ประชาสัมพันธ์

heading-ประชาสัมพันธ์

สป.อว. จับมือ เอ็มเท็ค สวทช. และ สจล. วิจัยนวัตกรรมเพื่อชาติ 6 โครงการ

28 พ.ค. 2565 | 19:48 น.
สป.อว. จับมือ เอ็มเท็ค สวทช. และ สจล. วิจัยนวัตกรรมเพื่อชาติ 6 โครงการ

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. ให้การสนับสนุนและบริหารจัดการ “โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า” แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เพื่อส่งเสริมกระบวนการพัฒนาและสร้างเทคโนโลยีภายในประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ และเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย จากผลงานนวัตกรรมที่เป็นผลงานฝีมือคนไทย

วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 - รศ.ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รักษาการแทนอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.), นายธนาภรณ์ โกราษฎร์ หัวหน้าโครงการบริหารจัดการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า วิศวกรอาวุโส สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (MTEC สวทช.) และ นางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.สป.อว.) ร่วมกันแถลงข่าว “โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า 6 โครงการ” 

สป.อว. จับมือ เอ็มเท็ค สวทช. และ สจล. วิจัยนวัตกรรมเพื่อชาติ 6 โครงการ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายธนาภรณ์ โกราษฎร์ หัวหน้าโครงการบริหารจัดการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า วิศวกรอาวุโส MTEC สวทช. กล่าวถึงที่มาของโครงการนี้ว่า ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. ทำหน้าที่เป็นหน่วยบริหารให้กับกองส่งเสริมและประสานประโยชน์เพื่อวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.สป.อว.) ซึ่งเป็นแหล่งทุน โครงการนี้เริ่มจากกิจกรรมการพัฒนาองค์ความรู้จากการทำวิศวกรรมย้อนรอย (Reverse Engineering) ต่อยอดองค์ความรู้เดิม สู่การบริหารจัดการโครงการ และได้พัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในเครือข่าย สวทช. และ อว. และปัจจุบันโครงการได้ปรับเปลี่ยนแนวทางมาสู่กระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ขึ้นเอง เป็นโครงการเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ปัจจุบันผลงานที่ร่วมพัฒนาภายใต้โครงการนี้ มีมากกว่า 200 โครงการ และ สจล. เป็นหนึ่งในหน่วยงานพันธมิตรที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีประสิทธิภาพในฐานะผู้รับทุน

“ด้วยองค์ความรู้และขีดความสามารถเชิงวิชาการของทั้ง 3 หน่วยงาน คือ อว. สวทช. และ สจล. ผมมั่นใจว่าโครงการเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า จะได้รับความสนใจและได้รับการสนับสนุนเพื่อนำไปต่อยอด รวมทั้งนำไปใช้เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ลดการนำเข้า และขยายมูลค่าในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อสร้างคุณประโยชน์แก่สาธารณชนในวงกว้างต่อไป”

รศ.ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รักษาการแทนอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า สจล.มีความมุ่งมั่นที่จะศึกษาวิจัยและพัฒนา และคิดค้นงานทางด้านวิศวกรรมยุคใหม่ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีและนวัตกรรม เสริมสร้างการพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้า ทั้งด้านการแพทย์ การคมนาคม เทคโนโลยีการเกษตร ฯลฯ สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและสังคมไทยให้สะดวกสบาย ปลอดภัยยิ่งขึ้นในอนาคต 

นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงโลกและวงการอุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็ว ประเทศไทยมีการวิจัยและพัฒนาคิดค้นหลายด้านอย่างต่อเนื่อง วิกฤตโควิด-19 ทำให้สจล. และผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายในบ้านเราตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์จากฝีมือคนไทยภายในประเทศ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างทันท่วงที”
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ด้วยความสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และ เอ็มเท็ค สวทช. ภายใต้ “โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า” ได้ดำเนินการด้วยความมุ่งมั่นและมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสำเร็จแก่สังคมและเศรษฐกิจส่วนรวม เป็นที่พึ่งแก่สังคม ตอบโจทย์ตามแผนพัฒนาชาติ โดยได้ดำเนินการไปแล้ว 6 โครงการ ดังนี้

