สังคม

heading-สังคม

มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงการณ์เตือน อย่าผสมช่อดอกกัญชา ในอาหาร-เครื่องดื่ม

15 มิ.ย. 2565 | 22:14 น.
มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงการณ์เตือน อย่าผสมช่อดอกกัญชา ในอาหาร-เครื่องดื่ม

ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ออกแถลงการณ์ 8 ข้อ แนะนำการใช้กัญชา เตือนย้ำอย่าผสม "ช่อดอกกัญชา" ในอาหาร-เครื่องดื่ม

จากกรณีที่ประเทศไทยเพิ่งจะปลดล็อกกัญชา ออกจากยาเสพติด ให้โทษในประเภท 5 เมื่อไม่นานมานี้ (9 มิ.ย. 65)  แต่หลังจากที่ได้มีการปลดล็อคไม่นานก็มีการนำไปผสมกับอาหารต่างๆ และมีบางคนได้รับประทานเข้าไปจนเกิดอาการแพ้จนต้องเข้าโรงพยาบาล หนักสุดถึงขั้นเสียชีวิตก็มีมาแล้ว      

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ล่าสุดวันที่ 14 มิ.ย. 65 ที่ผ่านมาศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามในแถลงการณ์มหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับคำแนะนำและข้อเสนอแนะของมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การใช้กัญชา โดยระบุว่า เนื่องด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุประเภทยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2565 ไม่ระบุว่าพืชกัญชา รวมถึงส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบ ช่อดอก เป็นสารเสพติดให้โทษนั้น กัญชาเป็นพืชที่มีสารแคนาบินอยด์หลายชนิด โดยเฉพาะสาร THC ซึ่งอาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพและไม่ควรใช้เพื่อการสันทนาการ เพราะอาจทำให้เกิดโทษรุนแรงได้ แต่ในขณะนี้ยังไม่มีมาตรการกำกับดูแลการใช้กัญชาอย่างรัดกุม

มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงการณ์เตือน อย่าผสมช่อดอกกัญชา ในอาหาร-เครื่องดื่ม

-สธ. ประกาศ กลิ่น ควัน กัญชา กัญชง เป็นเหตุรำคาญ
-ชัชชาติ กังวล หลังปลดล็อคกัญชา เจอผู้ป่วยเด็ก เสพจน Overdose รักษาตัวใน ICU
-สายพันธุ์กัญชา และ ชนิดของกัญชา มีกี่สายพันธุ์

มหาวิทยาลัยมหิดล มีความห่วงใยต่อความปลอดภัยของประชาชนและสังคม จึงมีข้อแถลงการณ์และข้อเสนอแนะ ดังนี้


1.ไม่ใช้กัญชาในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี โดยเด็ดขาด เพราะมีผลต่อการพัฒนาการของสมองทั้งในแม่และเด็ก


2.ไม่ใช้กัญชาเพื่อการสันทนาการโดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น อาการทางจิต และระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย


3.ไม่ใช้ช่อดอกของกัญชาเพื่อผสมในอาหารและเครื่องดื่ม หากมีการผสมส่วนใดๆ ของกัญชาในอาหารและเครื่องดื่มต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบล่วงหน้าอย่างชัดเจน


4.ผู้ที่ใช้กัญชาไม่ควรขับรถ หรือทำงานกับเครื่องจักรในระยะ 6 ชั่วโมงหลังใช้กัญชา เพราะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้สูง


5.ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคจิตประสาท โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ขอให้ปรึกษากับแพทย์ที่ให้การรักษาก่อนใช้กัญชาเสมอ เพราะอาจมีผลต่อยาและการรักษาที่ได้รับอยู่


6.ผู้ปกครองและสถานศึกษาควรดูแลให้เด็กและเยาวชนห่างไกลจากกัญชา รวมถึงประชาชน ควรร่วมสร้างสังคมที่ปลอดภัยจากอันตรายของกัญชา


7.ขอให้ภาครัฐและภาคสังคมมุ่งให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้กัญชา และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น


8.ขอให้ภาครัฐเร่งออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดให้มีมาตรการและหน่วยงานที่รับผิดชอบในการติดตามดูแลการใช้กัญชาอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดสวัสดิภาพที่ดีแก่ประชาชนและสังคม

ผู้ที่ต้องการใช้กัญชาต้องศึกษาข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นก่อนเสมอ หากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์และแจ้งข้อมูลการได้รับกัญชาอย่างครบถ้วน เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที


มหาวิทยาลัยมหิดลยินดีให้ข้อมูลและคำแนะนำที่เหมาะสมเกี่ยวกับการใช้กัญชา ด้วยความมุ่งหวังที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายและความเสียหายต่อสุขภาพและสังคมจากการใช้กัญชาอย่างไม่ถูกต้อง

มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงการณ์เตือน อย่าผสมช่อดอกกัญชา ในอาหาร-เครื่องดื่ม

 

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง