ศบค.เคาะเเล้ว มาตรการเปิดเรียน On Site ทั้ง รร.ประจำ-ไปกลับ ปฎิบัติอย่างไร
เปิดมาตรการเปิดเรียน On site อยู่ได้กับโควิดในสถานศึกษา กรณีนักเรียนมีความเสี่ยงและติดเชื้อโควิด-19 ในสถานศึกษา ต้องปฏิบัติอย่างไร เช็คเลยมีอะไรบ้าง
จากกรณี ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. ที่ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 23 ก.พ.65 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน แถลงภายหลังการประชุมศบค. ชุดใหญ่ ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศบค. เป็นประธาน โดยกล่าวถึงสถานการณ์โควิดประเทศไทยในปัจจุบัน ยอดผู้ติดเชื้อ รวมทั้งไม่มีการปรับพื้นที่สีควมคุม-ระดับพื้นที่สถานการณ์ คงเดิมพื้นที่ควบคุม 44 จังหวัด พื้นที่เฝ้าระวังสูง 25 จังหวัด พื้นที่สีฟ้านำร่องท่องเที่ยว 8 จังหวัด พร้อมกันนี้ ศบค.ไฟเขียวเปิดเทอม มาตรการเปิดเรียน On Site
สำหรับมาตรการเปิดภาคเรียนและการป้องกันในสถานศึกษาได้มีการเตรียมมาตรการต่างๆ ออกมาหมดแล้ว ซึ่งผลการเปิดภาคเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้มีการแจ้งว่าโดยมีการเสนอตัวอย่าง 122 โรงเรียน พบว่าโรงเรียนที่มีการติดเชื้อยืนยัน 1 ราย ขึ้นไปพบว่ามีโรงเรียนที่ปิดสถานศึกษาถึง 28.7% ถ้ามีการติดเชื้อยืนยันมากกว่าหนึ่งห้องเรียนปิดไปถึง 55.7% และที่น่าสนใจโรงเรียนตัวเองไม่ได้ติดแต่สถานศึกษาใกล้เคียงติดเชื้อ
พบว่า 9% มีการปิดเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่ค่อยสอดคล้องกันเท่าไหร่ โดยอาจเป็นภาพสะท้อน ครู นักเรียน หรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้มาตรการเปิดเรียนแบบ On Siteไม่ได้เป็นไปอย่างที่ว่า ฉะนั้นจึงได้มีการเสนอขึ้นมาว่ามาตรการการเปิดเรียนแบบ On Site สำหรับโรงเรียนประจำกรณีนักเรียนครูหรือบุคลากรเป็นผู้สัมผัสเสียงต่ำเรียน On Site ตามปกติสังเกตอาการและประเมิน TST
ทั้งนี้ ศบค.ได้มีการ เปิดมาตรการเปิดเรียน on site อยู่ได้กับโควิด กรณีนักเรียนมีความเสี่ยงและติดเชื้อโควิด-19 ในสถานศึกษา ต้องปฏิบัติดังนี้
**โรงเรียนประจำ**
- กรณีนักเรียน ครู หรือ บุคลากรเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ เรียน on site ตามปกติ สังเกตอาการและประเมิน ST
- กรณีนักเรียน ครู หรือ บุคลากรเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
* จัดการเรียน การสอน ปฏิบัติงาน ทำกิจกรรม ใน Quarantine zone ตามแนวทาง sand box safety zone in school เป็นเวลา 7 วัน และให้ติดตามสังเกตอาการอีก 3 วัน
* การตรวจคัดกรองหาเชื้อ ถ้ามีอาการให้ตรวจทันที และให้ตรวจครั้งที่ 1 ในวันที่ 5-6 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อและตรวจครั้งสุดท้ายวันที่ 10 หลัง สัมผัสผู้ติดเชื้อ
* สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม และประสานหน่อยบริการสาธารณสุขตามระบบอนามัย
- กรณีนักเรียน ครู หรือ บุคลากรเป็น ผู้ติดเชื้อ
*พิจารณาร่วมกับ หน่วยบริการสาธารณสุข หรือ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด จัดทำ School isolation ตามแนวทาง sand box safety zone
* สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม เน้นการระบายอากาศ และ กำกับติดตาม มาตรการส่วนบุคคลขั้นสูงสุด
**โรงเรียนไป-กลับ**
- กรณีนักเรียน ครู หรือ บุคลากรเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ เรียน on site ตามปกติ สังเกตอาการและประเมิน ST
- กรณีนักเรียน ครู หรือ บุคลากรเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
* แยกกักตัวที่บ้าน หรือ สถานที่ตามคำแนะนำของหน่วยบริการสาธารณสุข เป็นเวลา 7 วัน และให้ติดตามสังเกตอาการอีก 3 วัน
* การตรวจคัดกรองหาเชื้อ ถ้ามีอาการให้ตรวจทันที และให้ตรวจครั้งที่ 1 ในวันที่ 5-6 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อและตรวจครั้งสุดท้ายวันที่ 10 หลัง สัมผัสผู้ติดเชื้อ
* สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม และประสานหน่อยบริการสาธารณสุขตามระบบอนามัย
- กรณีนักเรียน ครู หรือ บุคลากรเป็น ผู้ติดเชื้อ
* ปฏิบัติตามมาตรการ การรักษา ของกระทรวงสาธารณสุข
* พิจารณาจัดทำ School isolation ตามความเหมาะสม โดยคณะกรรมการโรงเรียน หน่วยงานสาธารณสุข ผู้ปกครอง ชุมชน พิจารณาร่วมกันให้ความเห็นชอบ และ ปฏิบัติกตามมาตรการ SSS
* สถานศึกษาจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม โดยเฉพาะ กลุ่มที่ไม่มีอาการ
**สถานที่สอบในการสอบ**
- สถานที่จัดสอบ
ประสานหน่วยงานบริการสาธารณสุขตามระบบอนามัยโรงเรียน ในการคัดกรอง และให้คำแนะนำด้านสาธารณสุขเพื่อความปลอดภัยขั้นสูงสุด จัดให้มีพื้นที่แยกสำหรับจัดการสอบเป็นสัดส่วน แยกกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กลุ่มผู้ติดเชื้อเน้นการระบายอากาศที่ดี จัดที่นั่งสอบ มีระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร
- ผู้เข้าสอบ
* เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรือ อาการเล็กน้อย หรือ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
* ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือก่อนและหลังการเข้าสอบ งดการพูดคุย เว้นระยะห่าง
* การเดินทางไปสนามสอบโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือ ประสานหน่วยสถานที่สอบ หน่วยบริการสาธารณสุขกรณีไม่มีรถยนต์ส่วนตัว
- ผู้คุมสอบ
* ปฏิบัติการคุมสอบตามมาตรฐานกากรป้องกันการติดเชื้อสำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข เช่น การใส่หน้ากากอนามัย ใช้เวลาในการคุมสอบในห้องสอบให้น้อยที่สุด รวมถึงการวางแผนจัดการสอบให้เหมาะสม