สังคม

heading-สังคม

ผู้ประกันตน ม.39 ตรวจสอบรายละเอียดประกันสังคม ทำอย่างไรไม่ให้ขาดสิทธิ

19 พ.ค. 2565 | 13:19 น.
ผู้ประกันตน ม.39 ตรวจสอบรายละเอียดประกันสังคม ทำอย่างไรไม่ให้ขาดสิทธิ

ผู้ประกันตนมาตรา 39 ตรวจสอบรายละเอียดประกันสังคม ทำอย่างไรไม่ให้ขาดสิทธิสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน พร้อมเผยวิธีกันลืมส่งเงินสมทบ

ผู้ประกันตนมาตรา 39 เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่จะส่งเงินสมทบ เมื่อออกจากการเป็นผู้ประกันมาตรา 33 ที่ทำงานมีนายจ้าง แต่ต้องการใช้สิทธิประกันสังคมต่อจึงสมัครใจเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ซึ่งหน้าที่ในการนำส่งเงินสมทบจะต้องผู้ประกันตนเอง ไม่ใช่นายจ้างอีกต่อ แต่มักพบว่าผู้ประกันตนมาตรา 39 ถูกตัดสิทธิบ่อย เนื่องจากขาดการนำส่งเงินสมทบ 

 

ผู้ประกันตน ม.39 ตรวจสอบรายละเอียดประกันสังคม ทำอย่างไรไม่ให้ขาดสิทธิ

 

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 ได้เผยสาเหตุแห่งการสิ้นสภาพของผู้ประกันตนมาตรา 39  มี 5 กรณี ดังนี้


- เสียชีวิต


- ลาออก


- กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 


- ขาดส่งเงินสมทบติดต่อกัน 3 เดือนติดต่อกัน


- ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดย ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 ได้เผยว่า 2 กรณีหลังมีค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือกรณีที่นับย้อนไป 12 เดือน เงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ทำให้ขาดสิทธิการเป็นผู้ประกันตน


วิธีป้องกันการลืมนำส่งสมทบ เพื่อไม่ให้เสียสิทธิมีดังนี้ 

- ผู้ประกันตน ม.39 ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบของผู้ประกันตนทาง Line สำนักงานประกันสังคม เพื่อรับการแจ้งเตือนกรณีค้างชำระการนำส่งเงินสมทบมาตรา 39 

- สมัครนำส่งเงินสมทบโดยหักผ่านบัญชีธนาคาร

- โทร 1506 หรือโทรสอบถามที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่ทุกแห่ง ทางเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบให้ได้ว่า เงินสมทบมาตรา 39 ลืมส่งเดือนไหนบ้าง


ส่วนกรณีที่ถูกตัดสิทธิ์การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แล้ว แต่อยากกลับมาเป็นผู้ประกันตนอีกครั้ง 

ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 เผยว่าเมื่อผู้ประกันตนขาดส่งเงินสมทบติดต่อกัน 3 เดือน ประกันสังคมจะมีหนังสือแจ้งการสิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ไปยังผู้ประกันตน ซึ่งสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือ พร้อมแสดงหลักฐานการจ่ายเงินสมทบประกอบการอุทธรณ์ ส่วนอีกวิธีที่จะกลับมาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ก็คือต้องกลับไปเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ก็คือทำงานมีนายจ้าง และเมื่อลาออกจากงานสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลาออกจากงาน

สำหรับวิธีการแจ้งความประสงค์หักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคาร 

ผู้ประกันตนสามารถดาวโหลดแบบฟอร์ม หนังสือยินยอมให้หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th กรอกข้อมูลพร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร นำส่งสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน โดยมีธนาคารที่เข้าร่วมการหักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ,ธนาคารกรุงไทย ,ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทยธนชาต , ธนาคารไทยพาณิชย์ ,ธนาคารกรุงเทพ ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์เพียงธนาคารเดียว ที่ผู้ประกันตนต้องนำแบบฟอร์มหนังสือยินยอมให้หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารที่ดาวน์โหลดจากสำนักงานประกันสังคมไปติดต่อธนาคารแล้วจึงนำส่งกลับมาที่ประกันสังคม

 

ผู้ประกันตน ม.39 ตรวจสอบรายละเอียดประกันสังคม ทำอย่างไรไม่ให้ขาดสิทธิ

ข่าวเด่น

"น้ำท่วมยะลาล่าสุด" อ่วมหนักในรอบ 20ปี ประกาศเตือนภัยยกของขึ้นที่สูง

"น้ำท่วมยะลาล่าสุด" อ่วมหนักในรอบ 20ปี ประกาศเตือนภัยยกของขึ้นที่สูง

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ มอบของขวัญปีใหม่ สิทธิ์ใช้ประกันรถเปิดปิด ฟรี 1เดือน

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ มอบของขวัญปีใหม่ สิทธิ์ใช้ประกันรถเปิดปิด ฟรี 1เดือน

โครงการ รวมใจภักดิ์รักษ์ทะเลไทยใสสะอาด เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ

โครงการ รวมใจภักดิ์รักษ์ทะเลไทยใสสะอาด เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ

"แอนนา" ไม่ยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งจำคุก 100 ปี ยินดีรับสภาพ

"แอนนา" ไม่ยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งจำคุก 100 ปี ยินดีรับสภาพ

"หวยลาววันนี้" 27/11/67 หวยลาววันนี้ ออกอะไร หวยลาว ผลหวยลาววันนี้ 27พ.ย.67

"หวยลาววันนี้" 27/11/67 หวยลาววันนี้ ออกอะไร หวยลาว ผลหวยลาววันนี้ 27พ.ย.67

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง