สังคม

heading

กรมการแพทย์ เผยโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด

กรมการแพทย์ เผยโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง ชี้โรคตุ่มน้ำพองใสหลังการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 อาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดร่วมกันหรือเป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากวัคซีนต้านโควิด -19 ได้ ซึ่งจะพบได้ไม่มาก

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวเผยแพร่ใน Social เรื่อง การเกิดโรคตุ่มน้ำพองใสหลังได้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 นั้น ขอเรียนว่า “โรคตุ่มน้ำพองใส” เป็นกลุ่มโรคผิวหนังที่พบไม่บ่อย แบ่งออกเป็น 2 โรค คือ โรคเพมฟิกัส มีอุบัติการณ์ 0.5 - 3.2 รายต่อประชากรแสนคน และโรคเพมฟิกอยด์ อุบัติการณ์ 2 - 22 รายต่อประชากรล้านคน ทั้งสองโรคมีอาการคล้ายคลึงกันคือมีตุ่มน้ำพองเกิดขึ้นที่ผิวหนังและเยื่อบุ เมื่อตุ่มน้ำพองแตกจะกลายเป็นแผลถลอกตามร่างกาย อาการของโรคจะเป็นเรื้อรัง มีช่วงที่โรคกำเริบและโรคสงบได้ ทั้งนี้ การเกิดโรคตุ่มน้ำพองใสมีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากผลข้างเคียงหลังได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ซึ่งจะพบได้น้อย

กรมการแพทย์ เผยโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ หลังฉีดวัคซีนโควิด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading

ในต่างประเทศเคยมีรายงานข้อมูลอาการข้างเคียงทางผิวหนัง ในช่วงเดือนธันวาคม 2563 ถึง เดือนเมษายน 2564 หลังได้รับวัคซีนโควิด 19 พบว่าการเกิดตุ่มน้ำพองใสหลังจากฉีดวัคซีนโควิด -19 ชนิด mRNA มี 12 ราย โดย 7 ราย หายในระยะเวลาเฉลี่ย 3 สัปดาห์ และอีก 5 ราย มีการดำเนินโรคต่อเนื่องต้องเข้ารับการรักษา นอกจากนี้ยังมีรายงานผู้ป่วยเป็นโรคตุ่มน้ำพองใสหลังฉีดวัคซีนชนิดไวรัสเว็กเตอร์ด้วยเช่นกัน ปัจจุบันนี้ยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์เพียงพอที่จะสามารถระบุได้ว่า การเกิดโรคตุ่มน้ำพองใสหลังฉีดวัคซีน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดร่วมกันหรือเป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากวัคซีน

กรมการแพทย์ เผยโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ หลังฉีดวัคซีนโควิด

โดยอาจเป็นไปได้ว่าการออกฤทธิ์ของวัคซีนที่กระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานต่อไวรัส เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์สำคัญในการเกิดโรคผิวหนังหลายชนิด หรือโปรตีนบางอย่างที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีนอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ภูมิตัวเองโดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมในการเกิดโรคอยู่ก่อนแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 นั้นมีผลดีมากกว่าผลเสีย

 

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า โรคนี้วินิจฉัยจากประวัติและอาการทางผิวหนัง ร่วมกับการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ซึ่งมีลักษณะเฉพาะโรค คือ การพบการแยกตัวออกจากกันของชั้นผิวหนัง ยาที่ใช้รักษาหลักคือ ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคมากหรือมีผื่นในบริเวณกว้างก็จำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันชนิดอื่น ๆ เช่น ยา cyclophosphamide หรือยา azathioprine ร่วมด้วย ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าในการรักษาด้วยยาฉีดกลุ่มชีวะโมเลกุลซึ่งควบคุมโรคได้ดีและมีผลให้โรคสงบได้นาน

กรมการแพทย์ เผยโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ หลังฉีดวัคซีนโควิด

 

ข่าวเด่น

ดาราสาวเจอมรสุมหนัก เพิ่งหย่าผัว ล่าสุดตรวจพบมะเร็ง ทั้งที่ดูแลสุขภาพ

ดาราสาวเจอมรสุมหนัก เพิ่งหย่าผัว ล่าสุดตรวจพบมะเร็ง ทั้งที่ดูแลสุขภาพ

สุดสลด ปลัดหญิงเสียชีวิตคาบ้านพัก พบรอยมีด 11 แผล

สุดสลด ปลัดหญิงเสียชีวิตคาบ้านพัก พบรอยมีด 11 แผล

"วัน อยู่บำรุง" ตอบชัด หลังโดนถาม สอบตกแล้วยังมาช่วยชาวบ้านทำไม

"วัน อยู่บำรุง" ตอบชัด หลังโดนถาม สอบตกแล้วยังมาช่วยชาวบ้านทำไม

อัปเดตล่าสุด "พายุไต้ฝุ่นหยินซิ่ง" ฉบับที่ 7 จ่อขึ้นฝั่งจีน - เวียดนาม

อัปเดตล่าสุด "พายุไต้ฝุ่นหยินซิ่ง" ฉบับที่ 7 จ่อขึ้นฝั่งจีน - เวียดนาม

"ทนายเดชา" เผย "ทนายตั้ม" แชทบอกทีมอเวนเจอร์ ไม่ต้องห่วงผมรอดแน่

"ทนายเดชา" เผย "ทนายตั้ม" แชทบอกทีมอเวนเจอร์ ไม่ต้องห่วงผมรอดแน่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading