อดีตศัลยแพทย์ โชว์ผลทดลองเลือด ไขข้อสงสัย "แตงโม" เสียชีวิตบนบกหรือในน้ำ
"หมอธวัชชัย กาญจนรินทร์" อดีตศัลยแพทย์ โชว์ผลการทดลองเลือด ไขข้อสงสัย "แตงโม นิดา" เสียชีวิตบนบกหรือในน้ำ!?
"พ.อ.นพ. ธวัชชัย กาญจนรินทร์" หรือ "หมอธวัชชัย" อดีตศัลยแพทย์โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ล่าสุด ได้โชว์ผลการทดลองเลือด ไขข้อสงสัย "แตงโม นิดา" เสียชีวิตบนบกหรือในน้ำ!?
โดยระบุว่า เลือดมันซึมทะลุก๊อซอยู่อีกฝั่ง พลิกก๊อซอีกด้านมาเพื่อให้เห็นลิ่มเลือด ไม่พลิกขึ้นมาจะถ่ายให้เห็นตอนใส่น้ำได้ไง เจาะเลือดครั้งเดียว 17-18 cc ใน syringe 20 cc หลอดเดียว แล้วแบ่งหยดหมดในครั้งเดียว ไม่ได้เจาะเพิ่ม
วีดีโออัดไว้ 2 กล้อง ภาพนิ่งก็มีกล้อง พยาบาลช่วยเจาะเลือดถ่ายวีดีโอเป็นพยาน 4-5 คน ที่ใส่ก๊อซ เพราะเสมือนเสื้อผ้า เปรียบเทียบ 2 specimen (ที่ไม่เกิดลิ่มเลือด) ได้ชัดขึ้น
จะให้ทำใหม่ ไม่ใส่ก๊อซ ก็ได้ Fibrinogen ละลายน้ำ, Fibrin ไม่ละลายน้ำ ทดลองกี่ที ผลก็ไม่เปลี่ยน Nishino 01689193 ถ้าส่งสัย นัดรายการทีวี อะไรก็ได้ ท้าพิสูจน์เลย พนันกันคนละแสนบาท ขอตบกระบาลทีเดียว กล้าไหม เรื่องตกหลังเรือแล้วถูกใบพัดดูดด้วย ฝากแชร์ถึง Nishino ด้วยครับ อย่าคิดว่าคนอื่นจะขี้โกงเหมือนนายมัน ไหนบอกว่า เนื้อหมูที่โดนใบพัด แผลออกมาเหมือนแผลน้องแตงโม โชว์ให้ดูหน่อย "แผลตามยาว แผลเดียว"เอาวีดีโอด้วยน่ะ ภาพนิ่งเดี๋ยวไปหยิบมาผิดอีก ขนาดภาพมีที่มาที่ไปยังกล้าหยิบผิดเลย ประสาอะไรกับเนื้อหมู
การทดลอง "เลือดออกบนบก VS ในแม่น้ำ"
ตอนที่ 1 ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
1.1 เม็ดเลือดแดงมีความดันออสโมลาร์ 140 mmol/L
เมื่ออยู่ในน้ำจืด (hypotonic) น้ำจะเข้าไปในเซล เซลบวมแล้วแตก (hemolysis) จะเหมือนน้ำหวานสีแดงละลายน้ำ คือ สารละลายแดงใส ไม่ขุ่น ไม่มีเม็ดเลือดแดงตกตะกอน เพราะแตกหมด
ถ้าอยู่ในน้ำเกลือนอร์มอล เกิดการสมดุล สารละลายแดงขุ่น ตั้งทิ้งไว้มีเม็ดเลือดตกตะกอน
1.2 ในการเกิดลิ่มเลือด (blood clot)
Fibrinogen (ละลายน้ำ) จะเปลี่ยนเป็น Fibrin (ไม่ละลายน้ำ)
การทดลอง "เลือดออกบนบก VS ในแม่น้ำ"
"ให้ภาพเล่าเรื่อง"
การทดลอง "เลือดออกบนบก VS ในแม่น้ำ"
เมื่อเลือดแข็งตัว มีลิ่มเลือด ตกลงไปในน้ำจืด
เมื่อเลือดออก
-อยู่ในน้ำจืด
- อยู่ในน้ำเกลือนอร์มอล
- แข็งตัวบนบก
ขอบคุณ FB : หมอธวัชชัย