ไปต่อหรือพอแค่นี้! ประยุทธ์ เจอ ธรรมนัส-ฝ่ายค้าน ถล่ม! แถมปัญหาอื่นรุมเร้า
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เจอปัญหารุมเร้าทั้งการเมืองหรือปากท้องชาวบ้านบรรยากาศการเมืองก็โดนรุมถล่มไม่ยั้งหลายปัญหาถาโถมเข้าใส่ไม่ยั้ง สั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลโดยเฉพาะ เก้าอี้นายกรัฐมนตรี
สำหรับทางด้านของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แม้จะออกมาพูดเรียกความน่าเห็นใจ ที่เจอปัญหารุมเร้าทั้งทางการเมืองหรือปากท้องชาวบ้าน ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ออกมาเปิดเผยว่า “วันนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตหลายด้านด้วยกัน และไม่เคยมีรัฐบาลไหนเจอมาก่อน” ไม่ว่าจะเป็น โควิด-19 ราคาน้ำมัน เรื่องพลังงาน การแข่งขันทางการค้า ความมั่นคงในภูมิภาค ความขัดแย้งทางทะเล
นอกจากนี้บรรยากาศการเมืองก็โดนรุมถล่มไม่ยั้งหลายปัญหาถาโถมเข้าใส่ไม่ยั้ง สั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลโดยเฉพาะ “เก้าอี้นายกรัฐมนตรี” ของ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ที่เริ่มเปิดศึกกับ “ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า” ตั้งแต่ครั้งศึกซักฟอกรัฐบาลเมื่อเดือนกันยายน 2564 ที่มีการล็อบบี้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
แต่สุดท้ายก็ทำไม่สำเร็จจนทำให้ “ร.อ.ธรรมนัส” และ “พล.อ.ประยุทธ์” ต้องกินแหนงแคลงใจมองหน้ากันไม่ติด ทำให้ “ร.อ.ธรรมนัส” พ้นจากตำแหน่ง “รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์”
และที่ย้ำแย่ไปกว่านั้นก็คือ “พลังประชารัฐ” แพ้รวด 3 เขตในศึกเลือกตั้งซ่อมทั้งชุมพร เขต 1 สงขลา เขต 6 โดยเฉพาะ เขต 9 กทม.จตุจักร-หลักสี่ ซึ่งเป็นที่พื้นเดิมของ “นายสิระ เจนจาคะ” ที่การเลือกตั้งครั้งนี้ส่ง “มาดามหลี” ภรรยาเป็นตัวแทนลงสมัครแต่ผลกลับพ่ายแพ้อย่างไม่เห็นฝุ่นทำคะแนนได้เพียง 7 พันกว่าคะแนนเท่านั้น หลุดจากที่ 1 ไปเป็นที่ 4 ทำเอากูรูทางการเมืองหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเรื่องนี้อาจสะท้อนว่า ชายที่ชื่อประยุทธ์นั้น ขายไม่ได้อีกแล้วหรือไม่?
จากสถานการณีฝ่ายรัฐบาลที่ง่อนแง่น ฝ่ายค้านก็เดินเกมรุกหนัก เปิดปฏิบัติการล่มประชุมสภาฯ บีบรัฐบาลให้จนมุมเป้าหมายให้ “ยุบสภา” ซึ่งแม้การเดินเกมสภาล่มจะสร้างรอยร้าวให้ฝ่ายค้าน “เพื่อไทย-ก้าวไกล” ได้ออกมาฉะกัน แต่ที่เรียกว่าโคม่ากว่าคือฝ่ายรัฐบาลที่สั่นคลอนจนกระทั่ง “บิ๊กป้อม” ต้องออกมายกมือไหว้ลูกพรรคขอร้องขอให้สภาล่มอีก เพื่อให้รัฐบาลได้อยู่รอดครบเทอม ท่ามกลางกระแสกดดันและบรรดาลูกพรรคพลังประชารัฐที่ทยอยกันลาออก
ซึ่งต้องบอกว่างานนี้นั้น พล.อ.ประยุทธ์ โดดเดี่ยวเดียวดาย จนทางด้านของ “แรมโบ้อีสาน” เสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ที่ต้องออกทิ้งพรรคพลังประชารัฐ หันซบพรรคเปิดใหม่อย่าง “พรรครวมไทยสร้างชาติ” ประกาศชัดเจนเพื่อสนับสนุนเป็นบ้านหลังใหม่ให้พล.อ.ประยุทธ์ หากเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองถูกหักหลัง พร้อมทาบทาม “พล.อ.ประยุทธ์” ให้นั่งตำแหน่งหัวหน้าพรรคนี้ด้วย
และที่ต้องจับตามองและร้อนแรงมากที่สุดก็คงจะไม่พ้นกรณีที่ ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลยามนี้ก็ไม่ได้หวานชื่นเหมือนดังเก่าก่อน ล่าสุดเป็นกรณี “7รัฐมนตรี” แห่งค่ายภูมิใจไทยบอยคอตไม่เข้าร่วมประชุมครม.จากปัญหาความไม่ลงรอยกรณีการต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวพร้อมยื่นคำขาด4ประเด็นปัญหาที่ต้องทบทวน
-
อย่าชะล่าใจ "โอไมครอน" หลังหายแล้ว "ปอดทำงานบกพร่อง" รุนแรงถึงขั้นไหน!?
-
"เวียร์ ศุกลวัฒน์"ยอมรับแล้ว หลังโผล่ภาพหลุดคู่สาวผมสั้น ที่สนามบิน!
-
"มาดามเดียร์" เคลื่อนไหวล่าสุด ปมไม่ไว้วางใจ รมต.ภท. หลังศาลยกฟ้องคดี
จนเป็นเหตุให้ทางด้านของ น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “เดียร์ วทันยา วงษ์โอภาสี” ถึงกรณี ส.ส.พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ออกมาระบุว่าการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐมนตรีสังกัดภูมิใจไทย ที่บอยคอตไม่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ไม่ใช่หน้าที่ ส.ส. ว่า ถ้าคณะรัฐมนตรีที่เป็นตัวแทนอำนาจฝ่ายบริหาร ถูกตรวจสอบและวิจารณ์โดย ส.ส. ที่เป็นผู้แทนประชาชนไม่ได้แล้ว จะมีผู้แทนราษฎรไว้ทำไม
นอกจากนี้ น.ส.วทันยา ยังโพสต์ลิงก์ข่าว ศาลปกครองวินิจฉัย รฟม. แก้เกณฑ์ประมูล “สายสีส้ม” ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พร้อมข้อความระบุว่า “นี่คือข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากวันนั้นที่ตนได้ต่อสู้ด้วยการใช้หน้าที่และเอกสิทธิ์ของ ส.ส.ในการงดออกเสียงอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายศักดิ์สยาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่กำกับดูแลการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เปลี่ยนแปลงทีโออาร์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มไม่ชอบด้วยกฎหมาย” พร้อมติดแฮชแท็ก หนทางพิสูจน์ม้ากาลเวลาพิสูจน์คน
แม้ว่าล่าสุดนั้นทางด้านของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล จะออกมายืนยันว่า ไม่ได้ขัดแย้งที่จะให้ปรับแก้สัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว แต่กระทรวงคมนาคมมีข้อกังวลที่ขอให้ปรับปรุงชี้แจงตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทำหนังสือไป
สำหรับปฏิกิริยางัดข้อของพรรคภูมิใจไทยจะกลายเป็นระเบิดลูกใหม่ของรัฐบาลหรือไม่ นายอนุทิน ระบุว่า เวลาไม่ปกป้องผลประโยชน์ประชาชนก็ถูกว่า ถูกตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์ เวลาปกป้องก็ผิดอีก ก็จะไม่ใช่การทำงาน ตนไม่ใช่พวกลากมากไป พร้อมย้ำว่า การที่รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทยไม่ได้เข้าร่วมประชุม ครม. เพราะเราแจ้งนายกรัฐมนตรีทุกครั้งว่า ถ้าประเด็นรถไฟฟ้านี้ไม่ได้คำตอบจาก กทม. เราขอสงวนสิทธิ์ เพราะเราไม่อยากโต้เถียง เพราะคนที่ลำบากใจที่สุดคือประธานในที่ประชุม
ดังนั้น เมื่อทราบว่าจะมีวาระจรเรื่องนี้บรรจุเข้ามาทันที เพื่อเป็นการรักษาบรรยากาศการประชุม เลยถอยออกมา และก็ได้ส่งหนังสือชี้แจงไป
ทั้งนี้ ถ้ามีคำตอบ และดำเนินการตามกฎหมายขั้นตอนที่ชัดเจนแล้ว ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้ายังคงเดิมก็จะไม่ลาประชุมแล้ว เพราะถือว่าแสดงท่าทีไปแล้วว่า ถ้าไม่มีการแก้ไขตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ก็จะใช้สิทธิในการพิจารณา
ดังนั้นเกมการเมืองจากนี้เรียกได้ว่าจะต้องจับตาอย่างพลาดไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงต้นเดือนมิ.ย.65 ที่พ.ร.บ.งบประมาณจะเข้าสภา ถ้าหากไม่ผ่านรัฐบาลก็อยู่ไม่ได้ นอกจากนั้นยังมี “ศึกซักฟอก” ในเดือน ก.พ. นี้ แม้จะไม่มีการลงมติ แต่ก็เป็นอีกครั้งทางหนึ่งที่ฝ่ายค้านจะใช้พื้นที่นี้ในการประจานรัฐบาลอย่างถึงพริกถึงขิง ประกอบกับกฎหมายต่างๆ ที่รัฐบาลจำเป็นต้องพึ่งเสียงในสภาซึ่งอาจจะต้องมีการแจกกล้วยสะพัดกันอีกครั้ง