สังคม

heading-สังคม

เปิดข้อกฎหมาย "ไม่รับปริญญา" ไม่รับเข้าทำงานได้หรือไม่!?

17 ม.ค. 2565 | 10:29 น.
เปิดข้อกฎหมาย "ไม่รับปริญญา" ไม่รับเข้าทำงานได้หรือไม่!?

จากที่มีกระแสดัง ไม่รับปริญญา บริษัทบางที่ก็จะไม่รับเข้าทำงาน ล่าสุดเพจกฎหมายแรงงาน ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลในประเด็นนี้

จากกรณีที่มีกระแสข่าวการไม่รับปริญญา จนมีแพทย์หญิงท่านหนึ่ง ออกมาเตือนสติให้คิดให้ดีก่อน  เนื่องจากทางบริษัทจะขอดูรูปรับปริญญาก่อนที่จะรับเข้าทำงาน เพื่อตัดการสร้างปัญหาในองค์กร 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ล่าสุดทางเพจ กฎหมายแรงงาน ก็ได้เผยถึงประเด็นนี้ว่า จากการที่แพทย์หญิงท่านหนึ่งออกมาโพสว่า "ไม่เข้ารับปริญญา ระวังเขาจะไม่รับเข้าทำงาน" ส่งผลให้เกิด #ไม่รับปริญญา

เปิดข้อกฎหมาย ไม่รับปริญญา ไม่รับเข้าทำงานได้หรือไม่

และยังได้กล่าวไปถึงการดูโทรศัพท์ ซึ่งก็ถือเป็นการล่วงล้ำเข้าไปทำลายความเป็นส่วนตัวโดยเอาเงื่อนไขการรับสมัครงาน

"เขา" ในที่นี้น่าจะรวมทั้งงานภาคเอกชน งานราชการ และรัฐวิสาหกิจ

ซึ่งการไม่เข้ารับปริญญาอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ไม่มีเงิน เพราะการรับปริญญามีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร หรือหลายอาจเรียนเพื่อต้องการความรู้แต่ก็ไม่ได้สนใจเข้ารับปริญญา หรือโควิด 19 ระบาด

โดยปกติมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาจะเปิดให้ลงทะเบียนว่าใครจะเข้ารับปริญญาบ้าง และใครจะไม่เข้ารับปริญญา ซึ่งก็เป็นการให้สิทธิหรือเสรีภาพที่จะเข้ารับหรือไม่

ส่วนจะรับปริญญากับใครก็สุดแล้วแต่ อย่างต่างประเทศก็อาจรับกับอธิการบดี ในไทยหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐก็อาจรับกับราชวงศ์ มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ก็รับกับอธิการบดี หรือผู้ทรงคุณวุฒิ

 

การวางกติกาว่าหากใครไม่เข้ารับปริญญาจะไม่รับเข้าทำงานนั้นถือว่าผิดธรรมชาติการรับคนเข้าทำงานที่จะต้องพิจารณาจากความรู้ความสามารถ หรือทัศนคติ และการไม่เข้ารับปริญญาก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีทัศนคติที่ไม่ดีเสมอไป

อย่างไรก็ตาม แม้มีการกำหนดกติกาการรับสมัครงานเอาไว้แต่เมื่อตราบใดที่ยังไม่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ก็ไม่อาจนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานเข้าไปใช้บังคับได้

แต่เมื่อเปิดรัฐธรรมนูญมาดูเราก็จะพบกับหลักการห้ามเลือกปฎิบัติงถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นในทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลักการเหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ

เปิดข้อกฎหมาย ไม่รับปริญญา ไม่รับเข้าทำงานได้หรือไม่

การเลือกปฎิบัติและทัศนคติที่มองคนเห็นต่างเป็นศัตรูย่อมเป็นอันตรายต่อความก้าวหน้าของสังคม

จริง ๆ แล้วตราบาปที่ถูกบันทึกไว้จากการเลือกปฎิบัติในสังคมไทย มีหลายกรณี ดังนี้

๑) การเลือกปฎิบัติเพราะความแตกต่างในเรื่องเพศ

เกิดกรณีบริษัทได้กำหนดให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุ ๕๕ ลูกจ้างชายเกษียณ ๖๐ ปี ซึ่งเป็นการเลือกปฎิบัติกรณีเกษียณเพราะเหตุความแต่งต่างในเรื่องเพศ ส่งผลให้การกำหนดอายุการเกษียณของเพศหญิงเป็นโมฆะ (คำพิพากษาที่ ๒๑๒๗/๒๕๕๕)

๒) การเลือกปฎิบัติเพราะความพิการทางร่างกาย

เคสนี้ น่าตกใจมากเพราะเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้บังคับใช้กฎหมายเอง เรียกว่า “ความพิการของกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมาย” โดยเป็นกรณีการเลือกปฎิบัติต่อผู้พิการในการสอบเป็นผู้ช่วยอัยการ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๔๒/๒๕๔๗) และการตัดสิทธิทนายโปลิโอในการเข้าสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา (คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๖/๒๕๔๕)

๓) การเลือกปฎิบัติเพราะผลการเรียน

เป็นกรณีที่เกิดกับการเลือกรับราชการ โดยรับเฉพาะเกียรตินิยม (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๕๘/๒๕๕๐)

และน่าตกใจที่แนวคิดการเลือกปฎิบัติอันเกิดจากการไม่เข้ารับปริญญา ขอเถอะจงเลือกจากความสามารถและคุณค่าในตัวเขา

 

ขอบคุณ FB : กฎหมายแรงงาน

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เผยอาการล่าสุด "นักร้องดัง" หลังผ่าตัดพักฟื้น ICU ต้องระวังสมอง

เผยอาการล่าสุด "นักร้องดัง" หลังผ่าตัดพักฟื้น ICU ต้องระวังสมอง

น้ำมัน 3 ประเภท ที่เสี่ยงสารก่อมะเร็ง อย่าเสียดายทิ้งให้หมด

น้ำมัน 3 ประเภท ที่เสี่ยงสารก่อมะเร็ง อย่าเสียดายทิ้งให้หมด

ราคาน้ำมันพรุ่งนี้ 21 พฤษภาคม 68 อัปเดตราคาล่าสุด บางจาก ปตท.

ราคาน้ำมันพรุ่งนี้ 21 พฤษภาคม 68 อัปเดตราคาล่าสุด บางจาก ปตท.

ศาลสั่งจำคุก "เสก โลโซ" ส่งตัวเข้าเรือนจำทันที ไม่รอลงอาญา

ศาลสั่งจำคุก "เสก โลโซ" ส่งตัวเข้าเรือนจำทันที ไม่รอลงอาญา

เสียชีวิตหมู่ 40 ศพ หลังกินขนม เห็นก่อเหตุแล้วหลายคนเอาใจช่วย

เสียชีวิตหมู่ 40 ศพ หลังกินขนม เห็นก่อเหตุแล้วหลายคนเอาใจช่วย