นโยบายประชารัฐ ค่าจ้างขั้นต่ำ 425 บาท ไปถึงไหน? หาเสียงไว้ ทำได้หรือยัง!?
กลายมาเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อีกครั้ง สำหรับนโยบายที่มีแนวคิดแบบปังปุริเย่นั่นก็คือ นโยบายประชารัฐ “ประเทศไทยต้อง…รวย” ด้วยพลังประชารัฐ โดยจะดูแลแรงงานขั้นต่ำ 400-425 บาทต่อวัน จะเกินขึ้นจริงไหมหลังรัฐบาลใกล้จะสิ้นสุดวาระ
กลายมาเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อีกครั้ง สำหรับนโยบายที่มีแนวคิดแบบปังปุริเย่นั่นก็คือ นโยบายประชารัฐ “ประเทศไทยต้อง…รวย” ด้วยพลังประชารัฐ โดยได้เปิดเผยนโยบายโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ตอนหนึ่ง ระบุว่า จะดูแลแรงงานขั้นต่ำ 400-425 บาทต่อวัน ค่าจ้างอาชีวะ 18,000 บาทต่อเดือน ค่าจ้างปริญญาตรี 20,000 บาท ส่วนพนักงานเงินเดือนจะได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 10% ในทุกขั้นบันได คนที่มีรายได้ต่ำกว่า 200,000 บาทต่อปี ไม่ต้องเสียภาษี นอกจากนั้นเราจะยกเว้นภาษีเด็กจบใหม่ 5 ปี ยกเว้นภาษีค้าขายออนไลน์ 2 ปี
สำหรับเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 400-425 บาท เป็นนโยบายที่พรรคพลังประชารัฐใช้หาเสียง ก่อนที่จะออกมายอมรับว่า ไม่ใช่นโยบายเร่งด่วน เพราะการขยับขึ้น 400-425 บาทในทีเดียวจะมีผลกระทบต่อภาคเอกชนแน่นอน
ซึ่งในเวลาต่อมานั้น ทางด้านของ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ ก็ได้ออกมาเตือนแล้วเตือนอีกว่าอย่าๆๆ โดยมีการระบุว่า "การประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก 300 เป็น 425 บาท ถ้าทำอย่างนั้น ท่านเตรียมทานก๋วยเตี๋ยวชามละ 100 บาท ได้เลย เพราะจะเกิดเงินเฟ้อขั้นรุนแรงแล้วเราจะเหมือน เวเนซุเอลา อย่าทำเลยครับ"
โดยหากเราย้อนไปเมื่อวันที่ (20 ม.ค.2565) สมัชชาแรงงานแห่งชาติ นำโดย นายอมรฤทธิ์ แสงยะรักษ์ เลขาธิการสมัชชาแรงงานแห่งชาติ ยื่นหนังสือต่อ นายสุเทพ อู่อ้น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร เรื่องขอปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำทั้งประเทศ พร้อมกล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบันมีการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภค บริโภค อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ที่ต้องแบกรับค่าครองชีพที่สูงขึ้นกับค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยวันละ 320 บาท ซึ่งรัฐบาลเคยใช้เป็นนโยบายไว้เมื่อปี 62 ว่า จะต้องปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 425 บาท แต่ก็เป็นเพียงนโยบายขายฝันเท่านั้น ดังนั้น ทางสมัชชาแรงงานฯ ขอเรียกร้องให้รัฐมีนโยบายควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และเสนอให้รัฐปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกันให้แรงงานทุกคนเท่ากันทั้งประเทศอย่างเร่งด่วน
ซึ่งล่าสุดในวันนี้ (9 กุมภาพันธ์ 2565) บรรยากาศที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดโอกาสให้สมาชิกได้หารือปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน นายสุเทพ อู่อ้น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล หารือว่า ขอให้รัฐบาลดำเนินการตามที่พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ประกาศหาเสียงกับแรงงานไว้ว่า และปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 - 425 บาท โดยขณะนี้ชาวแรงงานมีความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะรัฐบาลชุดนี้ไม่สามารถควบคุมราคาสินค้าได้ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และมีรายรับที่น้อยลง
“บ้านเช่า ข้าวซื้อ รถผ่อน ลูกเรียนพ่อแม่ก็ต้องเลี้ยงดู นอกจากนี้ราคาสินค้ายังปรับขึ้น ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน หมู รัฐบาลหาเสียงนโยบายค่าแรงไว้ แต่ไม่มีการดำเนินการ ดังนั้น จึงฝากประธานสภาไปถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ว่าถ้าพรรคการเมืองหาเสียงอะไรไว้กับประชาชน โดยเฉพาะเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ ขอให้ดำเนินการเรื่องเหล่านี้ด้วย”
นอกจากนี้ยังมีกระแสกดดันจากภาคประชาชน หลังจากที่กลุ่มเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน เดินทางมายังทำเนียบรัฐบาลเพื่อทวงถามนโยบายหาเสียงของพรรคพลังประชารัฐ ที่ก่อนหน้านี้ระบุว่าจะผลักดันนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 400 – 425 บาท /และเงินเดือนผู้ที่จบปริญญาตรี 20,000 บาทต่อเดือน/ อาชีวะ 18,000 บาท ในเด็กจบใหม่ยกเว้นการจัดเก็บภาษี 5 ปี รวมไปถึงเสนอยกเว้นภาษีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ 2 ปีและลดภาษีร้อยละ 10 ในบุคคลธรรมดา โครงการมารดาประชารัฐ
พร้อมกับเรียกร้องยกเลิกภาษีน้ำมันสรรพสามิตซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันนั้นลดลงถึงลิตรละ 6 บาท ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้นำป้ายนโยบายหาเสียงของพรรคพลังประชารัฐเพื่อมาทวงถามนโยบายในเชิงสัญลักษณ์ พร้อมรถติดตั้งเครื่องขยายเสียง โดยน.ส. ธนพร วิจันทร์ ตัวแทนเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีโดยมีนาย สมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้รับเรื่องไว้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมถึงทางมวลชนขอให้นายกรัฐมนตรีแถลงถึงนโยบาย หากไม่แถลงขอให้มีอันเป็นไปและยืนยันว่าจะตามเรื่องจนว่าจะได้ข้อยุติ
โดยจากการตรวจสอบของทางไทยนิวส์ออนไลน์ถึงความคืบหน้าของพรรคพลังประชารัฐถึงการขึ้นค่าแรง ก็คงต้องย้อนไปถึงเมื่อปี 2562 โดยเป็นคำพูดของ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ในเวลานั้น ได้ออกมาเปิดเผยว่า นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 425 บาท นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า เป้าหมายที่แท้จริงคือการยกระดับฝีมือแรงงานซึ่งต้องปรับทั้งระบบแรงงานไทย จึงจะสามารถขึ้นค่าแรงให้สูงตามคุณภาพฝีมือแรงงาน ไม่เช่นนั้นจะไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีและตลาดแรงงานในปัจจุบัน
ซึ่งก็คงต้องจับตามองกันต่อไปว่า นโยบายสุดปัง ที่พลังประชารัฐนั้นหาเสียงไว้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพราะต้องว่าอีกไม่นานรัฐบาลก็จะสิ้นสุดวาระในปี 66 ก็คงต้องจับตากันต่อว่า ค่าจ้างขั้นต่ำ 425 บาท จะเกิดขึ้นจริงไหม?