หมอธีระวัฒน์ เผย ฉีดวัคซีนไข้ทรพิษป้องกัน "โรคฝีดาษลิง" จะอยู่ได้นานแค่ไหน
หมอธีระวัฒน์ เผยเผย ฉีดวัคซีนไข้ทรพิษป้องกัน "โรคฝีดาษลิง" สามารถป้องกันได้กี่เปอร์เซ็นต์ แล้วภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้นานแค่ไหน
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ในเพจ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ถึงเรื่องวัคซีนไข้ทรพิษ สามารถป้องกันได้กี่เปอร์เซ็นต์ แล้วภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้นานแค่ไหน
"ฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ จะอยู่ได้นานเท่าใด? ในยุคของฝีดาษลิงเชื่อกันว่าคนที่เคยฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ (ทั้งนี้ประเทศไทยเลิกฉีดไปในปี 2523) จะยังสามารถป้องกันฝีดาษลิงได้ประมาณ 85% ทั้งนี้ระบบภูมิคุ้มกันยังต้องดีอยู่
มีการศึกษาในวารสารนิวอิงแลนด์ตั้งแต่ปี 2007 ในบุคลากรที่ทำงาน จำนวน 45 คน ในศูนย์สัตว์จำพวกลิง ที่โอเรกอน ทั้งนี้มีการเจาะเลือดเก็บตัวอย่างเป็นระยะอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยประมาณ 15 ปี ประมาณ 60% ยังคงมีภูมิคุ้มกันอยู่ ทั้งนี้ประเมินกันว่าระยะเวลาครึ่งชีวิต จะอยู่ประมาณ 90 ปี และเป็นกลไกของ memory B cell independent long lived plasma cells (ไม่ใช่ dependent-short lived) และด้วยความที่วัคซีนเป็นเชื้อเป็น
อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าไม่ใช่ทุกคนที่ฉีดวัคซีนไข้ทรพิษไปแล้วจะป้องกันไข้ฝีดาษลิงได้ดังข้างต้น และวัคซีนยุคใหม่ยังคงใช้กันสำหรับคนที่มีความเสี่ยงสูงมากแม้ว่าอาจจะมีผลข้างเคียง <วัคซีนไข้ทรพิษในสมัยโบราณที่เกิดสมองอักเสบได้แม้ว่าจะไม่มากแต่อัตราเสียชีวิตสูงถึง 50%"
โดยก่อนหน้านี้ หมอธีระวัฒน์ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง "โรคฝีดาษลิง" ระบุว่า ฝีดาษลิง (วานร) ไวรัสแพร่ออก เมื่อเริ่มมีอาการ ไม่สบายแล้ว ดังนั้นถ้าคนไม่สบายแล้ว
และยังคลุกคลีสัมผัส กับคนอื่นมากเท่าใด ก็มีโอกาสแพร่เชื้อได้มากเท่านั้น และคนที่ติดเชื้อละลอกสองจะปรากฏอาการภายใน 1-2 สัปดาห์แต่อาจนานได้ถึง 3 สัปดาห์ ทำให้โรคแพร่กระจายออกไปได้กว้างยิ่งขี้น
การติดเชื้อในประเทศอังกฤษคล้ายเป็นการแพร่ในชุมชน โดยที่รายต่อมาไม่ได้สัมผัสกับรายแรกและไม่ได้กลับจากพื้นที่ต้นตอ แต่ข้อดีของไวรัสตัวนี้ก็คือ ความสามารถในการแพร่ติดต่อ ยังอยู่ในระดับต่ำมาก ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่คลุกคลี จะติดทุกคน แต่ต้องกักตัว 21 วัน เมื่อทราบว่าได้สัมผัส
ในปี 2020 องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่ามีผู้ที่น่าจะติดเชื้อฝีดาษลิง 4,594 ราย และเสียชีวิต 171 ราย (case fatality ratio 3.7%) แต่ทั้งนี้ไม่ได้รับการยืนยันด้วยการตรวจพีซีอาร์
ขอบคุณ FB : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha