สู้ต่อไม่ไหว โรงเรียนวรรณวิทย์ หลังแบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว จำใจต้องปิดตัว
โรงเรียนวรรณวิทย์ ปิดตำนาน 76 ปี โรงเรียนเอกชนค่าเทอมถูกที่สุด หลังแบกรับค่าใช้จ่ายต่อไปไม่ไหวจำใจต้องปิดตัว
หลายๆคนคงยังจำกันได้ สำหรับ โรงเรียนวรรณวิทย์ โรงเรียนเล็กๆภายในซอยสุขุมวิท 8 ก่อตั้งโดยหม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ที่เรือนไม้ชั้นเดียวในซอยสุขุมวิท 4 ถนนสุขุมวิท หรือ ซอยสมาหาร โรงเรียนวรรณวิทย์ ในระยะแรกเริ่มก่อตั้งมีนักเรียนเพียง 7 คนเท่านั้น หม่อมผิว เป็นครูใหญ่เองสั่งสอนอบรมนักเรียนเองด้วย โดยมีความมุ่งมั่นที่จะให้เป็นสถานศึกษา ที่ให้ทั้งวิชาความรู้ รวมทั้งอบรมสั่งสอนศิลธรรม จรรยา ขนบประเพณี และพลศึกษาไปด้วยในระยะแรกเริ่มก่อตั้งมีนักเรียนเพียง 7 คน
โดยหม่อมผิว เป็นครูใหญ่และทำการสอนด้วยตนเอง โดยไม่เก็บเงินบำรุงการศึกษาในการรับเข้าเรียนและอนุญาตให้ค้างค่าเล่าเรียนโรงเรียนได้ โรงเรียนวรรณวิทย์ขยายกิจการขึ้นเรื่อย ๆ มีนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี และได้เพิ่มชั้นเรียนขึ้นจนถึงชั้นมัธยมสามัญตอนกลาง (ม.3 ในปัจจุบัน)ใน พ.ศ. 2496
ต่อมาหม่อมผิว มีอายุมากขึ้น จึงให้ธิดาคนเล็กคือ หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์ เป็นผู้จัดการ และครูใหญ่แทน โดยเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2497 และในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2497 นี้กระทรวงศึกษาธิการได้รับรองวิทยฐานะโรงเรียนวรรณวิทย์เทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล และในปีนี้โรงเรียนได้ซื้อที่ดินด้านหน้า ซอยสุขุมวิท 8 (ซอย ปรีดา) จึงเปลี่ยนทางเข้าออกและเลขที่มาเป็นด้านซอยสุขุมวิท 8 ส่วนประตูทางเข้าเดิมด้านซอยสมาหารเปลี่ยนเป็นประตูหลังและได้ขยายอาคารเรียนเพิ่มขึ้นอีก จากอาคารเรือนไม้ชั้นเดียวมาเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น รูปตัวแอล
พ.ศ. 2505 ได้ก่อสร้างอาคาร 3 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นโรงอาหาร ส่วนชั้นที่ 2 และ 3 ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3
พ.ศ. 2508 ได้สร้างอาคารใต้ถุนสูงขึ้นอีก 1 หลังด้านหน้าโรงเรียน ชั้นล่างเปิดโล่งตลอดเป็นลานอเนกประสงค์ ชั้นบนเป็นห้องเรียน
โรงเรียนมีพื้นที่ขนาด 3 ไร่ อาคารเรียนเป็นอาคารไม้สองชั้น มีนักเรียนประมาณ 500 คน ทางโรงเรียนคิดค่าเทอมเพียงเทอมละ 1,600 บาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าถูกมาก เนื่องจากนักเรียนส่วนมากเป็นบุตรหลานของผู้ที่มีรายได้น้อยในละแวกนี้ แม้จะมีผู้ขอซื้อที่ดินไปสร้างเป็นโรงแรมและคอนโดมิเนียมโดยให้ราคาสูงถึงพันล้านบาท แต่ทางหม่อมราชวงศ์รุจีสมรซึ่งเป็นผู้บริหารยืนยันที่จะไม่ขาย ด้วยต้องการจะให้เป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ต่อไป
หลายปีต่อมาด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้ โรงเรียนวรรณวิทย์ อยู่ในสภาพทรุดโทรม เนื่องจากมีสภาวะขาดทุนมาหลายปีอย่างไม่ต้องสงสัยเลยด้วยค่าเทอมอันน้อยนิดที่โรงเรียนเรียกเก็บเทียบกับภาระต้นทุนในปัจจุบัน มาในปี 2565 โรงเรียนวรรณวิทย์ ยึดมาจนสุดความสามารถและได้ปิดตัวลงอย่างถาวรหลังจากพยายามพยุงตัวเองมาอย่างยาวนานให้เด็กๆที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาได้เล่าเรียนเพื่อสร้างอานาตคตให้แก่เด็กๆและขอบคุณคุณครูทุกคนที่เสียสละตัวเองเพื่อสอนหนังสือจนถึงวันสุดท้ายของโรงเรียนวรรณวิทย์ เหลือไว้เพียง 76 ปี แห่งการสอนกับตำนานโรงเรียนเอกชนค่าเทอมถูกที่สุดในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565