1.    โครงการพัฒนาสร้างระบบพลาสมาบำบัดน้ำเสียเพื่อการนำมาใช้ใหม่ 
ดร.วิจิตร กิณเรศ และทีมงาน ได้พัฒนาเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ ด้วยการบำบัดน้ำเสียด้วยพลาสมา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีอายุการใช้งานยาวนาน สามารถควบคุมการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดที่ต่างกันภายในเครื่องเดียวอย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถนำน้ำที่ได้จากการบำบัดด้วยพลาสมา กลับมาใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตรและการอุปโภคบริโภคได้อีกด้วย โครงการนี้สามารถนำไปขยายผลในเชิงพาณิชย์เพื่อการบำบัดน้ำเสียด้วยเทคโนโลยีภายในประเทศได้

โครงการพัฒนาสร้างระบบพลาสมาบำบัดน้ำเสียเพื่อการนำมาใช้ใหม่ 
 
2.    โครงการพัฒนาเครื่องจ่ายออกซิเจนในอัตราการไหลสูง
วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ภูมิ คงห้วยรอบ โครงการนี้ออกแบบเพื่อตอบโจทย์การทำงานภายในโรงพยาบาล การทำงานของเครื่องจ่ายออกซิเจนชิ้นนี้ อากาศบริสุทธิ์จะผ่านการกรองด้วย Filter สามารถควบคุมให้อัตราออกซิเจนคงที่ เป็นไปตามการรักษา ปรับค่าออกซิเจนได้ 21-100% ควบคุมอัตราการไหลของออกซิเจนและอุณหภูมิของอากาศผ่านมือถือและควบคุมระยะไกล สะดวกต่อคนไข้ บุคลากรทางการแพทย์มีความปลอดภัยในกรณีที่ต้องทำการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคร้ายแรง เครื่องนี้มีส่วนช่วยในกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยที่อ่อนแรงจากภาวะโรคอื่น ๆ นอกเหนือจากโควิด-19 ได้อีกด้วย

 โครงการพัฒนาเครื่องจ่ายออกซิเจนในอัตราการไหลสูง

3. โครงการสร้างเครื่องช่วยหายใจ Ambubag เพื่อส่งต่อผู้ป่วย และ 
4. โครงการสร้างเครื่องช่วยหายใจ Ambubag แบบบีบอัตโนมัติ
โครงการที่ 3 และ 4 พัฒนาโดย ดร.ธีรพล โพธิ์พงศ์วิวัฒน์ และทีมงาน เพื่อใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงสำหรับบุคลากรทางการแพทย์นำมาใช้แทน Ventilator หลักการคือ ใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ควบคุมการบีบ Ambubag แทนมือ สามารถควบคุมปริมาตรของอากาศ ความดันของอากาศ และ I:E ratio หรืออัตราส่วนระหว่างเวลาที่ใช้ในการหายใจเข้าต่อหน่วยเวลาที่ใช้ในการหายใจออกได้ มีการเสริมฟังก์ชั่นให้สามารถทำงานได้เทียบเท่า Ventilator โครงการนี้สามารถส่งมอบให้กับโรงพยาบาลได้มากกว่า 100 เครื่อง 

โครงการสร้างเครื่องช่วยหายใจ Ambubag เพื่อส่งต่อผู้ป่วย

โครงการสร้างเครื่องช่วยหายใจ Ambubag เพื่อส่งต่อผู้ป่วย
  

5. โครงการพัฒนาสร้างต้นแบบหุ่นยนต์ตรวจการเพื่อการพาณิชย์
รศ.ดร.ปิติเขต สู้รักษา และทีมทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกับ บริษัท ดีเท็กซ์ ดีไซน์ จำกัด โดยนำระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาใช้ทดแทนกำลังพลในอุตสาหกรรมบริการซึ่งมีความเสี่ยงสูง เช่น การตรวจการของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย โดยนำหุ่นยนต์มาใส่ฟังก์ชั่นการทำงานของ Guard Tour ช่วยลดความเสี่ยงภัยกรณีพบการบุกรุก การต่อสู้ การปะทะ การบาดเจ็บ สามารถบันทึกเส้นทางการเดินของหุ่นยนต์ ดูย้อนหลังได้เหมือนกล้องวงจรปิด ทั้งนี้ ผู้ควบคุมหุ่นยนต์หรือเจ้าหน้าที่ขับหุ่นยนต์ ต้องได้รับการอบรมการมองภาพผ่านหุ่นยนต์ การวิเคราะห์ภาพจากกล้องวงจรปิดภายในห้องควบคุม การใช้วิทยุบังคับ การควบคุมจากระบบ auto มายังระบบ manual รวมทั้งการรับมือกับเหตุผิดปกติอื่น ๆ 

โครงการพัฒนาสร้างต้นแบบหุ่นยนต์ตรวจการเพื่อการพาณิชย์

โครงการพัฒนาสร้างต้นแบบหุ่นยนต์ตรวจการเพื่อการพาณิชย์


6. โครงการพัฒนาสร้างโครงสร้างกระดูกภายนอกสำหรับเพิ่มสมรรถนะการเดินและการยกของ พัฒนาและออกแบบโดย อ.นพ.อนวัช เสริมสวรรค์ ร่วมกับ บริษัท ดีเท็กซ์ ดีไซน์ จำกัด ผลงานโครงสร้างกระดูกภายนอก (Exoskeleton) ที่มนุษย์สามารถสวมใส่ภายนอกร่างกาย และทำงานประสานกับโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ โดยเป็นอุปกรณ์ที่เกิดจากการประยุกต์ศาสตร์ ทั้งวิทยาการหุ่นยนต์ ไบโอเมคาโทรนิกส์ และกายวิภาคศาสตร์ไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มสมรรถนะและประสิทธิภาพในการทำงานหรือเคลื่อนไหวของผู้สวมใส่ให้เหมาะสม อาทิ ใช้เพื่อการผ่อนแรงขณะยกของหนัก การผ่อนแรงขณะที่เดิน การแก้ไขความพิการหรือการบาดเจ็บของมนุษย์ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในคนปกติและผู้พิการ และยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อุปกรณ์เหล่านี้สามารถประยุกต์ใช้ในการแพทย์ การทหาร อุตสาหกรรม บุคคลทั่วไป และยังรองรับสังคมผู้สูงวัยของไทยอีกด้วย

โครงการพัฒนาสร้างโครงสร้างกระดูกภายนอกสำหรับเพิ่มสมรรถนะการเดินและการยกของ

โครงการพัฒนาสร้างโครงสร้างกระดูกภายนอกสำหรับเพิ่มสมรรถนะการเดินและการยกของ
  
นางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.สป.อว.) กล่าวว่า ปัจจุบันหน่วยงานทางวิชาการของไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลกหลายแห่ง กระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของนักวิชาการและนักวิจัยไทยมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาชาติ และ สจล. ที่เป็นหน่วยงานกลุ่มสถาบันการศึกษา ได้สร้างสรรค์ผลงานและมีบทบาทเด่นชัดในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อใช้ภายในประเทศและส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ให้กับประเทศไทย 
“ในฐานะที่ กปว.สป.อว. เป็นแหล่งทุนของโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ซึ่งมีพันธกิจหลักในการส่งเสริมกระบวนการพัฒนาและสร้างเทคโนโลยีขึ้นในประเทศ จากเดิมที่เราเคยพึ่งพาการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศในกลุ่มเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ มีความรู้สึกชื่นชมยินดีในความสำเร็จและก้าวหน้าของนักวิจัยและนักวิชาการไทยที่สามารถสร้างสรรค์ผลงาน นำไปต่อยอด ขยายผลในเชิงพาณิชย์ เพิ่มคุณค่าเชิงวิชาการและเศรษฐกิจ ให้กับโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่าต่อไป” 

สป.อว. จับมือ เอ็มเท็ค สวทช. และ สจล. วิจัยนวัตกรรมเพื่อชาติ 6 โครงการ

สป.อว. จับมือ เอ็มเท็ค สวทช. และ สจล. วิจัยนวัตกรรมเพื่อชาติ 6 โครงการ

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง