สังคม

heading

WHO เปิดข้อมูลไวรัส "ฝีดาษลิง" ระบาดหนัก 2 สายพันธุ์พร้อมกัน

WHO เปิดข้อมูลไวรัส "ฝีดาษลิง" ระบาดหนัก 2 สายพันธุ์พร้อมกัน

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เผยสาเหตุ "โรคฝีดาษลิง" ระบาดหนัก แถมแพร่อย่างน้อย 2 สายพันธุ์พร้อมกัน ส่งผลกระทบรุนแรงยิ่งกว่า โควิด

จากกรณีการแพร่ระบาดของ โรคฝีดาษวานร หรือ โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ที่กำลังระบาดอีกครั้งหนึ่งในแถบทวีปยุโรปและแอฟริกา ล่าสุดทางด้าน ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้โพสต์ลงเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ถึงกรณีการระบาดของโรคฝีดาษวานร หรือ โรคฝีดาษลิง โดยระบุว่า

 

WHO เผยข้อมูล "ไวรัสฝีดาษลิง" ระบาดหนัก 2 สายพันธุ์พร้อมกัน รุนแรงกว่าโควิด


- WHO แจงว่าเกิดการระบาดใหญ่ที่ผิดปรกติของไวรัสฝีดาษลิงนอกทวีปแอฟริกาอย่างรวดเร็วภายใน 3 อาทิตย์ ส่งสัญญาณอันตรายว่าไวรัสได้เปลี่ยนไป ทั่วโลกต้องช่วยกันยุติการระบาดก่อนจะสายกลายเป็นโรคประจำถิ่น


- สาเหตุหลักน่าจะมาจากการระบาดของไวรัสฝีดาษลิงเมื่อ 5 ปีก่อนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันใน "ไนจีเรีย" ที่ถูกละเลย


- WHO ย้ำว่าไวรัสฝีดาษลิงไม่ใช่เชื้อไวรัสที่ติดต่อ "ผ่านสารคัดหลั่งในช่องคลอดและอสุจิขณะมีเพศสัมพันธ์" เหมือนเชื้อไวรัสเอชไอวี  แต่สามารถติดต่อกันได้ "ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์" เช่นเดียวกับหวัด หรือโควิด 


- บางประเทศเริ่มพบการระบาดของไวรัสฝีดาษลิงอย่างน้อยสองสายพันธุ์ (clade) ไปพร้อมกัน เช่นที่สหรัฐอเมริกา ยังไม่ทราบความแตกต่างของการระบาดและความรุนแรงของอาการระหว่าง 2 สายพันธุ์


- นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเริ่มระดมถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม จำนวน 2 สองแสนตำแหน่งของไวรัสฝีดาษลิงขึ้นแบ่งปันบนฐานข้อมูลโลก "GISAID"


- WHO  แถลงล่าสุดมีผู้ติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงแล้วอย่างรวดเร็วกว่า 800 ราย (6 มิ.ย. 2565) ในช่วง 3 อาทิตย์ที่ผ่านมา ปัญหาใหญ่ที่ WHO คาดว่าจะเกิดตามมาคือการแยกกักตัว

 

WHO เผยข้อมูล "ไวรัสฝีดาษลิง" ระบาดหนัก 2 สายพันธุ์พร้อมกัน รุนแรงกว่าโควิด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading

ไวรัสฝีดาษลิงมีการแยกกักตัวตั้งแต่ขึ้นตุ่มจนตกสะเก็ด (infectious period) กินเวลานานถึง 2-4 สัปดาห์ ซึ่งยาวนานกว่าไวรัสโคโรนา 2019 มาก อันน่าจะส่งผลกระทบรุนแรงยิ่งกว่าโรคโควิด-19 ที่ระยะแยกตัวสั้นกว่า ทั้งด้านเศรษฐกิจ (ปัญหาการต้องหยุดประกอบอาชีพนานร่วมเดือน) สังคม และสาธารณสุข (ค่าใช้จ่ายในระหว่างการกักแยกตัวเอง นานร่วมเดือน)  หากมีการระบาดใหญ่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย 


ราวๆ เกือบห้าปีก่อน (พ.ศ. 2560) ได้เกิดการระบาดของโรคฝีดาษลิงอย่างไม่ปรกติในไนจีเรีย ซึ่งอยู่ห่างไกลไปทางตะวันตกของแอฟริกา โดยพบเด็กชายอายุ 11 ขวบเกิดแผลที่บริเวณผิวหนังในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 จากการสืบสวนโรคเป็นการระบาดจากสัตว์สู่คน เดิมแพทย์ผู้รักษาสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสสุกใสแต่จากการทดสอบทางห้องปฏิบัติการบ่งชี้ว่าเป็นโรคฝีดาษลิง โดยมีการแพร่ไปยังผู้อื่นอีก 12 คน โรคจึงถูกควบคุมสงบลง และที่ผิดปกติมากกว่านั้นคือตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันปี 2565 ในไนจีเรียยังพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติมาอย่างต่อเนื่องจำนวนมากกว่า 500 ราย อันอาจเนื่องมาจากไวรัสเกิดการกลายพันธุ์ ผู้ป่วยจำนวนมากเป็นผู้ชาย และหลายคนมีรอยโรคที่อวัยวะเพศ ทำให้ตรวจคัดกรองได้ยากเนื่องจากตุ่มแผลอยู่ใต้ร่มผ้าซึ่งบ่งชี้ว่ามีการติดต่อระหว่างมีเพศสัมพันธ์ซึ่งดูจะแตกต่างจากการแพร่ติดต่อของไวรัสฝีดาษลิงในอดีตซึ่งติดต่อจากสัตว์สู่คนด้วยการสัมผัสสัตว์ป่วย ถูกสัตว์กัดหรือข่วน กินเนื้อสัตว์ที่ไม่สุก

 

WHO เผยข้อมูล "ไวรัสฝีดาษลิง" ระบาดหนัก 2 สายพันธุ์พร้อมกัน รุนแรงกว่าโควิด

 

โดยจะมีตุ่มแผลเกิดขึ้นตามหน้าและตัว แต่เนื่องจากโรคฝีดาษลิงเกิดขึ้นในประเทศที่ยากจนและอยู่ห่างไกลจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัญหาจึงไม่ได้รับการเหลียวแลแก้ไขเท่าที่ควร แม้ว่าสาธารณสุขไนจีเรียได้ร้องขอความช่วยเหลือเรื่องการระบาดของไวรัสฝีดาษลิงจากประชาคมโลกมาโดยตลอดก็ตาม ในปี 2560 ได้เกิดการระบาดของโรคฝีดาษลิงอย่างไม่ปรกติในยุโรป สหราชอาณาจักร และอิสราเอล จากผู้ที่เดินทางมาจากไนจีเรีย แต่โรคก็ถูกควบคุมให้สงบลงได้ 


WHO แถลงว่าไวรัสฝีดาษลิงไม่ใช่เชื้อไวรัสที่ติดต่อ "ผ่านสารคัดหลั่งในช่องคลอดและอสุจิขณะการมีเพศสัมพันธ์" เหมือนเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือไวรัสตับอักเสบ C ซึ่งจะสามารถแพร่กระจายผ่านทางน้ำอสุจิและของเหลวในช่องคลอด (ยังไม่มีข้อมูลว่าพบไวรัสฝีดาษลิงในน้ำอสุจิและของเหลวในช่องคลอดของผู้ติดเชื้อ) แต่สามารถติดต่อได้ "ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์" ได้เช่นเดียวกับโรคหวัด และโควิด-19 เพราะเป็นโรคติดต่อจากการสัมผัสใกล้ชิด

 

WHO เผยข้อมูล "ไวรัสฝีดาษลิง" ระบาดหนัก 2 สายพันธุ์พร้อมกัน รุนแรงกว่าโควิด

 
แม้ว่าในการระบาดล่าสุดของไวรัสฝีดาษลิงจะแพร่กระจายในหมู่ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคติดต่อเฉพาะในกลุ่มชายรักชาย ทุกคนไม่ว่าเพศใด อายุใด มีโอกาสติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงได้เช่นกัน

 
ผู้เชี่ยวชาญกำลังหาคำอธิบายที่เป็นไปได้มากที่สุดว่าเหตุใดไวรัสฝีดาษลิงสามารถหลบเรดาร์การตรวจจับมาตั้งแต่ พ.ศ. 2560 จนกลับมาระบาดใหญ่ในประเทศนอกทวีปแอฟริกาในปี พ.ศ. 2565 จากผู้ติดเชื้อที่ไม่มีประวัติเดินทางไปยังประเทศในทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไนจีเรียโดยอาจเป็นไปได้ว่า


1. มีเหตุการณ์บางอย่าง เช่นงานชุมนุมใหญ่ที่มีคนจำนวนมากมาเข้าร่วม เช่น งานชุมนุมชายรักชาย (Gay pride) ที่สเปน ทำให้ไวรัสฝีดาษลิงบางคนมีโอกาสได้แพร่กระจายระหว่างคนสู่คนได้มากยิ่งขึ้น เมื่อผู้เข้าร่วมงานที่มีการติดเชื้อระหว่างการชุมนุมได้เดินทางกลับไปยังประเทศที่ตนพำนักอยู่ก็เกิดการระบาดใหญ่ติดตามมา


2. ไวรัสฝีดาษลิงซึ่งเป็นโรคประจำถิ่นเดิมมีการระบาดจากสัตว์สู่คนเป็นระยะๆ ได้มีวิวัฒนาการกลายพันธุ์มาเป็นลำดับจนสามารถระบาดติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ดีขึ้น


3. ไวรัสฝีดาษลิงอาจมีแพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนมาระยะหนึ่งแล้วแต่เราตรวจไม่พบ

 

WHO เผยข้อมูล "ไวรัสฝีดาษลิง" ระบาดหนัก 2 สายพันธุ์พร้อมกัน รุนแรงกว่าโควิด

 
การระบาดของไวรัสฝีดาษลิงแตกต่างจากไวรัสโคโรนา 2019 ที่เราคุ้นเคย เช่นแต่ละสายพันธุ์ (clade) ของไวรัสโคโรนา 2019 ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์หลักหรือสายพันธุ์ย่อย จะทยอยระบาดออกมาแทนที่กัน เช่น เดลต้าระบาดมาแทนที่ อัลฟา และ เบตา ในขณะที่โอไมครอนระบาดมาแทนที่เดลตา เป็นต้น

 
แต่ลักษณะการระบาดของไวรัสฝีดาษลิงดูเหมือนหลายสายพันธุ์จะสามารถระบาดไปพร้อมกันได้ ตั้งแต่พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ได้มีการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสฝีดาษลิงที่พบการระบาดในทวีปยุโรป อเมริกา และ ออสเตรเลีย ในประเทศ สเปน, เนเธอร์แลนด์, ฟินแลนด์, ออสเตรเลีย, สวิตเซอร์แลนด์, สโลวีเนีย, อิตาลี, อิสราเอล, ฝรั่งเศส, เบลเยียม, เยอรมนี, สหราชอาณาจักร, แคนาดา, สหรัฐอเมริกา โปรตุเกส พบว่าเป็นไวรัสฝีดาษลิงสายพันธุ์ใหม่ที่มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสฝีดาษลิงสายพันธุ์ดั้งเดิมที่ระบาดเป็นโรคประจำถิ่นในแอฟริกามากกว่า 40 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตามในหลายประเทศ เช่น ในกรณีศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (US CDC) ได้สุ่มถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วสหรัฐอเมริกา ระหว่างเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2565 พบว่ามีการระบาดไวรัสฝีดาษลิงไม่น้อยกว่าสองสายพันธุ์ควบคู่กันไป

 

WHO เผยข้อมูล "ไวรัสฝีดาษลิง" ระบาดหนัก 2 สายพันธุ์พร้อมกัน รุนแรงกว่าโควิด


สายพันธุ์แรกมีพันธุกรรมคล้ายคลึงกับบรรดาสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในยุโรปในขณะนี้ (ปี 2565) ซึ่งผู้ติดเชื้อไม่ได้มีประวัติการเดินทางไปไนจีเรีย ส่วนสายพันธุ์ที่สองพบว่ามีพันธุกรรมคล้ายคลึงกับสายพันธุ์จากผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับมาจากไนจีเรียเมื่อปี 2564 US CDC คาดคะเนว่าได้มีไวรัสฝีดาษลิงเข้ามาระบาดในสหรัฐอเมริกาแบบเงียบๆมาระยะหนึ่ง โดยกำลังสอบสวนจากการถอดรหัสพันธุกรรมว่าได้เข้ามาระบาดแล้วกี่ระลอก และแต่ละระลอกมีอาการการติดเชื้อแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร 


หากมีการระบาดของไวรัสฝีดาษลิงเกิดขึ้นในประเทศซึ่งไม่เคยมีการระบาดมาก่อน เช่นประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรีบสืบสวนถอดรหัสพันธุกรรมอย่างรวดเร็วภายในหนึ่งอาทิตย์ เพื่อให้ทราบว่าเป็นการระบาดของไวรัสฝีดาษลิงสายพันธุ์ไหนเพื่อสามารถจัดการป้องกัน ดูแล และรักษาให้สอดคล้องกับแต่ละสายพันธุ์ที่เข้ามาระบาดและแพร่จำนวนในประเทศไทย

 

WHO เผยข้อมูล "ไวรัสฝีดาษลิง" ระบาดหนัก 2 สายพันธุ์พร้อมกัน รุนแรงกว่าโควิด


ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ พัฒนาการตรวจขึ้นสองแบบคือ


1. พัฒนาการตรวจ Massarray genotyping อันเป็นการตรวจกรองเบื้องต้น หลังจากการตรวจ PCR ให้ผลบวก ที่สามารถตรวจกรองและคัดแยกไวรัสเหล่านี้ที่ก่อให้เกิดตุ่มน้ำบริเวณผิวหนังที่แยกยากจากตุ่มน้ำจากการติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงในระยะแรก ไปพร้อมกันในการทดสอบเพียงครั้งเดียว (single tube reaction)


a. Herpes Simplex virus type 1 หรือ เชื้อ HSV-1 ที่มักพบการติดเชื้อเป็นตุ่มน้ำบริเวณปากหรือรอบๆ ปาก


b. Herpes Simplex virus type 2 หรือ เชื้อ HSV-2 เป็นการติดเชื้อในลักษณะตุ่มน้ำบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ หรือ อวัยวะเพศ ช่องคลอด ปากมดลูก ทหารหนัก อวัยวะเพศชาย ถุงอัณฑะ ฯลฯ


c. Herpes Simplex virus type 3 หรือ HSV-3 ก่อให้เกิดสุกใส chickenpox (varicella) และงูสวัด shingles (herpes zoster) เกิดตุ่มน้ำขึ้นเช่นเดียวกัน


d. ไวรัสฝีดาษลิงที่กำลังระบาดในทวีป ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย อยู่ในขณะนี้ ซึ่งมีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสฝีดาษลิงดั้งเดิม >40 ตำแหน่ง


e. ไวรัสฝีดาษลิงที่ระบาดในปี 2560 จากประเทศไนจีเรีย ทวีปแอฟริกา ซึ่งยังไม่มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสฝีดาษลิงสายพันธุ์ดั้งเดิม


f. ไวรัสฝีดาษคน (smallpox) ที่ผู้ติดเชื้อผู้ใหญ่มีอัตราการเสียชีวิต 30% และในเด็กสูงถึง 80% ปัจจุบันคาดว่าได้ถูกขจัดสูญพันธุ์ไปแล้ว 

 

2. การถอดรหัสพันธุ์อย่างรวดเร็วในลักษณะของ “Metagenomic” ซึ่งสามารถบ่งชี้จุลชีพและไวรัสอาร์เอ็นเอหรือดีเอ็นเอ ทุกประเภท และทุกสายพันธุ์ จากสิ่งส่งตรวจ เพื่อให้ทราบว่าเรากำลังเผชิญหน้ากับจุลชีพหรือไวรัสประเภทใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของไวรัสฝีดาษลิงซึ่งตอนนี้เรายังไม่มีข้อมูลมากพอเพียงที่จะระบุได้ว่าจะเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ไหนและมีการกลายพันธุ์ไปอย่างไร เพื่อการดูแล ป้องกันและรักษา ได้ทันท่วงที รวมทั้งร่วมด้วยช่วยกันเร่งแชร์ข้อมูลรหัสพันธุกรรมของไวรัสฝีดาษลิงที่ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมขึ้นบนฐานข้อมูลโลก “GISAID” และ "Nextstrain" เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์จากทุกประเทศได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อร่วมด้วยช่วยกันยุติการแพร่ระบาดของไวรัสฝีดาษลิงลงโดยเร็วที่สุด เพื่อมิให้เกิดเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน 

 

ขอบคุณ FB : Center for Medical Genomics

ข่าวเด่น

"ทนายตั้ม-ภรรยา" คืนนี้นอนห้องขังทั้งคู่ ตร.ค้านประกันตัว

"ทนายตั้ม-ภรรยา" คืนนี้นอนห้องขังทั้งคู่ ตร.ค้านประกันตัว

ไม่ธรรมดาค่าตัว"ทนายตั้ม"แค่ปรึกษาคดีทางโทรศัพท์ก็จ่ายเป็นพันแล้ว

ไม่ธรรมดาค่าตัว"ทนายตั้ม"แค่ปรึกษาคดีทางโทรศัพท์ก็จ่ายเป็นพันแล้ว

แฟนมวยใจหาย "รถถัง จิตรเมืองนนท์" ตกตาชั่ง เสียเข็มขัดแชมป์โลก ONE มวยไทย

แฟนมวยใจหาย "รถถัง จิตรเมืองนนท์" ตกตาชั่ง เสียเข็มขัดแชมป์โลก ONE มวยไทย

กรมอุตุฯ ชี้แจงแล้วปมข่าวลือ พายุหยินซิ่งเตรียมถล่ม จ.สมุทรสาคร

กรมอุตุฯ ชี้แจงแล้วปมข่าวลือ พายุหยินซิ่งเตรียมถล่ม จ.สมุทรสาคร

ทนายเผยคำพูด"เจ๊อ้อย" หลังรู้ข่าว "ทนายตั้ม"ถูกจับ

ทนายเผยคำพูด"เจ๊อ้อย" หลังรู้ข่าว "ทนายตั้ม"ถูกจับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading