สังคม

heading-สังคม

สคส. เผย 4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ "PDPA" ตอบชัดข้อมูลแบบไหนเข้าข่ายผิดกม.

31 พ.ค. 2565 | 11:30 น.
สคส. เผย 4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ "PDPA" ตอบชัดข้อมูลแบบไหนเข้าข่ายผิดกม.

สคส. เผย 4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่กำลังจะบังคับใช้เต็มฉบับ 1 มิ.ย. 65 นี้

จากกรณีการบังคับใช้กฎหมาย "PDPA" (Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ หรือได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้นๆ ในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อนเผยแพร่ ซึ่งจะมีผลประกาศใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยว่าเรื่องอะไรที่ทำได้บ้าง และการเผยแพร่ข้อมูลแบบไหนที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย PDPA

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ล่าสุดทางเพจ PDPC Thailand ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ได้เผย 4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA ชี้แจงเกี่ยวกรณีดังกล่าวแล้ว เพื่อให้ประชาชนทราบและเข้าใจโดยทั่วกัน ดังนี้ 


1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA

ตอบ : กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว


2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA

ตอบ : สามารถโพสต์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล


3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA

ตอบ : การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยของตัวเจ้าของบ้าน


-เปิด10เรื่องที่คนไทยต้องรู้ เกี่ยวกับกฎหมาย "PDPA" ก่อนบังคับใช้
-"ทนายตั้ม" เผยถ่ายรูปส่วนตัวแต่ติดคนอื่น จะผิดกฎหมาย PDPA หรือไม่
-"ศรีสุวรรณ" โพสต์แรง ปม กกต.ยังไม่รับรอง "ชัชชาติ" ลั่น ไม่รู้ว่าจะเฮ หรือโฮ

4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้

ตอบ : ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว

(1) เป็นการทำตามสัญญา

(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ

(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิต และ/หรือร่างกายของบุคคล

(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ

(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง


ทั้งนี้ หลักการข้างต้นอาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆไป

PDPA = พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 4 (1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น
 

สคส. เผย 4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ  PDPA ตอบชัดข้อมูลแบบไหนเข้าข่ายผิดกม.

 

ขอบคุณ FB : PDPC Thailand

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

นางเอกดัง "เบลล่า ราณี"  สุดเศร้า สูญเสียคุณยายอันเป็นที่รัก

นางเอกดัง "เบลล่า ราณี" สุดเศร้า สูญเสียคุณยายอันเป็นที่รัก

"เบิร์ด เทคนิค" สูญเสียครั้งใหญ่ สุดเศร้าโลกนี้ช่างใจร้ายกับผม

"เบิร์ด เทคนิค" สูญเสียครั้งใหญ่ สุดเศร้าโลกนี้ช่างใจร้ายกับผม

ข่าวดี รัฐบาลขยายเวลา "คุณสู้ เราช่วย" ถึงสิ้นเดือนนี้

ข่าวดี รัฐบาลขยายเวลา "คุณสู้ เราช่วย" ถึงสิ้นเดือนนี้

โดนแล้ว "พีช สมิทธิพัฒน์" สารภาพ 3 ข้อหา เผยค่าปรับที่ต้องชดใช้

โดนแล้ว "พีช สมิทธิพัฒน์" สารภาพ 3 ข้อหา เผยค่าปรับที่ต้องชดใช้

รวบ 2 จิ๊กโก๋ รัวปืนกลางงานวัด บาดเจ็บ 3 ราย พบมีคดีติดตัวทั้งคู่

รวบ 2 จิ๊กโก๋ รัวปืนกลางงานวัด บาดเจ็บ 3 ราย พบมีคดีติดตัวทั้งคู่