ประชาสัมพันธ์

heading-ประชาสัมพันธ์

ม.มหิดล บ่มเพาะตัวตนหนบนทางแห่งความเป็นครู ใช้ใจสอนใจ

28 เม.ย. 2565 | 23:41 น.
ม.มหิดล บ่มเพาะตัวตนหนบนทางแห่งความเป็นครู ใช้ใจสอนใจ

หากใช้หัวใจของความเป็นครูเข้าไปสัมผัส ก็จะได้หัวใจของศิษย์กลับมา ให้ทั้งครูและศิษย์ได้เอื้อมมือถึงกันบนพื้นฐานความเข้าใจ ในทำนองเดียวกัน หากครูตระหนักถึง "ตัวตนหนบนทางแห่งความเป็นครู" แล้ว ก็จะสามารถเปิดประตูให้ศิษย์ได้เข้าถึงการเรียนรู้ และเปิดใจได้ไม่ยาก

อาจารย์ ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร รองผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยากรอบรมหัวข้อ "ตัวตนบนหนทางแห่งความเป็นครู" ในโครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดลด้านการศึกษา(Mahidol University Academic Development Program; MU-ADP) ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดล โดย กองบริหารการศึกษา จัดขึ้นเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูให้แก่อาจารย์ผู้สอนของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมองถึงบทบาทของความเป็นครูว่า เป็นได้มากกว่า "ผู้มอบวิชาความรู้" 

แต่เป็นการ "พัฒนาความเป็นมนุษย์อย่างเป็นองค์รวม" ให้กับผู้เรียน จากความเป็นครูกับศิษย์ที่มีใจเชื่อมโยงถึงกันได้


บ่อยครั้งที่เริ่มชั้นเรียนออนไลน์ แล้วพบว่านักศึกษาขาดปฏิสัมพันธ์ ปิดไมค์ ปิดกล้อง ให้อาจารย์ผู้สอนต้องพูดอยู่ฝ่ายเดียว โดยไม่ทราบเลยว่านักศึกษากำลังทำอะไร และเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน หรือยังอยู่ในห้องเรียนออนไลน์อยู่หรือไม่

ม.มหิดล บ่มเพาะตัวตนหนบนทางแห่งความเป็นครู ใช้ใจสอนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ในการอบรมจะให้ผู้สอนได้ถามตัวเองว่า ได้เช็คความพร้อมก่อนเริ่มชั้นเรียนว่ามี "อุณหภูมิในใจ" หรือได้รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียนว่ามีความพร้อมที่จะเรียนมากน้อยแค่ไหน หรือผู้เรียนมีความสนใจในเรื่องใดที่จะเชื่อมโยงมาสู่การเรียนรู้ จะดีกว่าไหม หากอาจารย์ผู้สอน จะใช้ "จิตตปัญญา" มาช่วยในการได้รู้จักและเข้าใจผู้เรียนอย่างแท้จริง


เพียงใช้ "การฟังอย่างลึกซึ้ง" มาเป็นตัวช่วย การฟังอย่างเคารพในความเห็นที่แตกต่าง ฟังอย่างไม่ตัดสิน รับฟังปัญหาหรือเรื่องทุกข์ใจของนักศึกษา แล้วช่วยวินิจฉัยเพื่อการค้นหาทางออกแห่งปัญหา ด้วยหนทางแห่งปัญญา


เมื่ออาจารย์ผู้สอนได้ทราบถึงสภาวะในใจของนักศึกษาในชั้นเรียนแล้ว ก็จะสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรม หรือรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาวะที่นักศึกษาเป็นอยู่จริงได้มากยิ่งขึ้น 


สุดท้ายการเรียนการสอนวิชาดังกล่าวก็จะสร้างการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง และต่อยอดกับชีวิต และความสนใจของผู้เรียนได้


ตัวอย่างเทคนิคละลายพฤติกรรมก่อนการเรียนการสอนออนไลน์ อาทิ การให้ผู้เรียนได้แชร์ภาพที่ประทับใจในโทรศัพท์มือถือ แล้วเล่าสู่กันฟังถึงความสุข และความทรงจำที่ดีที่มีต่อภาพนั้นๆ อาจเป็นภาพครอบครัว เพื่อน สัตว์เลี้ยงหรือสถานที่ท่องเที่ยวที่เคยไปแล้วชอบก็ได้ ก็จะสามารถช่วยทำให้นักศึกษาได้รู้สึกผ่อนคลาย และทำให้ห้องเรียนออนไลน์ได้อยู่ในบรรยากาศที่ได้เชื่อมโยงชีวิตของกันและกัน ก่อนที่จะได้เรียนรู้ร่วมกันต่อไปอีกด้วย
 

แม้ยังไม่อาจเข้าถึงได้ในทันที แต่ในที่สุดจะค้นพบว่าการสอนที่ดีไม่สามารถลดทอนลงเหลือเพียงแต่เทคนิค วิธีการแต่การสอนผ่านตัวตนของครู เป็นการเชื่อมโยงความเป็นมนุษย์เข้ากับมนุษย์ด้วยกัน เพียงการรับฟังด้วยหัวใจและสะท้อนกลับในสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง เป็นวิธีการอันทรงพลังที่จะสามารถดึงผู้เรียนให้มาอยู่กับผู้สอนได้เป็นอย่างดี


ซึ่งการเรียนรู้ด้วยหลักจิตตปัญญาให้เกิดความยั่งยืนนั้นจำเป็นที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องให้เข้าไปอยู่ในตัวตน และชีวิตของผู้เรียน เพื่อที่จะเชื่อมโยงจากความเข้าใจตนเอง สู่ความสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้าง และการเกื้อกูลกับผู้คนในวงกว้างเพื่อสังคมที่สันติสุขและยั่งยืนต่อไป


ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th


สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง