ศัลยแพทย์ อธิบายทำไมร่าง แตงโม นิดา ถึงเปื้อนเลือด หลังจมน้ำนาน 2 วันแล้ว
พ.อ.นพ.ธวัชชัย กาญจนรินทร์ อดีตศัลยแพทย์ โรงพยาบาลพระมงกุฎ อธิบายทำไมร่าง แตงโม นิดา ถึงเปื้อนเลือด หลังจมน้ำนาน 2 วันแล้ว
ยังคงประเด็นร้อนที่หลายคนจับมองอย่างต่อเนื่อง จากรณีการเสียชีวิตของ "แตงโม นิดา" ที่ตกเรือสปีดโบ๊ทจมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงกลางดึกวันที่ 24 ก.พ. 65 และพบร่าง เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 65 ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังสืบสวนคดีอยู่ และมีเรื่องที่หลายคนสงสัยว่า แตงโมตกน้ำไป 2 วัน แต่ทำไมยังมีคราบเลือดติดตามร่างกาย ด้าน พ.อ.นพ.ธวัชชัย กาญจนรินทร์ ก็ได้อธิบายเรื่องนี้ผ่านทางเฟซบุ๊ก Tavatchai Kanchanarin
พ.อ.นพ.ธวัชชัย กาญจนรินทร์ เป็นอดีตศัลยแพทย์ โรงพยาบาลพระมงกุฎ ได้เคยออกมาอธิบายถึงประเด็นดังกล่าว ตั้งแต่ช่วงที่เกิดเหตุการณ์แรกๆ และได้โพสต์เรื่องแผลจากใบพัดเรือ รวมถึงกรณีตัวอย่างจากต่างประเทศในกรณีคล้ายกันว่า
ในต่างประเทศ อุบัติเหตุทางน้ำจากเรือสปีดโบ๊ทพบได้บ่อย จึงมีการศึกษาอุทกพลศาสตร์ของอุบัติเหตุที่เกิดจากเครื่องใบพัดเรือ (hydrodynamics of propeller accidents) ซึ่งที่รุนแรงมาจากใบพัดเรือ (propeller blade) เป็นส่วนใหญ่
ใบพัดเรือ มีกลีบใบพัด ซึ่งบิดเกลียว เวลาหมุนเกิดโมเมนต์และแรงหลายทิศทาง ไม่เหมือนใบเลื่อยวงกลม แผลที่เกิดจากใบพัดเรือ จึงมีลักษณะ multiple, deep, parallel
พลังงานจลน์ แปรผันตาม มวลและความเร็วยกกำลังสอง ความรุนแรงของการบาดเจ็บจากโดน propeller blade ซึ่งความเร็วของใบพัดหมุนสูงมาก จึงรุนแรงกว่าโดน SKEG ซึ่งความเร็วเท่ากับความเร็วของเรือ
มีบางคนบอกว่า แผลต้นขาข้างขวา อาจเกิดจากชนกับ SKEG ไม่ได้โดนใบพัด จากลักษณะบาดแผลฉีกขาด (laceration) อยู่ทางด้านใน (medial) ของต้นขาขวา (thigh) ด้านหน้า (anterior) ทอดยาว vertical กับความยาวร่างกาย วัตถุที่มากรีดกระทบก็ต้องเป็นแนว vertical (หัวไปเท้า หรือ เท้าไปหัว) ถ้าบอกว่าแผลอาจเกิดจาก SKEG ก็มีข้อสงสัยตามมาคือ
1. SKEG มีความคมมากขนาดไหน ถึงเกิดแผลฉีกขาด (laceration)โดยไม่ช้ำ (contusion)
2. ต้องอยู่ในท่าไหน ถึงเกิดแผลด้านในขาขวาแนวยาว
ตอนทำแผนจำลองเหตุการณ์ คนนั่งปัสสาวะ ด้านซ้ายของท้ายเรือ (เครื่องยนต์อยู่ทางขวาของคน) หันหน้าไปหัวเรือ ถ้าเสียหลักตกลงมา ถึงหล่นเอียงไปทางขวาสุดโดนเครื่องยนต์ ส่วนของร่างกายที่อาจจะโดนใบพัดได้ คือ right, lateral ไม่น่าโดน SKEG ถ้าตกจากเรือด้านข้าง หรือ ด้านหน้า แล้วจะต้องหลุดไปชน SKEG ซึ่งอยู่กลางท้ายเรืออย่างไร จึงจะเกิดแผลดังกล่าว โดยส่วนอื่นของร่างกายไม่กระแทกกับท้องเรือ
ถ้าไม่มีวีดีโอบันทึกภาพเหตุการณ์ชัดๆ สาเหตุบาดแผลเกิดจากอะไร? นอกจากการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์แล้ว ยังต้องอธิบายได้ด้วยกลไกการบาดเจ็บ (mechanisms of injuries) ถึงจะหายสิ้นข้อสงสัย
หลังเกิดเหตุไม่ได้อายัดวัตถุพยานทันที ผู้เกี่ยวข้องได้แวะกลับไปที่เรือในคืนนั้น อู่เก็บเรือก็ไม่มีภาพวงจรปิด การตรวจเรือทางนิติวิทยาศาสตร์ในภายหลัง ยิ่งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
ส่วนเรื่องเลือดที่พบตอนเจอร่างแตงโม นั้น พ.อ.นพ.ธวัชชัย ก็ได้โพสต์ให้ข้อมูลเอาไว้ดังนี้ว่า
แผลบริเวณ Adductor Canal ซึ่งมี Femoral Artery ทอดผ่าน ถ้ามี injury เลือดพุ่งกระฉูดเลย ต่อให้ไม่จมน้ำ ถ้าห้ามเลือดส่งโรงพยาบาลไม่ทันก็เสียชีวิตได้ มีข้อสังเกต 2 ประการ
1. บาดแผล very sharp cut แต่ skin and subcutaneous ไม่มี contusion มันต้องคมมาก ระดับ มีดผ่าตัด คัตเตอร์ กระจก หรือ ขวดแก้วแตก นอกจากลักษณะบาดแผลแล้ว ทิศทางเป็นอย่างไร mechanisms of injuries เป็นอย่างไร
2. ถ้าเกิดบาดแผลในแม่น้ำ เลือดพุ่งกระจายไปกับสายน้ำ ยิ่งหยุดยาก บวกกับเป็นน้ำจืด hypotonic ความดัน osmosis ต่ำ เลือดก็จะ hemolysis ยิ่งเกิด blood clot ได้ยาก แต่ก็ยังมี blood clot ติดที่เสื้อผ้าน่ะ
ขอบคุณ FB : Tavatchai Kanchanarin