เปิดสภาพต้นตอ โรงงานไส้กรอกทำเด็กกินแล้วป่วยหลายราย เจอปรับอ่วม

เผยต้นตอโรงงานไส้กรอกไม่ได้มาตรฐาน เด็กกินแล้วป่วยจำนวนมาก เห็นสภาพแล้วถึงกับร้องเสียงหลง เจ้าหน้าที่แจ้งความผิด 3 ประเด็น ปรับอ่วม
สืบเนื่องมาจากรณีที่ก่อนหน้านี้ ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก Ramathibodi Poison Center เตือนภัยเรื่องไส้กรอกที่ไม่รู้แหล่งที่มาที่ไป อีกทั้งยังพบเด็กกินแล้วป่วย ด้วยภาวะเมทฮีโมโกลบิน (Methemoglobin) จำนวน 6 ราย ใน 5 จังหวัด ซึ่งทั้ง 6 ราย มีประวัติกินไส้กรอกที่ไม่มียี่ห้อ ไม่มีเอกสารกำกับ
ทางเพจระบุว่า อาการของผู้ป่วยคือ คลื่นไว้ เวียนศีรษะ อาจหมดสติได้ เหนื่อย หายใจเร็ว เขียว ระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วต่ำ พร้อมเผยภาพตัวอย่างไส้กรอกที่เด็กกินแล้วป่วย จนนำมาสู่กระแสการแจ้งเตือนผู้ที่มีบุตรหลานผ่านโซเชียลเกี่ยวกับการนำ "ไส้กรอก" ที่ไม่รู้แหล่งที่มาที่ไป มาให้ลูกหลานกิน
ข่าวล่าสุด เจอแล้วต้นตอ โรงงานไส้กรอกกินแล้วป่วย โดยนพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ร่วมกับ อย. และกองระบาดวิทยาและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ที่มีผู้ป่วยพบว่า น่าจะมีแหล่งผลิตที่จังหวัดชลบุรี ดังนั้น อย. จึงร่วมกับ ปคบ. และ สสจ.ชลบุรี ลงพื้นที่โรงงานเป้าหมายที่ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี พบ นางสาวรักทวี ขุนแพง แสดงตนเป็นเจ้าของกิจการ
จากตรวจสอบพบว่า เป็นสถานที่ที่ไม่ได้ขออนุญาตขึ้นทะเบียนผลิตผลิตภัณฑ์ แต่ดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น หมูยอ เป็นต้น โดยวันที่เข้าไปตรวจไม่พบการผลิต แต่พบผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จแล้วอยู่ในถังแช่แข็งเพื่อรอจำหน่าย เจ้าของโรงงานรับว่า เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ไส้กรอกตามที่เป็นข่าวจริง แต่หลังเป็นข่าวก็ได้เลิกผลิตแล้ว
-ทหาร - ตำรวจ ปะทะเดือด โจรใต้ วิสามัญดับ 3 ราย
-หมิว สิริลภัส จัดหนักเคลื่อนไหวแล้ว หลังถูกโยง ดารา ม. ล้วงงูพระเอกกลางกอง
-ขอแสดงความเสียใจ สิ้น "เกด ซุปเปอร์แคะ" วงการบันเทิงต่างอาลัย
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจค้นสถานที่ผลิต พบฉลากผลิตภัณฑ์ไส้กรอก และวัตถุดิบหลายรายการ โดยฉลากดังกล่าวไม่ได้แจ้งเลขสารบบอาหาร ถือเป็นฉลากไม่ถูกต้อง ส่วนสถานที่ผลิตก็ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน GMP ได้คะแนนการประเมินเพียง 16.6% เท่านั้น มีข้อบกพร่องหลายเรื่อง
โดยจากการสอบถามเพิ่มเติมพบว่า มีการส่งผลิตภัณฑ์อาหารเหล่านี้ไปที่จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะกระจายไปยังทั่วประเทศต่อ แต่ไม่ได้มีการซัดทอดว่ามีแหล่งผลิตที่อื่นอีก ซึ่งโรงงานแห่งนี้ มีกำลังการผลิต 11 แรงม้า พนักงาน 8 คน ไม่เข้าข่ายโรงงานตามกฎหมายของกระทรวงอุตสาหกรรม และไม่เข้าข่ายการขอขึ้นทะเบียนอาหารของ อย. เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งความผิด 3 ประเด็นคือ
1. เรื่องสถานที่ผลิตไม่ผ่าน GMP ปรับ 1 หมื่นบาท
2. การใช้ฉลากไม่ถูกต้อง ไม่มีอย.ปรับ 3 หมื่นบาท และ
3. เก็บสินค้าส่งตรวจแล็บเพื่อตรวจหาสารเคมีปนเอน ทั้งไนไตรท์ เบนโซอิกแอซิด และสีผสมอาหาร หากพบว่ามีค่าเกินมาตรฐานก็จะมีความผิดเรื่องอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุก 2 ปี ปรับ 2 หมื่นบาท
อย่างไรก็ตาม นพ.วิทิต กล่าวต่อว่า ได้ให้ สสจ.แต่ละจังหวัดไปตรวจสอบทั่วประเทศก่อนหน้านี้แล้ว ก็พบอีกหลายแห่ง และดำเนินการสืบหาแหล่งผลิต สำหรับประชาชนการสังเกตรูปลักษณ์อาจจะเห็นความผิดปกติยาก จึงขอให้ดูฉลากผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่มักเขียนระบุว่าเป็นไส้กรอกอะไร มีรูปพรีเซ็นเตอร์ แต่ไม่มีตรา หรือเลขสารบบ อย. จึงขอให้สังเกต เลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ อาหาร หรือพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค ขอให้ร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

แฟนเพลงเฮลั่น "แม่ผ่องศรี" ให้โชคเต็มๆ รับทรัพย์ถ้วนหน้า

"ติ๊ก ชิโร่" เผยอาการล่าสุด หลังเข้า รพ.ตรวจหัวใจ แฟนๆ ส่งกำลังใจ

รู้แล้ว "เพชร แฟนมายด์" ทำอาชีพอะไร เปิดหมดเปลือกจุดเริ่มต้นการถูกหักหลัง

สลากดิจิทัลงวดนี้ รางวัลที่ 1 แตก 162 ล้าน เศรษฐีใหม่ 24 คน
