"หมอโอภาส" เฉลยแล้ว ติดโควิดซ้ำ 2 ครั้งใน 1 เดือน เกิดขึ้นได้อย่างไร
"นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์" อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) เปิดเผยถึงกรณีการติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำ 2 ครั้งใน 1 เดือน ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
จากกรณีที่ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) เปิดเผยกรณีการติดเชื้อโควิดซ้ำ 2 ครั้งในเวลา 1 เดือน ว่า การติดเชื้อโควิดสามารถติดเชื้อซ้ำกรณีต่างสายพันธุ์ได้
เช่น หายจากสายพันธุ์เดลตา ก็ติดสายพันธุ์โอมิครอนซ้ำได้ ส่วนกรณีสายพันธุ์โอมิครอนเหมือนกัน แต่เป็นคนละสายพันธุ์ย่อย เช่น BA.1 กับ BA.2 ยังเป็นเรื่องใหม่ ต้องติดตามรายละเอียดข้อเท็จจริงอีกครั้ง ตามหลักแล้วก็มีโอกาส แต่จะ 1 ในแสนหรือ 1 ในล้าน ต้องดูข้อมูลประกอบ รวมถึงดูระยะเวลาด้วย เนื่องจากเมื่อติดเชื้อแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อ ส่วนใหญ่จะไม่ติดซ้ำในระยะเวลาสั้นๆ ยกเว้นคนที่มีปัญหาเรื่องการสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย ขณะนี้ข้อมูลผู้ติดเชื้อซ้ำใน BA.1 และ BA.2 ระยะสั้นๆ ยังมีน้อยมาก ดังนั้น ข้อมูลไม่มากพอที่จะบอกได้ว่ามีอาการรุนแรงมากขึ้นหรือไม่อย่างไร ต้องดูจากประวัติของผู้ติดเชื้อ เพื่อเก็บข้อมูลต่อ
-"หมอธีระ" อัพเดทข้อมูล โควิด-19 พร้อมเตือนถึงนโยบายเสรีการใช้ชีวิต
-แพทย์ แนะนำวิธีทิ้ง ชุดตรวจ ATK ที่ถูกต้อง ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค
-สถาบันมะเร็งฯ ชี้แจงหลังมีข่าว มะเร็งกระเพาะอาหาร ติดต่อได้ทางน้ำลาย
“เชื้อโอมิครอนส่วนใหญ่อยู่ในทางเดินหายใจส่วนต้น เชื้อก็จะออกมาจากการ ไอ จาม พูด มากกว่าเดลตาที่ลงปอดได้เยอะกว่า จึงเป็นที่มาว่าโอมิครอนแพร่ได้เร็วและระยะฟักตัวสั้น รวมถึงหลายคนไม่มีอาการ ก็จะแพร่เชื้อได้เร็ว แต่ส่วนใหญ่อาการน้อยโดยเฉพาะคนฉีดวัคซีนแล้ว อาการก็จะเพียงระคายคอ ไม่มีไข้ แต่สำหรับคนสูงอายุก็จะรุนแรงกว่า โดยเฉพาะคนไม่ฉีดวัคซีน จึงเชิญชวนกลุ่ม 608 มารับวัคซีน” นพ.โอภาส กล่าว