สังคม

heading

ศูนย์จีโนมฯ ตอบชัด "โอไมครอน" จะระบาดอีกนานแค่ไหน กลายพันธุ์อีกหรือไม่

ศูนย์จีโนมฯ ตอบชัด "โอไมครอน" จะระบาดอีกนานแค่ไหน กลายพันธุ์อีกหรือไม่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ตอบ 9 คำถามเกี่ยวกับโอไมครอนจะระบาดอีกนานแค่ไหน จะกลายพันธุ์เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่หรือไม่ เมื่อไหรจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

จากกรณี วันที่ 23 ก.พ. 65 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์เฟซบุ๊กตอบคำถามถึงสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยระบุว่า "คำถามที่ภาคประชาชนสอบถามศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ เกี่ยวกับ โอไมครอน BA.2 ในช่วงเวลานี้

 

ไขข้อสงสัย โอไมครอนจะระบาดอีกนานแค่ไหน เมื่อไหร่จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

 

1. โอไมครอนจะระบาดในประเทศไทยไปอีกนานเท่าไร?

จากการศึกษาธรรมชาติการระบาดของ "โอไมครอน" พบว่าการระบาดในแต่ละประเทศทั่วโลกจะมีระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน (ภาพ 1) โดยแต่ละประเทศจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อจำนวนประชากร 1 ล้านคนที่ไม่เท่ากัน


2. จะมีไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่มาแทนโอไมครอนหรือไม่?

มีความเป็นไปได้สูงที่เกิดสายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์ไปมากกว่าโอไมครอนระบาดมาแทนที่โอไมครอนในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า


3. การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเมื่อไร?

ผอ. องค์การอนามัยโลกแถลงว่าการระบาดใหญ่รุนแรงทั่วโลก (Acute Pandemic) สามารถยุติลงได้ในกลางปี 2565 หากทุกประเทศทั่วโลกทำการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในแต่ละประเทศได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading

5. มีรายงานข่าวว่าโอไมครอนมีการแพร่ติดต่อที่รวดเร็ว ท้ายที่สุดทุกคนบนโลกนี้จะต้องติดเชื้อโอไมครอน ข้อมูลนี้ถูกต้องหรือไม่ และหากข้อมูลนี้ถูกต้องเราจะต้องปฏิบัติตามมาตรการณ์ป้องกันโรคโควิด-19 ไปเพื่ออะไร?

ดร.มาเรีย แวน เคอร์คอฟ จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แถลงว่า โอไมครอนมีการแพร่ติดต่อที่รวดเร็วจริง แต่ “ไม่ได้หมายความหรือจำเป็นว่า” ทุกคนบนโลกนี้จะต้องติดเชื้อโอไมครอนในที่สุด WHO กำลังพยายามทุกวิถีทางร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการลดโอกาสการติดเชื้อให้กับประชาชนทั่วโลก วัคซีนเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในปัจจุบันแต่ไม่อาจป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วสามารถติดเชื้อโอไมครอนได้ถึงร้อยละ 55.9 (vaccine breakthrough cases) ดังนั้นเราจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันตัวเองควบคู่กันไปกับการฉีดวัคซีนกล่าวคือทุกคนป้องกันตนเองจากการสัมผัสสิ่งของหรือผู้อื่น เว้นระยะห่างจากบุคคลที่สอง สวมหน้ากากอนามัยปิดจมูกและปาก ล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงฝูงชน ทำงานจากที่บ้าน ถ้าทำได้ ตรวจหาเชื้อด้วย ATK หรือ PCR เป็นประจำสม่ำเสมอ อันเป็นวิธีที่เราสามารถรักษาตัวเองให้ปลอดภัยและป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อและแพร่ไวรัสไปให้คนอื่นได้

นอกจากนี้จากการศึกษาธรรมชาติการระบาดของ "โอไมครอน" พบว่าการระบาดในแต่ละประเทศทั่วโลกจะมีระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน ดังนั้นโอไมครอนจึงไม่ได้คงอยู่นานพอที่จะทำให้มีผู้ติดเชื้อไปทั้งประเทศ หรือทั้งโลก แต่หากพูดว่าในช่วงชีวิตเรามีโอกาสที่จะติดเชื้อไวโคโรนา 2019 สายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง ดูจะใกล้ความจริงมากกว่า

 

6. เหตุใดจึงมีความจำเป็นที่ต้องลดการแพร่ระบาดของโอไมครอน?

WHO แถลงว่าเราต้องลดการแพร่ระบาดของโอไมครอนด้วยเหตุผล 4 ประการ

- เราต้องการป้องกันไม่ให้ประชาชนติดเชื้อเพราะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโควิดรุนแรงที่ต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. หรือเสียชีวิตได้ในอัตราร้อยละ 0.9

- ผู้ติดเชื้อแล้วหายบางคนมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลที่ตามมาในระยะยาว ซึ่งเราเรียกว่าภาวะหลังโควิด (long covid) และเรายังไม่เข้าใจกลไกการเกิด “ลองโควิด” ที่จะนำไปสู่การรักษามากนัก

- การติดเชื้อของคนในชาติเป็นจำนวนมากจะเป็นภาระใหญ่ต่อระบบสาธารณสุขและระบบเศรษฐกิจของประเทศ

- ยิ่งโอไมครอนมีการแพร่ระบาดระหว่างตนสู่คนเป็นวงกว้าง ยิ่งเปิดโอกาสให้ไวรัสกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นต้องมีการกลายพันธุ์ไปมากกว่าโอไมครอน และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเพื่อสามารถแพร่ระบาดมาแทนที่โอไมครอนได้ ส่วนการก่อโรคโควิด-19 ของสายพันธุ์ใหม่นั้นจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงยังไม่อาจคาดเดาได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องร่วมด้วยช่วยกันลดการแพร่ระบาดของโอไมครอน

- เหตุใดประเทศเดนมาร์กจึงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ (ภาพ 2)

 

ไขข้อสงสัย โอไมครอนจะระบาดอีกนานแค่ไหน เมื่อไหร่จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

 

เดนมาร์กถือเป็นกรณีศึกษา ทั่วโลกจับต่อมองเพื่ออาจนำไปใช้บ้าง มีจำนวนผู้ติดเชื้อโอไมครอน BA.2 เพิ่มจำนวนมากขึ้นทั้งที่มีการฉีดวัคซีนสูงถึงร้อยละ 88 ของประชากร ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก “เดนมาร์ก" เป็นประเทศแรกในยุโรปที่ผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ทั้งหมด รวมถึงข้อบังคับการสวมหน้ากากอนามัย และการเว้นระยะห่างทางกายภาพหลังจากที่หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์กได้ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรได้มากกว่า 80%

หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์กประเมินว่า การระบาดของโควิด-19 ไม่ใช่โรคที่มีอันตรายร้ายแรงในสังคมอีกต่อไป เพราะแม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในเดนมาร์กจะเพิ่มขึ้น แต่จำนวนผู้เสียชีวิตคงที่ไม่ได้ส่งผลกระทบแต่อย่างใดต่อระบบสาธารณสุข ทั้งนี้เพราะเดนมาร์กมีอัตราการฉีดวัคซีนสูง ประชากรที่อายุ 5 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 80 ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม และอีกประมาณร้อยละ 60 ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 แล้ว


7. หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์ก "ตัดสินใจผิดพลาด"หรือไม่ที่ยกเลิกมาตรการโควิด-19 ทั้งหมด ตั้งแต่เดือน 1 ก.พ. 2565 ทำให้มีทั้งผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น?

หลังจากเดนมาร์กยกเลิกมาตรการโควิด-19 ทั้งหมด จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จาก BA.2 ก็ทะยานขึ้นและถึงจุดสูงสุด (peak) เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2565 แล้วก็เริ่มลดลงจากนั้นเป็นต้นมา (ภาพ 2)

The State Serum Institute (SSI) ของเดนมาร์กซึ่งเทียบเท่ากับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้แถลงว่าจำนวนผู้เสียชีวิตโดยรวมในเดนมาร์ก "คงที่ไม่เพิ่มขึ้น"

ในช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2564 เดนมาร์กมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในผู้สูงอายุมากกว่า 75 ปี อันมีสาเหตุจากการติดเชื้อ "เดลตา"

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 ปี 2022 อัตราการเสียชีวิตในเดนมาร์กลดลงและตอนนี้เข้าใกล้ระดับปกติทั้งที่เดนมาร์กมีการตรวจ PCR ให้ผลบวกเพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากโอไมครอนน้อยลงจริง และน้อยกว่าอันตราการเสียชีวิตจากเดลตาในอดีต


8. หากอัตราผู้เสียชีวิตเนื่องจากโอไมครอนน้อยลงจริงทำไมข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิตในเดนมาร์กที่ได้จาก "Our World in data" (จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด) ในช่วงที่เดลตาระบาด และโอไมครอนระบาดจึงใกล้เคียงกัน (ภาพ3)"

 

ไขข้อสงสัย โอไมครอนจะระบาดอีกนานแค่ไหน เมื่อไหร่จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

 

ทาง SSI ได้อธิบายว่า ข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิตในเดนมาร์กที่ได้จาก "Our World in data" นั้นเป็นข้อมูลรวมการตายสองกลุ่มเข้าด้วยกันคือ (1) ผู้เสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่นๆแต่มีผล PCR ต่อเชื้อโควิด-19 เป็นบวก (deaths with) เพราะช่วงนี้มีการระบาดของโควิด-19 อย่างกว้างขวาง และ (2) ผู้เสียชีวิตเนื่องจากโควิด-19 (deaths by COVID) (ภาพ 4) หากดูเฉพาะผู้เสียชีวิตเนื่องจากโอไมครอนจะพบว่ามีจำนวนลดลงและน้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากเดลตา (ภาพ 4)

 

ไขข้อสงสัย โอไมครอนจะระบาดอีกนานแค่ไหน เมื่อไหร่จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น


9. รู้ได้อย่างไรว่าผู้เสียชีวิตคนใด "เสียชีวิต" จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019?

หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์กมีการตรวจสอบว่าผู้ตายได้รับยาต้านไวรัส Remdesivir และ/หรือและ Dexamethasone ซึ่งเป็นการรักษามาตรฐานสำหรับ COVID-19 ในเดนมาร์ก (ภาพ 5)

 

ไขข้อสงสัย โอไมครอนจะระบาดอีกนานแค่ไหน เมื่อไหร่จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

 

ขอบคุณ Center for Medical Genomics

ข่าวเด่น

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับ 4 เช็กเส้นทาง "พายุโทราจี"

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับ 4 เช็กเส้นทาง "พายุโทราจี"

"หนิง ดาวติ๊กต็อก" เศร้า สามีจากไปกะทันหัน ครอบครัวยังทำใจไม่ได้

"หนิง ดาวติ๊กต็อก" เศร้า สามีจากไปกะทันหัน ครอบครัวยังทำใจไม่ได้

หวยลาววันนี้ 13/11/67 ผลหวยลาววันนี้ หวยลาววันนี้ออกอะไร 13 พ.ย.67

หวยลาววันนี้ 13/11/67 ผลหวยลาววันนี้ หวยลาววันนี้ออกอะไร 13 พ.ย.67

เปิดไทม์ไลน์และคุณสมบัติ ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน รอบใหม่ 68

เปิดไทม์ไลน์และคุณสมบัติ ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน รอบใหม่ 68

คลิปหลุดผู้ตัดสินฉาวพ่นพิษ ล่าสุดถูกแบนเกมทีมชาติ - เพื่อนโดนหางเลขไปด้วย

คลิปหลุดผู้ตัดสินฉาวพ่นพิษ ล่าสุดถูกแบนเกมทีมชาติ - เพื่อนโดนหางเลขไปด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading