สังคม

heading-สังคม

เปิด10เรื่องที่คนไทยต้องรู้ เกี่ยวกับกฎหมาย "PDPA" ก่อนบังคับใช้

31 พ.ค. 2565 | 10:48 น.
เปิด10เรื่องที่คนไทยต้องรู้ เกี่ยวกับกฎหมาย "PDPA" ก่อนบังคับใช้

เปิด10เรื่องที่คนไทยต้องรู้เกี่ยวกับ PDPA  เริ่มมีผลบังคับใช้เต็มรูปเเบบ 1 มิถุนายน 2565 นี้ เเละ4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA ที่หลายคนสงสัย???


  เริ่มมีผลบังคับใช้เต็มรูปเเบบ 1 มิถุนายน 2565 นี้ สำหรับ "พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562" หรือ "PDPA"(Personal Data Protection Act) ซึ่งมีขึ้นเพื่อให้เอกชนและรัฐที่เก็บรวมรวม ใช้ เปิดเผย และ/หรือ โอนข้อมูลส่วนบุคคลในราชอาณาจักรไทย ให้เป็นไปตามมาตรการปกป้องข้อมูลของผู้อื่นจากการถูกละเมิดสิทธิส่วนตัว โดยต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ก่อนจะมีการเก็บรวบรวม นำไปใช้หรือเปิดเผย พร้อมเปิด10เรื่องที่คนไทยต้องรู้เกี่ยวกับ PDPA 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยทางเพจ PDPC Thailand ได้รวบรวม10เรื่องที่คนไทยต้องรู้เกี่ยวกับ PDPA 
1. "ข้อมูลส่วนบุคคล" คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมแต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมเฉพาะ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประจำตัว ข้อมูลสุขภาพ ฯลฯ (มาตรา 6) 

 

2. "ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" ต้องเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเอาไว้ก่อหรือในขณะเก็บรวบรวม (ห้ามใช้นอกเหนือวัถตุประสงค์) (มาตรา 21 ) 

 

3. "ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเราเท่าที่จำเป็น ภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 22 ) ใช้ข้อมูลของเราให้น้อยที่สุด

 

4. ความยินยอม เป็นฐานการประมวลผลฐานหนึ่งเท่านั้น "ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" มีหน้าที่ในการกำหนดฐานการประมวลผลให้สอดคล้องกับลักษณะการประมวลผลและความสัมพันธ์ระหว่าง "ผู้ควบคุมข้อมูล" กับ "เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล" (ตามมาตร 24 หรือ มาตรา 26) 

เปิด10เรื่องที่คนไทยต้องรู้ เกี่ยวกับกฎหมาย \"PDPA\" ก่อนบังคับใช้

5.ในการขอความยินยอม "ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" จะต้องคำนึงอย่างที่สุดในความเป็นอิสระของ "เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล" (ต้องไม่มีสภาพบังคับในการให้/ไม่ให้) (มาตรา 19 วรรค4) 

 

6. "เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล" มีสิทธิต่าง  ๆ ดังนี้ 

สิทธิในการถอนความยินยอม ในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้ (มาตรา 19 วรรคห้า)
สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด (Privacy Notice) (มาตรา 23)
สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 30) 
สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 31) 
สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 32) 
สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ (มาตรา 34)
สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 34) 
สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 35) 
 

7. กฎหมาย PDPA ให้กับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีสัญชาติใดก็ตาม (มาตรา 5) 

 

8.ในกรณีที่เหตุการละเมิด "ข้อมูลส่วนบุคคล" มีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของ "เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล" กฎหมายกำหนดให้ "ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" มีหน้าที่ แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ พร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้า (มาตรา 37(4)) 

 

9."ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" มีหน้าที่จัดทำบันทึกรายการกิจกรรม เพื่อให้สำนักงานสามารถตรวจสอบได้ โดยจะบันทึกเป็นหนังสือหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

 

10. "เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล" มีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม PDPA หรือ ประกาศฯ ที่ออกตาม PDPA ทั้งนี้ กระบวนการร้องเรียนเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการฯ ประกาศกำหนด (มาตรา 73) 

นอกจากนี้ล่าสุดนั้นทาง PDPC Thailand ยังได้เปิด4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA เพื่อสร้างความเข้าใจเเละป้องกันการเข้าใจผิดของประชาชนอีกด้วย


1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA
ตอบ กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

เปิด10เรื่องที่คนไทยต้องรู้ เกี่ยวกับกฎหมาย \"PDPA\" ก่อนบังคับใช้
2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA 


ตอบ สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล 


3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA 
ตอบ การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน 


4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้ 
ตอบ ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว 
(1) เป็นการทำตามสัญญา 
(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ 
(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล 
(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ 
(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง 


ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆไป 
PDPA = พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 4(1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น 

cr.
PDPC Thailand

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

แฟนเพลงเฮลั่น "แม่ผ่องศรี" ให้โชคเต็มๆ รับทรัพย์ถ้วนหน้า

แฟนเพลงเฮลั่น "แม่ผ่องศรี" ให้โชคเต็มๆ รับทรัพย์ถ้วนหน้า

"ติ๊ก ชิโร่" เผยอาการล่าสุด หลังเข้า รพ.ตรวจหัวใจ แฟนๆ ส่งกำลังใจ

"ติ๊ก ชิโร่" เผยอาการล่าสุด หลังเข้า รพ.ตรวจหัวใจ แฟนๆ ส่งกำลังใจ

รู้แล้ว "เพชร แฟนมายด์" ทำอาชีพอะไร เปิดหมดเปลือกจุดเริ่มต้นการถูกหักหลัง

รู้แล้ว "เพชร แฟนมายด์" ทำอาชีพอะไร เปิดหมดเปลือกจุดเริ่มต้นการถูกหักหลัง

สลากดิจิทัลงวดนี้ รางวัลที่ 1 แตก 162 ล้าน เศรษฐีใหม่ 24 คน

สลากดิจิทัลงวดนี้ รางวัลที่ 1 แตก 162 ล้าน เศรษฐีใหม่ 24 คน

เปิดดวง 2 ราศี คนดวงดี ดวงเด่นเรื่องโชคลาภ มีรายละเอียด

เปิดดวง 2 ราศี คนดวงดี ดวงเด่นเรื่องโชคลาภ มีรายละเอียด