เปิดโปงกลอุบาย - มุกที่มิจฉาชีพใช้ปชช. หลอกลวง มาไม้นี้ชัดเลยโจรชัวร์
เปิดโปงกลอุบาย มุกที่มิจฉาชีพใช้โทร - ส่งข้อความ SMS หลอกลวง มาไม้นี้ชัดเลยโจรชัวร์ กดทิ้งได้กด แต่ถ้าอยากเอาคืนก็จัดไป
เปิดโปงกลอุบาย - มุกที่มิจฉาชีพใช้ปชช. หลอกลวง มาไม้นี้ชัดเลยโจรชัวร์ เชื่อว่าหลายคนที่กำลังอ่านข่าวนี้อยู่อาจจะเคยเจอเหตุการณ์ ใครก็ไม่รู้โทรเข้าเบอร์มือถือ พร้อมกับบอกว่าคุณได้รับรางวัลบลา บลา บลา หรือ อาจจะเป็นคุณมีพัสดุตกค้าง บลา บลา บลา ไม่ก็ปลายสายก็จะแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงเพื่อมาหลอกให้ผู้ที่อยู่ต้นสายโอนเงินให้ บอกเลยว่าถ้าโดนแบบนี้มิจฉาชีพแน่ชัดเลยจ้า
แต่ไม่ว่าผู้คนจะพยายามระวังแค่ไหน แต่แก๊งเหล่านี้ก็หามุกใหม่ๆ มาหลอกให้เหยื่อโอนเงินให้เสมอๆ ซึ่งล่าสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เปิดเผยข้อมูลจาก Whoscall แอปพลิเคชันช่วยเช็กเบอร์มิจฉาชีพ เปิดสถิติปี 2564 รวบรวม 14 อุบายโจร มุกที่มิจฉาชีพใช้โทร – ส่งข้อความ SMS หลอกลวง แอบอ้างหน่วยงานรัฐ หรือบริษัทเอกชน หลอกให้โอนเงิน - ขโมยข้อมูล
โดย Whoscall หนึ่งในแอพพลิเคชันช่องทางตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพ สามารถป้องกันการฉ้อโกง ที่พัฒนาโดย Gogolook ผู้พัฒนาแอพพลิเคชันระดับโลก เปิดเผยว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา ทั่วโลกพบการหลอกลวงผ่านการโทร และส่งข้อความ SMS รวมกว่า 460 ล้านครั้ง ด้วยกลอุบายต่างๆ นานา
ทั้งนี้ในประเทศไทยพบการใช้โทรศัพท์เพื่อหลอกลวงมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 270% จากปี 2563 และในไทยพบการส่งข้อความ SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้นถึง 57% ซึ่งทาง Whoscall เผยว่า จากสถิติที่รวบรวมจากผู้ใช้งาน Whoscall ทั่วโลก พบวิธีหลอกลวงที่นักต้มตุ๋นใช้ล่อลวงดังนี้
- หลอกลงทุนในหุ้นหรือคริปโต
- หลอกว่ามีงานให้ทำ
- หลอกว่าไมล์ตั๋วเครื่องบินหมดอายุ
- หลอกขายตั๋วชมกีฬา
- หลอกว่ายอดค่าบริการมือถือเกินกำหนด
- หลอกนัดเจอเพื่อออกเดท
- หลอกปล่อยกู้
- หลอกให้ดาวน์โหลดแอปฯ อันตราย
- หลอกว่าพัวพันในคดี เช่น ฟอกเงิน ค่าปรับจราจร
- หลอกว่าพัสดุค้างอยู่ในด่านศุลกากร
- หลอกเรื่องการใช้งานบัตรเครติดที่ไม่ได้อนุญาต
- หลอกแจ้งเตือนการโอนเงิน
- หลอกว่ามีพัสดุมาส่ง
- หลอกว่าเป็นเพื่อน/ครอบครัว ยืมเงิน ขอเงิน
ข้อมูลจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