ประชาสัมพันธ์

heading-ประชาสัมพันธ์

ม.มหิดล คิดค้นและพัฒนา AI ฟังเสียงยุงลาย วางแผนป้องกันไข้เลือดออกเพื่อมวลมนุษยชาติ

29 เม.ย. 2565 | 11:29 น.
ม.มหิดล คิดค้นและพัฒนา AI ฟังเสียงยุงลาย วางแผนป้องกันไข้เลือดออกเพื่อมวลมนุษยชาติ

มหาวิทยาลัยมหิดล คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ฟังเสียงยุงลาย วางแผนป้องกันไข้เลือดออกเพื่อมวลมนุษยชาติ

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกได้กลายเป็นโรคประจำถิ่นที่ขยายขอบเขตพื้นที่การแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง ไม่เพียงแต่ในพื้นที่เขตร้อน แต่ยังพบได้ในทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่เป็นแอ่ง หรือมีน้ำขัง ซึ่งกลายเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงลายที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก แม้แต่พื้นที่เขตหนาว เช่น ในแถบยุโรป ก็ยังพบความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลกระทบต่อโลกทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

เมื่อเร็วๆ นี้ Mahidol-Bremen Medical Informatics Research Unit (MIRU) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกับ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างสรรค์และพัฒนาเซนเซอร์ตรวจจับยุงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก German Academic Exchange Service (DAAD) และ The Hanse-Wissenschaftskolleg Institute for Advanced Study in Germany สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนจัดการทางสาธารณสุขรณรงค์กำจัดยุงลายเพื่อมวลมนุษยชาติ

นวัตกรรมเซนเซอร์ตรวจจับยุงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผลงานโดย Mahidol-Bremen Medical Informatics Research Unit (MIRU) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ม.มหิดล ร่วมกับ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล สนับสนุนโดย German Academic Exchange Service (DAAD) และ The Hanse-Wissenschaftskolleg Institute for Advanced Study in Germany สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Professor Dr.Peter Fereed Haddawy รองคณบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้อำนวยการ Mahidol-Bremen Medical Informatics Research Unit (MIRU) นักวิทยาศาสตร์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ อันดับ 1 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับของ Research.Com ผู้นำทีมวิจัยด้านเทคนิคในการสร้างสรรค์และพัฒนาเซนเซอร์ตรวจจับยุงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กล่าวว่า คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายสนับสนุนงานวิจัยเพื่อสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและมวลมนุษยชาติ โดยบูรณาการด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มานานกว่าหนึ่งทศวรรษ

Professor Dr.Peter Fereed Haddawy รองคณบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT)   มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้อำนวยการ Mahidol-Bremen Medical Informatics Research Unit (MIRU) นักวิทยาศาสตร์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ อันดับ 1 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับของ Research.Com ผู้นำทีมวิจัยด้านเทคนิคในการสร้างสรรค์และพัฒนาเซนเซอร์ตรวจจับยุงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

จากโจทย์ที่ได้รับในครั้งนี้ ทีมวิจัยได้นำเอาเซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับและคัดแยกเสียงที่แตกต่างกันของยุงลายในแต่ละประเภท ด้วยเทคนิค Machine Learning จากตัวอย่างที่ได้จากห้องปฏิบัติการเพาะพันธุ์และวิจัยยุงลายของภาควิชากีฏวิทยาการแพทย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยมหิดล

ในเบื้องต้นทีมวิจัยสามารถสร้างสรรค์และพัฒนาเซนเซอร์ตรวจจับยุงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบได้แล้ว และคาดว่าเมื่อหากพัฒนาแล้วเสร็จ และผ่านการทดสอบ ทั้งทางเทคนิค และทางภาคสนามแล้ว จะได้อุปกรณ์เซนเซอร์ระบบ IoT ที่สามารถเชื่อมต่อได้หลากหลายแพลตฟอร์มในขณะเดียวกัน เพียงติดตั้งและปล่อยให้เซนเซอร์ทำงานแบบอัตโนมัติ โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และสะดวกกว่าการใช้เครื่องดักยุงแบบเดิม ซึ่งจะใช้ติดตั้งและตรวจจับตามแหล่งระบาดของยุงลายในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ของประเทศไทย เพื่อการวางแผนรณรงค์กำจัดยุงลาย และป้องกันไม่เกิดการระบาดซ้ำ และจะขยายผลเพื่อการวางแผนรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับโลกต่อไป

 

รองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงสารนาถ ล้อพูลศรี นิยม หัวหน้าภาควิชาสุขวิทยาเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะฯ นอกจากมีบทบาทโดดเด่นในเรื่องการวิจัยโรคมาลาเรียในระดับแนวหน้าของโลกแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในการวิจัยโรคเขตร้อนอื่นๆ รวมทั้งโรคไข้เลือดออก โดยในการสร้างสรรค์และพัฒนาเซนเซอร์ตรวจจับยุงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในส่วนของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไข้เลือดออก ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฏวิทยา และห้องปฏิบัติการเพาะพันธุ์และวิจัยยุงลายที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค จึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรมดังกล่าวให้สามารถบรรลุผลจนถึงปลายน้ำได้อย่างแน่นอน

รองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงสารนาถ ล้อพูลศรี นิยมหัวหน้าภาควิชาสุขวิทยาเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยมหิดล

ซึ่งอุบัติการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่ผ่านมา แม้จะพบว่าในช่วงวิกฤติ COVID-19 มีอัตราการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่อาจลดลงไปบ้างจากการเคลื่อนย้ายของประชากรที่ลดลง แต่ก็ยังคงไม่ควรนิ่งนอนใจเพราะโรคไข้เลือดออกกลับมาได้เสมอ แม้ในไข่ยุงลายที่แห้งแล้ว ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานนับปี โดยสามารถเติบโตเป็นลูกน้ำเมื่อได้สัมผัสน้ำอีกครั้ง ประชาชนจึงควรระวังอย่างยิ่งไม่ให้โดนยุงกัด ซึ่งยุงลายที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสเดงกี(Dengue) ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออก คือ ยุงตัวเมียที่ต้องออกหากินและดูดเลือดคนเพื่อเป็นอาหาร และเจริญพันธุ์โดยการตัดวงจรชีวิตยุงลายสามารถทำได้โดยช่วยกันป้องกันสิ่งแวดล้อมรอบตัวไม่ให้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง