมพบว่ามีการกลายกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม “อู่ฮั่น” กว่า 70 ตำแหน่ง ในขณะที่เดลตากลายพันธุ์ต่างจาก “อู่ฮั่น” ได้เพียง 60 ตำแหน่ง โดยส่วนของหนาม (spike) ของโอมิครอนกลายพันธุ์ถึง 35 ตำแหน่ง ทำให้สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อตามธรรมชาติและจากวัคซีน จนก่อให้เกิดการระบาดไปทั่วโลกในขณะนี้

นักวิจัยบางกลุ่มเสนอทฤษฎีว่าโอมิครอนอาจหลบไปกลายพันธุ์อย่างรวดเร็วในกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่ทฤษฎีนี้ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับเพราะเป็นเรื่องที่น่าแปลกที่โอมิครอนสามารถหลบเรด้า โดยไม่เคยมีนักวิจัยทีมใดในโลกตรวจพบและถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอนได้มาก่อนหน้านี้และรหัสพันธุกรรมของโอมิครอนเองก็ไปคล้ายกับกับไวรัสดั้งเดิม มากกว่าบรรดาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดการระบาดในคนมาอย่างต่อเนื่องเช่น อัลฟา เดลตา

เร็วๆนี้ทีมนักวิจัยจากจีนได้ใช้ข้อมูลจากรหัสพันธุ์กรรมมาวิเคราะห์ทบทวนจนได้ข้อสรุปว่า “โอมิครอน” อาจเกิดจากการ "แตกเหล่า” ออกจากไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ B.1.1 ที่ระบาดในมนุษย์ราวกลางปี 2563 โดยพบว่า “โอมิครอน” มีรหัสพันธุกรรมใกล้เคียงกับ B.1.1 มากกว่าและแตกต่างไปจาก อัลฟา เบตา แกมมา เดลต้า มิว และ แลมป์ดา

ศูนย์จีโนมฯ รพ.รามาธิบดี เผย ต้นกำเนิดของ โอมิครอน

 

อัตราการกลายพันธุ์ในส่วนโปรตีนหนามของไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดในมนุษย์จะเกิดขึ้นประมาณ 0.45 ตำแหน่งต่อเดือน ในขณะที่โอมิครอนมีการกลายพันธุ์ไปถึง 27 ตำแหน่งในช่วง 18 เดือน หรือ ประมาณ 1.5 ตำแหน่งต่อเดือน ซึ่งเร็วกว่าอัตราเฉลี่ยของไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ที่ระบาดในมนุษย์ถึง 3.3 เท่า ดังนั้นจึงไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ "โอมิครอน" จะสามารถกลายพันธุ์รวดเร็วขนาดนี้หากยังติดต่อแพร่เพิ่มจำนวนในมนุษย์ จึงมีการตั้งสมมุติฐานว่าโอมิครอนอาจกระโดดหลบเข้าสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หนู เพราะพบว่า "ส่วนหนาม" ของโอมิครอนสามารถจับกับตำแหน่งจำเพาะบนผิวเซลล์ของหนู หรือ "mouse ACE2 receptor" ได้เป็นอย่างดี และการเข้าไปเพิ่มจำนวนในเซลล์หนูอาจทำให้โอมิครอนสามารถกลายพันธุ์สะสมได้รวดเร็วกว่าในเซลล์มนุษย์ เนื่องจากไม่มีภูมิคุ้มกันทั้งจากธรรมชาติและจากวัคซีนมาคอยยับยั้งเหมือนในมนุษย์ จากนั้นกระโดดกลับเข้าสู่มนุษย์อีกในเดือนพฤศจิกายน 2564 แสดงให้เห็นว่าการระบาดของโอมิครอนมีการวิวัฒนาการแบบข้ามสายสกุล (interspecies) นอกจากนี้ยังทำให้โอมิครอนมีพฤติกรรมที่แปลกแตกต่างไปจากไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดในมนุษย์ คือมีการติดเชื้อเพิ่มจำนวนในเชลล์ของระบบทางเดินหายใจส่วนบนของมนุษย์ได้ดี โดยไม่เข้าไปติดเชื้อและทำลายเชลล์ปอดจนเกิดการอักเสบอันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต เหมือนกับที่สายพันธุ์ เดลตา อัลฟา เบตา แกมมา ประพฤติ ปฏิบัติอยู่

ดังนั้นในอนาคตหากมีนักวิจัยอีกหลายกลุ่มสามารถยืนยันสมมุติฐานของทีมวิจัยจีนกลุ่มนี้ว่าถูกต้องไม่คลาดเคลื่อน การควบคุมโรคโควิด-19 อาจต้องเปลี่ยนไป กล่าวคือนอกเหนือไปจากการเร่งฉีดวัคซีนในมนุษย์แล้ว ยังต้องติดตามการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในหนูหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เช่น ค้างคาว ตัวนิ่ม หมา แมว ฯลฯ อย่างใกล้ชิดเพิ่มขึ้นอีก เพื่อป้องกันการติดเชื้อข้ามสายสกุล (interspecies) หรือ "Zoonoses"

ศูนย์จีโนมฯ รพ.รามาธิบดี เผย ต้นกำเนิดของ โอมิครอน

ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของ ZOONOSES ว่า หมายถึง Those diseases and infection which are naturally transmitted between vertebrate animals and man หรือโรคทั้งหลาย และการติดเชื้อที่มีการติดต่อตามธรรมชาติระหว่างสัตว์มีกระดูกสันหลัง และคน การติดต่ออาจติดต่อจากสัตว์มายังคน หรือจากคนไปยังสัตว์ก็ได้ แต่การติดต่อนั้นต้องเป็นไปโดยธรรมชาติ

ในอนาคตหากไวรัสโคโรนา 2019 ถูกระบุว่าเป็น ZOONOSES จะเป็นประโยชน์ในด้านที่เน้นให้บุคคลากรสาธารณสุขฝ่ายต่างๆ ซึ่งจะเป็นแพทย์ หรือสัตวแพทย์ก็ตามจะได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบ ในการร่วมมือหรือประสานงานการควบคุม หรือกำจัดโรค ตลอดจนค้นคว้าวิจัยหาเทคโนโลยี่ที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้ให้มีประสิทธิผลในการควบคุมโรคแต่ละท้องที่

 

ขอบคุณ FB : Center for Medical Genomics

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง