สังคม

heading-สังคม

ดีเดย์ 1 ก.พ. สิทธิบัตรทอง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เลือกวิธีฟอกไตเอง ฟรี

31 ม.ค. 2565 | 11:24 น.
ดีเดย์ 1 ก.พ. สิทธิบัตรทอง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เลือกวิธีฟอกไตเอง ฟรี

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เผย สิทธิบัตรทอง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เลือกวิธีฟอกไตเอง เริ่ม 1 ก.พ. 65 นี้

สปสช. ย้ำ 1 ก.พ. 65 คิกออฟนโยบายเพิ่มทางเลือกผู้ป่วยไตสิทธิบัตรทองฟอกเลือดฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ผู้ป่วยเดิมที่อยากเปลี่ยนจากล้างไตทางหน้าท้องมาเป็นการฟอกเลือด หรือผู้ป่วยรายใหม่ที่ต้องการใช้วิธีฟอกเลือด ต้องตัดสินใจร่วมกับแพทย์โดยพิจารณาถึงข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และปัจจัยอื่นๆอย่างรอบด้านเสียก่อน 

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า เนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมสูงอายุ ซึ่งต้องยอมรับว่าเมื่อสูงอายุขึ้น ไตย่อมเสื่อมสภาพเป็นธรรมดา ประกอบกับจำนวนผู้ป่วยโรคไตมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือความดันโลหิตไม่ดีก็มีโอกาสเป็นโรคไตได้เช่นกัน โดยปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคไตที่ต้องบำบัดทดแทนไตมีประมาณเกือบ 200,000 คน และยังมีคนไข้อีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นโรคไตแต่ยังไม่ถึงขั้นบำบัดทดแทนไต กลุ่มนี้ก็ประมาณการว่ามีจำนวนกว่า 1 ล้านราย ขณะที่ผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่ต้องบำบัดทดแทนไตมีประมาณ 60,000 รายและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

ดีเดย์ 1 ก.พ. สิทธิบัตรทอง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เลือกวิธีฟอกไตเอง ฟรี

นพ.จเด็จ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้วิธีการบำบัดทดแทนไตมี 2 วิธีหลักๆ คือ

1.ล้างไตทางหน้าท้อง โดยวางท่อบริเวณหน้าท้องแล้วเทน้ำยาล้างไตผ่านท่อเพื่อล้างของเสียออกจากร่างกาย วิธีนี้ต้องล้างทุกวัน มีข้อดีคือสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่จำเป็นต้องมาที่โรงพยาบาลหรือหน่วยฟอกไต

2.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม วิธีนี้ต้องไปทำที่โรงพยาบาลสัปดาห์ละ 2-3 วัน ใช้เวลาครั้งละ 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นพ.จเด็จ กล่าวว่า ในจำนวนผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่ต้องบำบัดทดแทนไต จะมีคนไข้กลุ่มหนึ่งที่เหมาะกับวิธีล้างไตทางหน้าท้อง แต่ด้วยปัจจัยบางอย่างทำให้คนไข้กลุ่มนี้ปฏิเสธการล้างไตทางหน้าท้องแล้วเลือกใช้วิธีฟอกเลือดแทน ซึ่งตามหลักเกณฑ์เดิมของ สปสช. ผู้ป่วยจะต้องจ่ายเงินเองครั้งละ 1,500 บาท ซึ่งใน 1 สัปดาห์จะต้องฟอก 2-3 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายประมาณ 3,000 บาท/สัปดาห์ หรือ เดือนละ 12,000 บาท ถือเป็นจำนวนเงินที่สูงโดยเฉพาะกับผู้ที่รายได้น้อย ดังนั้นแทนที่จะให้คนไข้จ่ายเงินเอง มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อนุทิน ชาญวีรกูล จึงมีนโยบายเพิ่มทางเลือกแก่ผู้ป่วยโรคไตให้สามารถเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตได้ หากประสงค์จะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม สปสช. จะเข้าไปดูแลเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่ค่าฟอกเลือด ค่าเจาะเตรียมเส้นเลือด ค่ายากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง โดยที่ประชาชนไม่ต้องจ่ายเงินเองอีกต่อไป 

ดีเดย์ 1 ก.พ. สิทธิบัตรทอง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เลือกวิธีฟอกไตเอง ฟรี

ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2565 ในส่วนคนไข้เดิมที่ปฏิเสธการล้างไตทางหน้าท้องแล้วจ่ายเงินฟอกเลือดเองก็ไม่ต้องจ่ายอีกต่อไป คนไข้ใหม่ที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าต้องทำการบำบัดทดแทนไตและเลือกวิธีฟอกเลือดก็ไม่ต้องจ่ายเช่นกัน รวมทั้งส่วนผู้ที่ใช้วิธีล้างไตทางหน้าท้องแต่อยากเปลี่ยนมาใช้วิธีฟอกเลือดก็สามารถเปลี่ยนได้เช่นกัน

 

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าเป็นผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องที่อยากเปลี่ยนมาใช้วิธีฟอกเลือด หรือผู้ป่วยรายใหม่ที่ต้องการฟอกเลือด จะต้องทำการปรึกษาและตัดสินใจร่วมกับแพทย์ผู้รักษา ทั้งนี้เพราะทั้ง 2 วิธีมีข้อดีข้อเสียต่างกัน แพทย์จะเป็นผู้ให้คำชี้แนะโดยพิจารณาจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และปัจจัยเกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำการตัดสินใจได้อย่างรอบด้าน โดยการตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะอยู่ที่ตัวผู้ป่วย 

"การที่ผู้ป่วยจะเลือกวิธีไหน แพทย์ต้องคุยกับคนไข้ แนะนำข้อดีของเสียของทั้ง 2 วิธีนี้ และการตัดสินใจต้องเป็นการตัดสินใจร่วมระหว่างแพทย์และผู้ป่วย โดยพิจารณาความเหมาะสมต่างๆ เช่น โรงพยาบาลในพื้นที่มีหน่วยไตเทียมหรือไม่ เพราะหน่วยไตเทียมส่วนมากกระจุกตัวในเมืองใหญ่ ขณะที่ตามชนบทห่างไกลหรือโรงพยาบาลอำเภอบางแห่งอาจไม่มีหน่วยไตเทียม หรือถ้ามีหน่วยไตเทียมในพื้นที่แล้วคิวฟอกไตเยอะหรือไม่ ระยะทางระหว่างบ้านผู้ป่วยและหน่วยฟอกไตไกลเท่าใด คนไข้สะดวกเดินทางไปฟอกเลือดหรือไม่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงหรือไม่ เป็นต้น" นพ.จเด็จ กล่าว 

นพ.จเด็จ กล่าวย้ำทิ้งท้ายว่า ผู้ป่วยจะเลือกใช้การบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีใด ต้องทำการปรึกษากับแพทย์ก่อนเพราะพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ และหากต้องการทราบว่าในพื้นที่มีหน่วยไตเทียมหรือไม่ หรือต้องการไปรับการฟอกเลือดที่หน่วยไตเทียมแต่ไม่แน่ใจว่าเป็นหน่วยที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช.หรือไม่ สามารถโทรเข้าสายด่วน 1330 เพื่อตรวจสอบรายชื่อหน่วยบริการที่สามารถเข้าไปรับบริการได้

ดีเดย์ 1 ก.พ. สิทธิบัตรทอง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เลือกวิธีฟอกไตเอง ฟรี

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้คนไทยไม่เป็นโรค ที่สำคัญคือเรื่องปรับพฤติกรรมลดบริโภคเค็ม เพราะเกลือและโซเดียมเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลอย่างมากที่ทำให้ภาวะไตบกพร่อง ตามมาด้วยไตวายเรื้อรัง ดังนั้น การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ลดบริโภคเค็ม งดเหล้า-บุหรี่ ใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง จะช่วยป้องกันและชะลอความเสื่อมของไตได้

 

ขอบคุณ   สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง